backup og meta

วัคซีนโควิด-19 ฉีดให้เด็กทารกกับเด็กเล็กได้หรือไม่

วัคซีนโควิด-19 ฉีดให้เด็กทารกกับเด็กเล็กได้หรือไม่

วัคซีนโควิด-19 สามารถฉีดให้เด็กทารกกับเด็กเล็กได้หรือไม่ อาจเป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนสงสัย เนื่องจาก ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ยังเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเทศไทย ได้อนุญาตให้มีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ปี และอาจฉีดวัคซีนกระตุ้นได้เมื่อเด็กมีอายุ 12 ปีขึ้นไป ส่วนวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปและต่ำกว่า 5 ปี ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

ความเสี่ยงในการเกิดโรคโควิด-19 ในเด็ก

โดยปกติแล้ว เด็กอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคโควิด-19 ในระดับรุนแรงน้อยกว่าผู้ใหญ่ เด็กที่ป่วยเป็นโควิด-19 มักมีอาการอย่างอ่อน หรือไม่แสดงอาการเลย และบางรายอาจมีภาวะที่เรียกว่า กลุ่มอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ (Multisystem Inflammatory Syndrome หรือ MIS) ที่ทำให้มีไข้ เกิดการอักเสบในอวัยวะหลายส่วน และทำให้อวัยวะล้มเหลวได้ในที่สุด แต่ก็ถือเป็นกรณีที่พบได้ยาก

วัคซีนโควิด-19 กับทารกและเด็กเล็ก

นักวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กต่างจากของผู้ใหญ่มาก ฉะนั้น จึงต้องมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ในเด็กเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นด้านความแรงของวัคซีน ขนาดการให้วัคซีน และระยะในการให้วัคซีน ดังนั้น อาจจะยังไม่เหมาะที่จะฉีดวัคซีนโคิด-19 ให้กับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปและต่ำกว่า 5 ปี ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์เพื่อป้องกันโควิด-19 ในเด็กอายุระหว่าง 5-11 ปี โดยขนาดยาจะต่ำกว่าที่แนะนำสำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ 

สำหรับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเทศไทย ได้อนุญาตให้มีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ปี เพื่อป้องกันเด็ก ๆ จากการติดเชื้อโควิด-19 และความเสี่ยงต่าง ๆ โดยเด็กจะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ปริมาณ 0.2 มิลลิลิตร โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 3 สัปดาห์ ซึ่งปัจจุบัน หลายประเทศอนุญาตให้เด็กอายุ 5-11 ปี ฉีดวัคซีนฉีดไฟเซอร์แล้ว

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสุขภาพของตัวเองและลูกให้ดี ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงควรรักษาสุขอนามัยส่วนตัว เช่น ล้างมือเป็นประจำ อาบน้ำทันทีที่กลับจากนอกบ้าน และควรปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เช่น อยู่ให้ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร งดนั่งรับประทานอาหารที่ร้าน หลีกเลี่ยงสถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือมีผู้คนแออัด สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่ยังอาจช่วยการลดการแพร่เชื้อสู่เด็ก รวมถึงลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคโควิด-19

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Vaccinations and COVID-19: What parents need to know. https://www.unicef.org/northmacedonia/vaccinations-and-covid-19-what-parents-need-know. Accessed January 4, 2021

Will children be able to get COVID-19 vaccine?. https://apnews.com/article/will-get-children-coronavirus-vaccine-1e007933dc3eace15bc1f9f60670955c. Accessed January 4, 2021

COVID-19 vaccines for kids: What you need to know. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronavirus/in-depth/covid-19-vaccines-for-kids/art-20513332. Accessed February 13, 2022

Coronavirus (COVID-19) vaccine for children aged 12 to 15. https://www.nhs.uk/conditions/coronavirus-covid-19/coronavirus-vaccination/coronavirus-vaccine-for-children-aged-12-to-15/. Accessed February 13, 2022

COVID-19 Vaccination Information for Kids & Teens. https://www.childrenshospital.org/conditions-and-treatments/conditions/c/coronavirus/vaccine. Accessed February 13, 2022

COVID Vaccine: What Parents Need to Know. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/coronavirus/covid19-vaccine-what-parents-need-to-know. Accessed February 13, 2022

Evaluation of the BNT162b2 Covid-19 Vaccine in Children 5 to 11 Years of Age. https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/nejmoa2116298. Accessed February 13, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/02/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โควิด 19 อาการ สาเหตุ และการรักษา

งานวิจัยชิ้นใหม่เผย โควิด-19 ทำคน เสี่ยงฆ่าตัวตาย มากขึ้น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 13/02/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา