backup og meta

ลูกปวดฟันผุ คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร

ลูกปวดฟันผุ คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร

ปวดฟันผุ เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่อาจพบได้บ่อยในเด็ก อาการที่อาจเกิดจากเนื้อฟันอักเสบและติดเชื้อ โดยอาการมักเกิดขึ้นหลังจากฟันได้รับความเสียหายหรือเกิดโพรงที่เนื้อฟัน ซึ่งเป็นผลมาจากการรักษาสุขอนามัยในช่องปากไม่ดี เนื่องจากการสะสมของน้ำตาลและแป้งจากอาหารทำให้แบคทีเรียภายในปากเจริญเติบโต ผลิตกรดทำลายฟันจนกลายเป็นฟันผุ ส่งผลให้ ลูกปวดฟันผุ

อาการปวดฟันผุ

เด็กแต่ละคนอาจมีอาการปวดฟันผุแตกต่างกัน แต่อาการที่อาจพบได้บ่อยอาจมีดังนี้

  • เด็กมีอาการปวดฟันผุอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • เด็กมักมีอาการปวดฟันมากขึ้นเมื่อสัมผัสกับฟันซี่ที่ผุ
  • เด็กอาจรู้สึกปวดฟันมากขึ้นเมื่อเคี้ยวอาหาร หรือรับประทานอาหารร้อนหรือเย็น
  • เด็กอาจรู้สึกเจ็บปวดกรามหรือบริเวณรอบ ๆ ฟันซี่ที่ผุ
  • เด็กบางคนอาจมีไข้ร่วมกับอาการเหนื่อย อ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ

ลูกปวดฟันผุ เพราะอะไร

ฟันผุ เป็นสาเหตุของอาการปวดฟันผุ เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและแป้ง ซึ่งเป็นอาหารให้กับแบคทีเรียในช่องปาก แบคทีเรียเหล่านี้จะผลิตกรดซึ่งทำลายเคลือบฟันคือผิวฟันด้านนอกจนเนื้อฟันอาจมีสีดำหรือสีน้ำตาล เมื่อเวลาผ่านไปและไม่แปรงฟันให้สะอาดหรือไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง กรดจะค่อย ๆ ทำลายเนื้อฟันไปเรื่อย ๆ จนเป็นโพรงที่ฟันและทำให้มีอาการปวดฟันผุเกิดขึ้น

วิธีรักษาอาการปวดฟันผุ

การรักษาอาการปวดฟันผุ คุณหมออาจวินิจฉัยอาการด้วยตาเปล่าหรืออาจใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์ฟันร่วมด้วยหากฟันผุรุนแรงมากและเป็นโพรงลึกลงไปถึงรากฟัน คุณหมออาจมีวิธีรักษาฟันผุเพื่อบรรเทาอาการหรือทำให้หายปวดฟันได้ ดังนี้

  • การกินยา เช่น ปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
  • การบ้วนน้ำเกลืออุ่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
  • การถอนฟันซี่ที่ผุ วิธีนี้จะช่วยทำให้อาการปวดฟันผุหายได้แต่อาจต้องสูญเสียฟันหากฟันซี่ที่ผุ
  • การอุดฟัน เป็นการกำจัดเอาเนื้อฟันส่วนที่ผุออกและใช้วัสดุอุดฟันปิดช่องว่าง
  • การระบายหนองที่ติดเชื้อออก ฟันผุที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานอาจติดเชื้อและมีหนองมาก คุณหมออาจพิจารณาระบายหนองออกเพื่อลดการติดเชื้อ
  • การรักษาคลองรากฟัน ซึ่งเป็นช่องว่างที่อยู่ในรากฟัน เพื่อกำจัดเอาเนื้อเยื่อโพรงฟันและคลองรากฟันที่อักเสบและติดเชื้อออก จากนั้นทำความสะอาดและอุดปิดช่องว่างที่คลองรากฟัน

หากอาการฟันผุมีการติดเชื้อรุนแรง คุณหมออาจให้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้ยาปฏิชีวินะผ่านทางหลอดเลือดดำ

วิธีป้องกันอาการปวดฟันผุ

คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันปัญหาฟันผุให้กับลูกได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • ควรเริ่มแปรงฟันให้ลูกตั้งแต่เริ่มมีฟันน้ำนมซี่แรก
    • ช่วงแรกเกิดถึง 12 เดือน อาจใช้ผ้าเปียกเช็ดหรือใช้แปรงสีฟันเด็กชุบน้ำและแปรงเบา ๆ
    • อายุ 12-36 เดือน ใช้แปรงสีฟันเด็กและแตะยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ให้แปรงสีฟันพอชื้น ๆ หลังแปรงเสร็จแล้วให้ใช้ผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำเช็ดออก
    • อายุ 18 เดือนถึง 6 ขวบ ใช้แปรงสีฟันสำหรับเด็กและบีบยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว หลังแปรงเสร็จแล้วให้ใช้ผ้าแห้งหรือผ้าชุบน้ำเช็ดออก
    • อายุ 6 ปีขึ้นไป สามารถใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ขนาดเท่าความยาวหน้าตัดแปรงได้ หลังแปรงฟันเสร็จให้บ้วนน้ำเล็กน้อย
  • ควรให้ลูกแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง คือเช้าหลังตื่นนอนและก่อนนอน เป็นเวลา 2 นาที
  • หลีกเลี่ยงการให้ลูกนอนหลับพร้อมขวดนม เพราะอาจทำให้ฟันของเด็กสัมผัสกับน้ำตาลเป็นเวลานาน และอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่หูและสำลักได้
  • ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน เพื่อขัดเศษอาหารที่แปรงสีฟันไม่สามารถแปรงออกได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล เพราะอาจเป็นอาหารให้กับแบคทีเรียในช่องปากที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดฟันผุ
  • ควรเข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพเหงือกและฟัน หากมีสัญญาณของฟันผุ คุณหมอจะสามารถรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุลุกลามจนมีอาการปวดฟันและอาจต้องสูญเสียฟัน
  • ควรให้ลูกดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์ เนื่องจากการดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์เป็นประจำจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันของเด็กเพื่อป้องกันฟันผุ ทั้งนี้ ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มและน้ำประปาแต่ละที่อาจแตกต่างกันออกไป
  • ควรสอนให้ลูกดื่มน้ำจากแก้วให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะเมื่อลูกอายุ 12-15 เดือน เนื่องจากการดื่มน้ำหรือนมจากถ้วยจะช่วยลดการสะสมของเหลวรอบฟัน ลดปัญหาฟันผุได้
  • ควรจำกัดปริมาณอาหารหวานหรืออาหารเหนียว เช่น ลูกอม คุกกี้ เยลลี่ เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีน้ำตาลมาก ซึ่งเป็นอาหารของแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดฟันผุได้
  • ไม่แนะนำน้ำผลไม้สำหรับทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน แต่หากให้น้ำผลไม้แก่ทารกอายุระหว่าง 6-12 เดือน ควรจำกัดที่ 4 ออนซ์/วัน และควรเจือจางด้วยน้ำเปล่า สำหรับเด็กอายุ 1-6 ปี ควรจำกัดน้ำผลไม้ที่ 4-6 ออนซ์/วัน

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Toothache (Pulpitis) in Children. https://www.nationwidechildrens.org/conditions/health-library/toothache-pulpitis-in-children. Accessed February 4, 2022

Toothache (Pulpitis) in Children. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P01876. Accessed February 4, 2022

Toothache. https://www.seattlechildrens.org/conditions/a-z/toothache/. Accessed February 4, 2022

How to Prevent Tooth Decay in Your Baby. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/teething-tooth-care/Pages/How-to-Prevent-Tooth-Decay-in-Your-Baby.aspx. Accessed February 4, 2022

Tooth decay – young children. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/tooth-decay-young-children. Accessed February 4, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/04/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงจิตรลดา ชินสุวรรณ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารเด็ก ที่ดีต่อร่างกาย และปริมาณสารอาหารสำหรับเด็ก

เด็กท้องอืด สาเหตุและการรักษา


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงจิตรลดา ชินสุวรรณ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 21/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา