backup og meta

ปานสตรอว์เบอร์รี่ อันตรายต่อเด็กแรกเกิดหรือไม่

ปานสตรอว์เบอร์รี่ อันตรายต่อเด็กแรกเกิดหรือไม่

ปานสตรอว์เบอร์รี่ หมายถึง จุดสีแดงบนผิวทารกซึ่งคล้ายสีแดงของผลสตรอว์เบอร์รี่บนร่างกาย ซึ่งอาจปรากฎได้ตามแขน ขา คอ ลำตัว มีขนาดใหญ่หรือเล็กต่างกันไป แต่ทั้งนี้เป็นความผิดปกติของสีผิวที่ไม่เป็นอันตราย และมักหายไปได้เองเมื่อทารกโตขึ้น

ปานสตรอว์เบอร์รี่ (Strawberry Hemangioma or Strawberry Nevus) คืออะไร

ปานสตรอว์เบอร์รี่ (Strawberry Hemangioma or Strawberry Nevus) คือ ปานมีลักษณะเป็นสีแดง ๆ หรือชมพู คล้ายคลึงกับสีผลของสตรอว์เบอร์รี่ เกิดจากการรวมตัวของเส้นเลือดฝอยที่อยู่ในชั้นบนสุดของผิวหนังเด็กทารก พบมากที่สุดในบริเวณ แขน ขา ลำตัว คอ ศีรษะ การเจริญเติบโตของปานในเด็กแรกเกิดนั้นมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ มีทั้งลักษณะเรียบหรือเป็นรอยนูนขึ้นมา ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใดและมักหายไปได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น

ปานในเด็กแรกเกิดมีกี่ประเภท 

ปานในทารกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  • ปานที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเส้นเลือดฝอย (Capillary hemangiomas) เป็นการรวมกลุ่มของเส้นเลือดฝอยที่อยู่ชั้นผิวบนสุดสามารถพบบ่อยมากที่สุดในเด็กทารก เนื่องจากอยู่ใกล้กับพื้นผิวของผิวหนังจึงปรากฏให้เห็นเป็นสีแดง อาจมีลักษณะแบนกับผิวหนังหรือพื้นผิวนูน ปาน นี้สามารถอยู่ที่จุดในจุดหนึ่งหรือกระจายอยู่ตามทั่วร่างของเด็กทารกแรกเกิดได้
  • ปานที่เกิดขึ้นใต้ผิวหนัง (Cavernous hemangioma) ถูกสร้างขึ้นจากหลอดเลือดที่มีโพรงขนาดใหญ่ที่ขยายกว้างอยู่ใต้ผิวหนัง เส้นเลือดนี้จะไม่จับก้อนแน่นเหมือนกลุ่มของเส้นเลือดฝอย มักปรากฏออกมาเป็น ปาน สีน้ำเงินหรือสีดำ สามารถขึ้นได้ตามทั่วร่างกาย
  • ปานที่เกิดจากก้อนเนื้อของเส้นเลือดฝอย (Lobular capillary hemangioma) มักปรากฏในบริเวณใบหน้าและแขน รวมถึงภายในโพรงจมูกของเด็กทารก มีลักษณะเป็นสีแดงเป็นก้อนเล็ก ๆ เกิดมาจากการรวมกลุ่มของเส้นเลือดฝอยที่มากเกินไป ทำให้เกิดเป็นเนื้องอกและอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่

ปานสตรอว์เบอร์รี่อันตรายแค่ไหน 

ปานชนิดนี้ไม่มีอันตราย และสามารถหายเองได้เมื่อลูกน้อยโตขึ้น สำหรับเด็กบางคนจะทิ้งเพียงแค่รอยแผลเป็นสีเทาหรือสีขาวไว้เท่านั้น แต่ถ้าหากในกรณีที่รุนแรง มักจะพบในลักษณะของปานที่มีขนาดใหญ่ และเป็นก้อนเหมือนเนื้องอก ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานอาจไม่ปลอดภัย เพราะสามารถส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านผิวหนัง รวมถึงระบบหายใจ การมองเห็น และการได้ยิน

คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต หากปานที่เห็นมีขนาดเปลี่ยนแปลงไป เปลี่ยนสี ทำให้เกิดอาการคันหรือระคายเคือง หรือทำให้ลูกน้อยรู้สึกเจ็บปวด ควรรีบพาลูกน้อยเข้ารับการวินิจฉัย เพื่อตรวจและรับการรักษาอย่างถูกวิธี

รักษาให้หายขาดได้อย่างไร

เมื่อลูกน้อยโตขึ้นและปานสตรอว์เบอร์รี่ยังไม่หายไปและมีแนวโน้มที่จะขยายขนาดอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาวะผิวหนังหรือสุขภาพของลูกน้อยได้ เบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบลักษณะปาน หรือ ตำแหน่งและขนาดของ ปาน ว่ามีทั้งหมดกี่จุดบนลำตัวของลูกน้อย จากนั้นอาจนัดพบคุณหมอเพื่อขอรับคำปรึกษา โดยคุณหมอจะประเมินและวางแผนแผนการรักษา ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยวิธีที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  • ฉีดยาประเภท คอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroid) เพื่อลดการเจริญเติบโตและหยุดการอักเสบของ ปาน หรือเนื้องอกชนิดรุนแรง
  • ทายาในรูปแบบเจลเย็น ที่เรียกว่ายาเบคาเพลร์มิน (Becaplermin)
  • ผ่าตัดศัลยกรรม เพื่อนำเนื้องอกออกเฉพาะจุด ตามการวินิจฉัยของคุณหมอในกรณีที่ปานอาจส่งผลร้ายแรงในอนาคต
  • รักษาด้วยเลเซอร์ ส่วนมากทางการแพทย์มักใช้กับปานที่มีรอยแดงในผิวหนังชั้นบนที่ไม่ส่งผลอันตรายต่อผิวหนัง เพียงแต่ต้องการกำจัดออกเท่านั้นเอง

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Strawberry Hemangioma Top of Form https://www.verywellfamily.com/strawberry-hemangioma-4687220. Accessed March 15, 2022.

Infantile Hemangioma. https://emedicine.medscape.com/article/1083849-overview. Accessed March 15, 2022.

Hemangioma. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hemangioma/symptoms-causes/syc-20352334. Accessed March 15, 2022.

What Is Infantile Hemangioma (Strawberry Birthmark)?. https://www.webmd.com/parenting/baby/what-is-infantile-hemangioma. Accessed March 15, 2022.

What is a strawberry hemangioma?. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21568-strawberry-hemangioma. Accessed March 15, 2022.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/03/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการแทรกซ้อนจากโรคผิวหนังอักเสบ

เด็กเป็นสะเก็ดเงิน การรักษาและวิธีดูแลที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 15/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา