backup og meta

Herpangina อาการ สาเหตุ และการรักษา

Herpangina อาการ สาเหตุ และการรักษา

Herpangina เป็นโรคระบาดในเด็กที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บคอ เป็นไข้ อาจมีแผลที่ช่องปากบริเวณเพดาน และในโพรงคอหอยด้านหลัง อาการที่เกิดขึ้นอาจไม่รุนแรง และอาจหายได้เอง

[embed-health-tool-vaccination-tool]

Herpangina คืออะไร 

Herpangina (โรคเฮอร์แปงไจน่า) คือ โรคระบาดในเด็กที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) อาจพบมากในเด็กอายุ 3-10 ปี รวมถึงเด็กที่ต้องไปโรงเรียน หรือต้องอยู่ที่สถานบันดูแลเด็กเล็ก หรือค่าย โรคนี้อาจเกิดขึ้นบริเวณเพดานปาก อาการที่เกิดขึ้นอาจไม่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็อาจทำให้เกิดตุ่มเล็ก ๆ ในปาก เป็นแผลในฝาก มีอาการเจ็บคอ มีไข้สูง

ในเด็กทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปี อาจสังเกตอาการของโรคเฮอร์แปงไจน่าได้ยาก เพราะในทารกบางคนอาจไม่ปรากฏอาการใด ๆ โรคเฮอร์แปงไจน่าที่เกิดในเด็กทารกอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ เช่น การบวมของสมอง การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง โดยส่วนใหญ่โรคเฮอร์แปงไจน่าอาจพบได้ในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน

อาการของโรคเฮอร์แปงไจน่า

อาการของโรคเฮอร์แปงไจน่าอาจแสดงให้เห็นภายใน 2-5 วัน หลังจากได้รับเชื้อ อาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และอาการอาจหายไปเองใน 7-10 วัน โดยอาการที่ปรากฏอาจมีดังนี้

  • มีไข้เฉียบพลัน
  • รู้สึกเจ็บคอ
  • รู้สึกเจ็บปวดขณะกลืนอาหาร
  • เบื่ออาหาร
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • น้ำลายไหล (ในเด็กทารก)
  • อาเจียน (ในเด็กทารก)

สาเหตุของโรคเฮอร์แปงไจน่า

สาเหตุของโรคเฮอร์แปงไจน่าอาจเกิดจากการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด (Enterovirus) ไวรัสที่อาจพบได้บ่อย อาจได้แก่

  • ไวรัสคอกซากี (Coxsackie)
  • ไวรัสเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71)
  • ไวรัสเอคโค (Echovirus)

โดยไวรัสอาจแพร่กระจ่ายจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่งโดยการสัมผัสกับเสมหะ การไอ จาม หรือสัมผัสกับอุจจาระ ดังนั้น การล้างมืออย่างเหมาะสมอาจช่วยให้เด็กลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้

วิธีการรักษาและการป้องกัน

การรักษา

โรคเฮอร์แปงไจน่าอาจหายได้เอง แต่หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 7-10 วัน คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กไปพบคุณหมอ โดยคุณหมออาจใช้วิธีการรักษาโดยการให้ยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยาอะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) ร่วมกับการรับประทานยาลิโดเคน (Lidocaine) เพื่อบรรเทาอาการปวดสำหรับช่องปากและลำคอ

การป้องกัน

สำหรับวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เด็กเป็นโรคเฮอร์แปงไจน่า คุณพ่อคุณแม่อาจทำได้ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดและถูกต้อง ควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด รับประทานอาหารอ่อน ๆ เช่น กล้วย นม ผัก ข้าว หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติจัด เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
  • ดื่มน้ำมาก ๆ  โดยเฉพาะนมและน้ำเย็น รวมถึงไอศกรีม เพื่อเพิ่มปริมาณของเหลวในร่างกาย ทดแทนของเหลวที่สูญเสียไปจากการเป็นไข้และอาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ อาจหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยวและเครื่องดื่มร้อนจัด
  • น้ำยาบ้วนปาก อาจช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก อีกทั้งยังอาจช่วยรักษาสุขภาพฟันและเหงือก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Herpangina. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK507792/. Accessed February 17, 2020

Herpangina. https://www.childrenshospital.org/conditions-and-treatments/conditions/h/herpangina. Accessed September 26, 2021

What Is Herpangina?. https://www.webmd.com/oral-health/what-is-herpangina. Accessed September 26, 2021

Herpangina in Children. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=herpangina-90-P01855. Accessed September 26, 2021

Herpangina in Children. https://www.nationwidechildrens.org/conditions/health-library/herpangina-in-children. Accessed September 26, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/11/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เลี้ยงลูกยุคดิจิทัล กับ 4 รูปแบบการเลี้ยงดูลูกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจ

สัญญาณเตือนออทิสติก ที่พ่อแม่ควรสังเกต


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 21/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา