backup og meta

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อถูก หอยเม่น ตำเท้า

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อถูก หอยเม่น ตำเท้า

หลายๆ คนคงจะทราบกันดีว่า ท้องทะเลนั้นมักเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิดทั้งสัตว์มีพิษ และแบบไม่มีพิษที่อาศัยอยู่ ซึ่งอุบัติเหตุจากสัตว์มีพิษที่คนส่วนใหญ่เสี่ยงประสบพบเจอกันเป็นประจำเมื่อต้องไปดำน้ำ หรือท่องเที่ยวใต้ทะเลนั่นก็คือการถูก หอยเม่น ตำเท้า ดังนั้นจึงควรเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลงเบื้องต้น เพื่อป้องกันพิษในหนามแหลมของเม่นทะเล

ทำความรู้จักกับ หอยเม่น

เม่นทะเล (Sea Urchin) หรือ หอยเม่น เป็นสัตว์ขนาดเล็ก ที่อาศัยอยู่ในทะเล หรือมหาสมุทรทั่วโลก ในบางครั้งก็อาจอาศัยอยู่ตามชายฝั่ง โขดหินในน้ำตื้นร่วมด้วย โดยเม่นทะเลมีลักษณะเด่น ที่คุณสามารถสังเกตได้อย่าง่ายดาย นั่นก็คือ หนามแหลมยาวสีดำรอบตัวของพวกมันที่เรียกว่า เพดิเซลลาเรีย (Pedicellariae) ที่คอยเอาไว้ป้องกันจากภัยรอบตัว และเอาไว้ทิ่มแทงเหยื่อ หรืออาหารของพวกมันเมื่อว่ายผ่าน

พิษในหนามของเม่นทะเลแต่ละตัวมักแตกต่างกัน บางตัวอาจมีฤทธิ์แค่น้อยนิด แต่ในขณะเดียวกันบางตัวกับมีพิษที่ออกฤทธิ์อย่างรุนแรง หากผู้ใดที่มีโรคภูมิแพ้ หรือสุขภาพร่างกายอ่อนแออยู่แล้ว เมื่อโดนหนามแหลมของพวกมันตำไปแล้วนั้น ก็อาจทำให้ส่งผลต่อสุขภาพตั้งแต่ระดับต่ำ จนไปถึงขั้นเสียชีวิตได้อีกด้วย

หอยเม่นตำเท้า อาการเป็นอย่างไร

พวกมันไม่ได้นำหนามแหลมทิ่มคุณเพียงอย่างเดียว แต่พวกมันจะสลัดเข็มนั้นทิ้ง ให้ฝังเข้าไปในชั้นผิวหนังของคุณอีกด้วย เนื่องจากเม่นทะเลมีหนามค่อนข้างเปราะบาง และแตกหักง่ายจึงทำให้เข็มของพวกมันมักคาอยู่บริเวณที่เราถูกทิ่ม หรือถูกตำแทน ซึ่งอาจเป็นที่มาของอาการความเจ็บปวดเหล่านี้ขึ้น

  • รู้สึกบวมบริเวณที่โดนหนามทิ่ม
  • ผิวหนังมีความแดงงขึ้นเรื่อย ๆ รอบ ๆ บริเวณที่โดนหนามตำ
  • รู้สึกร่างกายอ่อนเพลียง่าย
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อโดนหอยเม่นตำเท้า

เช็กเข็มของเม่นทะเล ว่าตำผิวหนังคุณลึกหรือไม่ หากมีตอโผล่ขึ้น และไม่ลึกจนเกินไป คุณสามารถนำแหนบ หรืออุปกรณ์ใด ๆ เพื่อคีบหนามออกได้ทันที พร้อมกับทำความสะอาดรอบแผลด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำมะนาวเพื่อให้เข้าไปทำการสลายพิษ

ในกรณีที่ถูกเม่นทะลตำจนไม่สามารถนำหนามของพวกมันออกมาได้ ให้รีบแช่น้ำร้อนหรือน้ำอุ่นประมาณ 30-90 นาที เพื่อลดอาการเจ็บปวดบวมอักเสบ จากนั้นนำน้ำส้มสายชูมาล้าง หรือแช่น้ำส้มสายชูอีกรอบเพื่อสลายหนาม และพิษของมัน ทำซ้ำกันเช่นนี้เป็นเวลาหลายวันจนกว่ารอยจุดดำ ๆ ของหนามมันนั้นจะสลายไปเอง เพราะในน้ำส้มสายชูค่อนข้างมีฤทธิ์เป็นกรดในการกำจัดพิษ และหนามแหลมให้เลือนหายไปจากผิวหนังของคุณได้

ข้อควรระวังคือ อย่าปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ยาใด ๆ พร้อมทั้งรับประทานยาที่ช่วยลดอาการติดเชื้อ ปวดบวมอักเสบร่วมด้วย ซึ่งหาซื้อได้จากร้านขายยาที่มีใบรับรองทั่วไป หรือขอเข้ารับยาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง และควรแจ้งรายละเอียดของอาการคุณให้แพทย์ทราบก่อนเสมอ เพื่อได้รับคำแนะนำเพิ่มเติม หรือการจัดยารับประทานให้คุณได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

หากในกรณีที่เข็มพิษนี้ฝังลึกเกินไป ทำให้ไปโดนเส้นบางอย่างในร่างกายเข้า ก็อาจทำให้คุณมีอาการที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิมได้ เช่น วิงเวียนศีรษะ แผลติดเชื้อ ช็อก อัมพาต ระบบหายใจล้มเหลว คุณควรรีบนำพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในทันที ก่อนจะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sea Urchin Stings and Puncture Wounds https://www.emedicinehealth.com/wilderness_sea_urchin_puncture/article_em.htm Accessed July 10, 2020

What to Know About Sea Urchin Stings. https://www.webmd.com/first-aid/what-to-know-about-sea-urchin-stings. Accessed October 9, 2023.

Sea Urchin Stings. https://www.merckmanuals.com/professional/injuries-poisoning/bites-and-stings/sea-urchin-stings. Accessed October 9, 2023.

SEA URCHIN INJURIES TO THE HAND: A CASE REPORT AND REVIEW OF THE LITERATURE. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2958287/. Accessed October 9, 2023.

MANAGEMENT OF COMPLICATED ENVENOMATION
FROM SEA URCHIN STING. http://www.podiatryinstitute.com/pdfs/Update_2015/2015_36.pdf. Accessed October 9, 2023.

Jellyfish and other sea creature stings. https://www.nhs.uk/conditions/jellyfish-and-other-sea-creature-stings/. Accessed October 9, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/10/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผึ้งต่อย อันตราย... อย่าปล่อยเอาไว้นาน

ไข้ลาสซา หนึ่งในโรคที่มาจากสัตว์ อาจนำไปสู่การเจ็บป่วย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 09/10/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา