ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย เนื่องจาก แคลเซียม เป็นสิ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้ โดยมีหน้าที่สำคัญในการทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง และอาจมีบทบาทสำคัญในการปล่อยเอนไซม์และฮอร์โมน ตลอดจนทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้ตามปกติ ดังนั้น หากร่างกายได้รับปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ อาจทำให้การทำงานของร่างกายผิด ทั้งยังอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาอีกด้วย
ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก คืออะไร
ภาวะพร่องแคลเซียม (Hypocalcemia) เป็นปัญหาที่อาจพบได้บ่อยที่สุดในเด็ก โดยมีสาเหตุหลักมาจากการบริโภคแคลเซียมต่ำและปัญหาการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ ในบางกรณีการขาดแคลเซียมในเด็ก อาจเป็นผลมาจากการระดับแคลเซียมต่ำในมารดา ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมที่ไม่เพียงพออาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระดูกอย่างรุนแรง มีผลต่อการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ รวมทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด และระบบประสาทอีกด้วย ดังนั้น หากเด็กมีกระดูกที่อ่อนแอจากการขาดแคลเซียมอาจนำไปสู่อาการกระดูกผิดรูป เช่น โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets)
อาการที่เกิดจาก ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก
สำหรับอาการที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กเมื่อมีภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก อาจมีดังนี้
- กล้ามเนื้อเป็นตะคริว เป็นสัญญาณเตือนแรกของภาวะพร่องแคลเซียม อาจสังเกตได้จากการที่เด็กพูดเรื่องอาการเจ็บที่กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่ายิ่งบริเวณแขน ใต้วงแขน และต้นขา เมื่อต้องเคลื่อนไหวและเดินไปมา
- อาการนอนไม่หลับ หากเด็กมีอาการนอนหลับยาก หรือในบางกรณี อาจหลับแต่หลับไม่ลึก นอนไม่หลับ หรือมักตื่นกลางดึกบ่อย ๆ นี่อาจเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ว่า เด็กอาจมีภาวะพร่องแคลเซียม
- และมีผิวฟันขรุขระ
- เล็บอ่อนแอและเปราะง่าย โดยปกติแล้ว เล็บเป็นส่วนที่ต้องการปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอ จึงจะเติบโตอย่างมีสุขภาพดี เพราะฉะนั้นการที่เล็บหักหรือเปราะง่าย อาจหมายเป็นอีกหนึ่งอาการของภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก
- เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้า โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเด็กผู้หญิงที่ร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ทั้งยังอาจทำให้เกิดปัญหารอบเดือนมาไม่ปกติอีกด้วย
การรักษาภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก
ภาวะพร่องแคลเซียมในเด็กอาจรักษาได้ด้วยการให้เด็กรับประทานอาหารเสริม เพื่อชดเชยปริมาณแคลเซียมที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้ ยังอาจเพิ่มระดับแคลเซียมตามธรรมชาติสำหรับเด็กในวัยกำลังเจริญเติบโต ได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้
- เพิ่มผลิตภัณฑ์จากนมในมื้ออาหารทุกวัน เพราะนมเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ดังนั้น ควรหมั่นดูแลให้เด็กดื่มนมเป็นประจำ
- เพิ่มผักใบเขียว เช่น ขึ้นฉ่าย ผักโขม ซึ่งอุดมไปด้วยแคลเซียมในทุกมื้ออาหาร
- ควรให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประกอบด้วยข้าวฟ่างในปริมาณมากขึ้น เนื่องจาก ข้าวฟ่างอุดมไปด้วยแคลเซียม
- งาเป็นอีกหนึ่งแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ซึ่งได้รับการแนะนำให้ใช้ในการรักษาภาวะพร่องแคลเซียมในเด็ก
- ควรให้เด็กออกไปรับแสงแดดในตอนเช้า อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เนื่องจาก วิตามินดีในแสงแดดอาจมีส่วนช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์แคลเซียมในร่างกายได้ดีขึ้น
- รับประทานผลไม้เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม ฝรั่ง สตรอว์เบอร์รี่
ปริมาณแคลเซียมสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย
ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำสำหรับเด็กแต่ละวัย อาจมีดังนี้
- อายุตั้งแต่วัย 1-3 ปี ควรได้รับแคลเซียม 700 มิลลิกรัม/วัน
- เด็กวัย 4-8 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม/วัน
- เด็กวัย 9 ขวบไปจนถึงอายุ 18 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัม/วัน
[embed-health-tool-vaccination-tool]