backup og meta

เดินลดพุง เมื่อไขมันหน้าท้อง มีมากไป มากำจัดทิ้งกันดีกว่า

เดินลดพุง เมื่อไขมันหน้าท้อง มีมากไป มากำจัดทิ้งกันดีกว่า

ปัญหาหน้าท้อง พุงใหญ่ ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหากวนใจสาวๆ บางคน ที่นอกจะทำให้ไม่มั่นใจแล้ว การที่มีไขมันส่วนเกินหน้าท้องเป็นจำนวนมากยังส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเป็นสาเหตุของโรคที่เป็นอันตรายอีกมากมาย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการ เดินลดพุง มาแชร์ให้สาวๆ ได้อ่านกันค่ะ

เดินลดพุง เดินอย่างไร ทำไมถึงลดพุงได้

ปัญหาไขมันส่วนเกินที่บริเวณหน้าท้อง และรอบๆ ตัวนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวานประเภทที่ 2 และโรคหัวใจ ในความเป็นจริงๆ แล้ว ผู้ชายที่มีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้ว และผู้หญิงที่มีรอบเอวมากกว่า 35 นิ้ว มักจะมีไขมันในช่องท้องมากซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพมากมาย

หนึ่งในวิธีที่ที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการ ลดพุง ลดไขมันส่วนเกินหน้าท้องคือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic Exercise) อย่างสม่ำเสมอ เช่น การวิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน การเต้น การกระโดดเชือก และ การเดิน โดยมีการศึกษาเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่ง พบว่าผู้หญิงอ้วนที่มีการเดินออกกำลังกาย 50-70 นาที 3 วันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 12 สัปดาห์ โดยเฉลี่ยแล้วรอบเอวลดลง 1.1 นิ้ว (ประมาณ 2.8 เซนติเมตร) และไขมันในร่างกายลดลงร้อยละ 1.5

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอื่นๆ พบว่า การที่ควบคุมปริมาณแคลอรี่ไปพร้อมๆ กับการเดินออกกำลังกาย เดินลดพุง เป็นเวลา 1 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลานาน 12 ชั่วโมง ช่วยทำให้รอบเอวลดลง 3.7 นิ้ว และยังช่วยลดไขมันในร่างกายลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับผู้ที่ควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว

นอกจาก เดินลดพุง แล้ว การเดินยังมีประโยชน์อื่นๆ ด้วย

การเดินช่วยเผาผลาญแคลอรี่

พลังงานแคลอรี่ เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องใช้สำหรับการดำเนินชีวิต ใช้ในการหายใจ การเคลื่อนไหวร่างกาย และการคิด ซึ่งพลังงานแคลอรี่ที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคนตามเพศ น้ำหนัก และการทำกิจกรรมในแต่ละวัน ดังนั้นคุณต้องเผาผลาญพลังงานแคลอรี่ให้มากกว่าที่รับประทานเข้าไป เพื่อลดน้ำหนัก ซึ่งกิจวัตรประจำวันที่ไม่ค่อยขยับร่างกาย นั่งอยู่กับที่นานๆ นั่นยิ่งทำให้ช่วยเพิ่มน้ำหนักไม่พอ ยังช่วยเพิ่มความเสี่ยงสุขภาพอื่นๆ อีกมากมาย แต่การเดิน 1.6 กิโลเมตรนั้นสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้ประมาณ 100 กิโลแคลอรี่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับเพศและน้ำหนักด้วย

จากการศึกษาหนึ่งที่ทำการวัดจำนวนแคลอรี่ที่ถูกเผาผลาญ โดยผู้ที่เดินด้วยความเร็ว 5 กม. ต่อชั่วโมงหรือวิ่งด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พบว่าผู้ที่เดินเร็วๆ จะเผาผลาญพลังงานเฉลี่ย 90 แคลอรี่ต่อ 1.6 กิโลเมตร แต่หากต้องการเพิ่มการเผาผลาญพลังงานแคลอรี่ด้วยการเดิน การเดินขึ้นเขาหรือทางที่มีเนินจะช่วยเผาผลาญพลังงานแคลอรี่ได้เพิ่มมากขึ้น

ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น

นอกจากทางกายภาพแล้ว การเดินยังช่วยให้ให้อารมณ์ สุขภาพจิตดีขึ้น แถมยังช่วยลดความเครียด ความหดหู่ใจและความวิตกกังวล นอกจากการเดินแล้ว การออกกำลังกายในรูปแบบอื่นๆ ก็ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นได้เช่นกัน เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้สมองมีความไว้ต่อสารเซโรโทนิน (Serotonin) และสารนอร์อิพิเนฟริน (Nor epinephrine) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้ช่วยลดความรู้สึกซึมเศร้าและกระตุ้นการปล่อยสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) ซึ่งช่วยทำให้เรารู้สึกมีความสุขได้

การเดินช่วยลดน้ำหนักได้

การเดินออกกำลังกายเป็นประจำ มีส่วนช่วยในการเผาผลาญพลังงานแคลอรี่ในแต่ละวัน นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำยังมีส่วนช่วยสร้างกล้ามเนื้อได้มากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้หากมีการออกกำลังกาย ในระดับปานกลางอย่างสม่ำเสมอเช่น การเดิน ว่ายน้ำ สามารถช่วยทำให้คุณมีอารมณ์ที่ดีอย่างคงที่ในระยะยาวอีกด้วย โดยจากการตรวจสอบแล้วเพื่อรักษาน้ำหนักให้คงที่ ควรเดินอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์

Hello Health Groupไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Does Walking Help You Lose Belly Fat?

https://www.livestrong.com/article/364492-does-walking-help-you-lose-belly-fat/

Are You Walking in the Fat-Burning Zone?

https://www.verywellfit.com/are-you-walking-in-the-fat-burning-zone-3436869

How Walking Can Help You Lose Weight and Belly Fat

https://www.healthline.com/nutrition/walking-for-weight-loss

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

แค่ออกกำลังกายด้วย การเดิน ก็ได้ประโยชน์สุขภาพมากมายกว่าที่คิด!

อยากวิ่งแต่สู้ไม่ไหว ลองหันมา เดินเร็ว ลดทั้งเอว ลดทั้งโรค


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา