backup og meta

รู้หรือไม่ ล้างมือบ่อยเกินไป อาจเป็นภัยต่อตัวเองได้

รู้หรือไม่ ล้างมือบ่อยเกินไป อาจเป็นภัยต่อตัวเองได้

ตามปกติแล้ว เราจะได้รับการสอนให้ล้างมือทุกครั้ง หลังจากที่เข้าห้องน้ำ และก่อนกินอาหาร การล้างมือจะช่วยชำระสิ่งสกปรกและเชื้อโรคที่ติดอยู่ที่มือเราออกไป แต่ในบางครั้ง การที่เรา ล้างมือบ่อย เกินไป ก็อาจส่งผลให้ร่างกายของเราขาดภูมิต้านทานเชื้อแบคทีเรียได้เช่นกัน การล้างมือบ่อยนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพได้อย่างไร เรามาลองหาคำตอบกันพร้อม ๆ กับ Hello คุณหมอ กันเลย

อันตรายจากการ ล้างมือบ่อย เกินไป

การใช้เจลล้างมือแบบที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือการล้างมือด้วยน้ำกับสบู่บ่อยเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบในทางตรงกันข้ามได้  เนื่องจากการล้างมือบ่อยเกินไปจะทำให้มือแห้งแตกจนอาจกลายเป็นแผลเลือดออกได้ ซึ่งนั่นจะทำให้เชื้อโรคต่าง ๆ ผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ ฉะนั้นก็ต่อสู้กับความแห้งกร้านนั้นด้วยการทาครีมหรือโลชั่น เพื่อเติมความชุ่มชื้นให้กับมือในขณะที่ผิวยังชื้น ๆ อยู่

ควร ล้างมือ เมื่อไหร่ดี

ในขณะที่เราใช้มือสัมผัสกับผู้คน พื้นผิว และสิ่งของตลอดทั้งวันนั้น ก็จะทำให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่บนมือ ฉะนั้น ถ้าเรานำมือมาสัมผัสกับดวงตา จมูก หรือปาก ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในบริเวณนั้นได้ รวมทั้งยังอาจแพร่เชื้อไปยังคนอื่นได้ด้วย ถึงแม้การทำให้มือปราศจากเชื้อโรคอย่างสิ้นเชิงนั้นจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่การล้างมือบ่อย ๆ ก็อาจช่วยไม่ให้เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อจุลินทรีย์แพร่กระจายได้ ฉะนั้นจึงควร ล้างมือ ทุกครั้งในช่วงก่อนที่จะ 

  • เตรียมอาหารหรือกินอาหาร
  • ทำแผลหรือให้การดูแลผู้ป่วย
  • ใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์

และควร ล้างมือ หลังจากทำกิจกรรมเหล่านี้เสร็จแล้ว

  • เตรียมอาหาร
  • เข้าห้องน้ำหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม
  • สั่งน้ำมูก ไอ หรือจาม
  • สัมผัสกับสัตว์เลี้ยง ให้อาหารสัตว์ หรือเก็บกวาดมูลสัตว์
  • ทำแผลหรือให้การดูแลผู้ป่วย
  • เก็บกวาดขยะ

วิธีล้างมือให้ถูกต้อง

การ ล้างมือ ด้วยน้ำกับสบู่นั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำความสะอาดมือ และนี่คือวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง

  • เปิดก๊อกน้ำเพื่อทำมือให้เปียก (จะเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นก็ได้)
  • เทสบู่เหลว สบู่ก้อน หรือสบู่ผงลงบนฝ่ามือ
  • ถูให้เกิดฟอง
  • ถูมือให้สะอาด โดยใช้ฝ่ามือถูกเข้าด้วยกันเป็นเวลา 20 นาที โดยต้องไม่ลืมขัดถูในบริเวณพื้นผิวส่วนอื่นๆ ด้วย ซึ่งก็ได้แก่บริเวณหลังมือ ข้อมือ ซอกนิ้ว และบริเวณใต้เล็บ
  • ล้างน้ำออกให้สะอาด
  • ใช้ผ้าขนหนูสะอาดๆ ซับน้ำให้แห้ง
  • ใช้ผ้าขนหนูหรือกระดาษทิชชูในการปิดก๊อกน้ำ

วิธีใช้เจลทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

เจลทำความสะอาดมือแบบไม่ต้องใช้น้ำนั้น นับเป็นทางเลือกที่ดีเวลาที่เราหาน้ำกับสบู่ไม่ได้ ซึ่งถ้าใครใช้เจลทำความสะอาดมือแบบนี้ ก็ต้องแน่ใจว่ามีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ และปฎิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • บีบเจลทำความสะอาดมือลงบนฝ่ามือในปริมาณที่พอเพียงที่จะทำให้ทั้งมือเปียกทั่วถึงกัน ถูมือเข้าด้วยกันจนกว่ามือจะแห้ง โดยพยายามให้ครอบคลุมผิวบริเวณมือทั้งหมด

หลีกเลี่ยงสบู่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย

สบู่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย อย่างเช่น สบู่ที่มีส่วนผสมของไตรโคลซาน (Triclosan) นั้น ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียดีกว่าสบู่โดยทั่ว ๆ ไป การใช้สบู่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเกิดอาการดื้อยา ซึ่งจะทำให้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในอนาคตได้ยากขึ้น

ในปี 2016 ที่ผ่านมา องค์การอาหารและยาในสหัฐอเมริกาได้ออกกฎไม่ให้วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ ที่มีส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย (ซึ่งรวมถึ

Too much hand-washing can make you sick. https://www.piedmont.org/living-better/too-much-hand-washing-can-make-you-sick. Accessed on August 31, 2018

Hand-washing: Do’s and don’ts. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/hand-washing/art-20046253. Accessed on August 31, 2018

When & How to Wash Your Hands. https://www.cdc.gov/handwashing/when-how-handwashing.html. Accessed 11 September 2019

งไตรโคลซานและไตรโคลคาร์บาน) ไม่ว่าจะเป็นสบู่เหลว โฟม เจล สบู่ล้างมือ สบู่ก้อน และเจลอาบน้ำ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Too much hand-washing can make you sick. https://www.piedmont.org/living-better/too-much-hand-washing-can-make-you-sick. Accessed on August 31, 2018

Hand-washing: Do’s and don’ts. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/hand-washing/art-20046253. Accessed on August 31, 2018

When & How to Wash Your Hands. https://www.cdc.gov/handwashing/when-how-handwashing.html. Accessed 11 September 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/03/2021

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีฝึกตื่นเช้า เคล็ดลับเปลี่ยนคนตื่นสายให้กลายเป็นคนตื่นเช้า

ป้องกันโรคติดต่อหน้าฝน สามารถทำได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 23/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา