backup og meta

วัยรุ่น พัฒนาการและสุขภาพ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

วัยรุ่น พัฒนาการและสุขภาพ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

วัยรุ่น เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ทั้งยังเป็นวัยที่ต้องการอิสระจากครอบครัวมากขึ้น ค้นหาตัวเอง และอาจติดเพื่อน มีความอยากรู้อยากลองในสิ่งใหม่ ๆ จึงอาจมีความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ  เช่น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด ใช้ความรุนแรง มีเพศสัมพันธ์และอาจตั้งครรภ์โดยพร้อม ดังนั้น การทำความเข้าใจและการดูแลสุขภาพอาจช่วยส่งเสริมการเติบโตของวัยรุ่นที่ดีในระยะยาวได้

วัยรุ่น คืออะไร

วัยรุ่น คือ ช่วงวัยเปลี่ยนผ่านระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ อายุประมาณ 12-20 ปี ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในหลายด้าน ทั้งด้านร่างกาย บุคลิกภาพ สติปัญญา อารมณ์และทางสังคม

พัฒนาการวัยรุ่น

พัฒนาการวัยรุ่นประกอบไปด้วยพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านสติปัญหา ด้านอารมณ์และทางสังคม ดังนี้

พัฒนาการด้านร่างกาย

ร่างกายของวัยรุ่นทั้งชายและหญิงกำลังเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งรูปร่าง ความสูงและน้ำหนัก รวมทั้งอวัยวะสืบพันธุ์ก็จะเริ่มพัฒนาอย่างเต็มที่ ซึ่งวัยรุ่นบางคนอาจรู้สึกวิตกกังวล เครียดหรือสับสนกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น

  • วัยรุ่นผู้หญิง เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อายุประมาณ 11-12 ปี อาจเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกอายุประมาณ 13 ปี เต้านมเริ่มขยายออก อาจเริ่มมีขนขึ้นตามจุดต่าง ๆ รวมทั้งรูปร่างอาจเริ่มมีสัดส่วนที่ชัดเจนมากขึ้น
  • วัยรุ่นผู้ชาย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อายุประมาณ 14 ปี ซึ่งช้ากว่าผู้หญิงเล็กน้อย อวัยวะเพศเริ่มขยายใหญ่ขึ้น เริ่มมีขนขึ้นตามจุดต่าง ๆ มีหนวดเครา เสียงเริ่มแตกหนุ่มมากขึ้น

พัฒนาการสติปัญญา

วัยรุ่น อาจเริ่มตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาของสมอง เซลล์ประสาทจำนวนมากในสมองของวัยรุ่นจะเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงกันระหว่างเซลล์ประสาทมากขึ้น ส่งผลให้วัยรุ่นมีความคิดที่ซับซ้อนและมีพัฒนาการทางสติปัญญามากขึ้นตามไปด้วย

พัฒนาการด้านอารมณ์และทางสังคม

ในช่วงวัยรุ่นจะค่อย ๆ เริ่มพัฒนาความคิดอย่างละเอียดและลึกซึ้งมากขึ้น ต้องการความเป็นอิสระ อาจใช้เวลาอยู่กับครอบครัวน้อยลงและให้ความสำคัญกับเพื่อนฝูงมากขึ้น เริ่มให้ความสำคัญกับความรู้สึกทางเพศ ภาพลักษณ์ การนับถือตนเอง สนใจเพศตรงข้าม และต้องการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อน ซึ่งบทบาททางสังคมของวัยรุ่นเริ่มพัฒนาอย่างซับซ้อนทั้งความรู้ ความเข้าใจและอารมณ์ในการอยู่ร่วมกันหรือทำงานร่วมกัน อาจมีบทสนทนาที่ลึกซึ้งมากขึ้น เช่น การพูดคุยเรื่องเรียน เรื่องงาน เรื่องเพศ รวมทั้งสามารถแสดงและควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นด้วย

สุขภาพวัยรุ่น

วัยรุ่น เป็นช่วงวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ต้องการความเป็นอิสระและอยากรู้อยากลองมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นช่วงวัยที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพกายและสุขภาพจิต ดังนี้

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่และยาเสพติด วัยรุ่นอาจเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่และใช้สารเสพติด และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันและไม่ได้ตั้งใจ การตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ความรุนแรง พฤติกรรมก้าวร้าว อุบัติเหตุและการก่ออาชญากรรม รวมทั้งยังอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคพิษสุราเรื้อรัง มะเร็งปอด โรคหัวใจ
  • การรักษาภาพลักษณ์ วัยรุ่นเริ่มให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์มากขึ้น ต้องการเป็นจุดสนใจของกลุ่มเพื่อนและคนอื่น ๆ จึงอาจเสี่ยงปัญหาสุขภาพ เช่น การอดอาหาร โรคกลัวคววามอ้วน การใช้สเตียรอยด์เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ
  • การถูกกลั่นแกล้ง วัยรุ่นที่แตกต่างจากกลุ่มเพื่อนหรือไม่ถูกยอมรับจากสังคม เช่น ความอ้วน ความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม เด็กใหม่ ความแตกต่างของรสนิยมทางเพศ อาจเกิดปัญหาถูกบูลลี่กลั่นแกล้งกันมากขึ้น จนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและเกิดการทำร้ายร่างกายขึ้น
  • ชีวิตครอบครัว วัยรุ่นบางคนอาจประสบปัญหาทางครอบครัว เช่น ความรุนแรงในครอบครัว การถูกล่วงละเมิดทางเพศ การหย่าร้างของพ่อแม่ ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้วัยรุ่นมีสุขภาพจิตที่แย่ลง
  • ความสัมพันธ์ทางเพศ วัยรุ่นบางคนอาจไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย อาจเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ
  • รสนิยมทางเพศ วัยรุ่นบางคนอาจมีรสนิยมทางเพศเฉพาะตน อาจกำลังค้นหาตนเอง หรืออาจเป็น LGBTQ แม้สังคมไทยเปิดรับในความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่บางครอบครัวอาจยังไม่ยอมรับ และทำให้วัยรุ่นเกิดความวิตกกังวลและไม่กล้าที่จะเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตนเอง

วัยรุ่น ควรดูแลสุขภาพอย่างไร

เพื่อให้วัยรุ่นมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น อาจดูแลตัวเองได้ด้วยวิธีเหล่านี้

  • การออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ วัยรุ่นควรออกกำลังกายอย่างน้อย 60 นาที/วัน และรับประทานอาหารเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย เช่น ผักและผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี อาหารที่มีโปรตีนหลากหลาย และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ
  • นอนหลับให้เพียงพอ วัยรุ่นควรนอนหลับ 7-9 ชั่วโมง/วัน ซึ่งส่งผลดีต่อพัฒนาการ และเพิ่มสมาธิในการเรียนที่ดีขึ้น
  • การฉีดวัคซีน วัยรุ่นควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี และฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น วัคซีนป้องกันเอชพีวี ซึ่งอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้
  • การจัดการกับความเครียด วัยรุ่นอาจมีความเครียดมากมายทั้งจากการเรียน ครอบครัว และการใช้ชีวิต การจัดการกับความเครียดจึงอาจช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิต โดยอาจหากิจกรรมคลายเครียด เช่น เล่นเกม เล่นกีฬา อ่านหนังสือ ทำสวน ทำงานบ้าน วาดรูป
  • ป้องกันตนเองหากมีเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นชายควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นหญิง สามารถป้องกันตนเองจากการตั้งครรภ์ได้ โดยการใช้ถุงยางอนามัย รับประทานยาคุมกำเนิด ใช้ยาฝังคุมกำเนิด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Adolescent Development. https://youth.gov/youth-topics/adolescent-health/adolescent-development#:~:text=Adolescence%20is%20the%20developmental%20transition,because%20of%20these%20rapid%20changes. Accessed February 10, 2022

Teenage health. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/teenage-health. Accessed February 10, 2022

What your teenager needs. https://www.familylives.org.uk/advice/teenagers/you-and-your-teen/what-your-teenager-needs/. Accessed February 10, 2022

Adolescent development. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/labs/pmc/articles/PMC548185/. Accessed February 10, 2022

Social Development. https://opa.hhs.gov/adolescent-health/adolescent-development-explained/social-development#:~:text=General%20Social%20Changes%20Adolescents%20Experience&text=As%20their%20social%20circles%20expand,who%20may%20function%20as%20mentors. Accessed February 10, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/07/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาสุขภาพช่องปากในวัยรุ่น ปัญหาสุขภาพเล็ก ๆ ที่ต้องใส่ใจ

พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ที่ควรระวัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 05/07/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา