backup og meta

ลูกร้องไห้ กลางดึก พ่อแม่ควรจัดการปัญหานี้อย่างไรดี

ลูกร้องไห้ กลางดึก พ่อแม่ควรจัดการปัญหานี้อย่างไรดี

ลูกร้องไห้ กลางดึก อาจเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องเจอ ซึ่งช่วงเวลากลางคืนควรเป็นเวลาแห่งการพักผ่อนจากกิจกรรมที่เหนื่อยล้ามาทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือว่าการเลี้ยงลูก แต่หากเจอปัญหาลูกร้องไห้กลางดึกอาจจะยิ่งทำให้เหนื่อยกว่าเดิมจากการอดหลับอดนอน ไม่เพียงเท่านั้น การที่ ลูกร้องกลางดึก บ่อย ๆ ยังอาจทำให้ลูกอดนอน จนอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ลูกร้องไห้ กลางดึก เกิดจากสาเหตุอะไร

การนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความเหนื่อยล้า นอกจากนี้ การนอนหลับยังมีส่วนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สำหรับทารกการนอนหลับถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้ความเข้าใจ อารมณ์ และการเรียนรู้ หากลูกนอนหลับไม่เพียงพอก็อาจทำให้เกิดความบกพร่องในการพัฒนาได้ โดยลูกร้องกลางดึกอาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

อาการป่วย

เด็กทารกเป็นวัยที่ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ เมื่อลูกเกิดอาการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดหรือหูเกิดการอักเสบ ก็จะร้องไห้ออกมา จึงอาจส่งผลให้ ลูกร้องกลางดึก ได้

ฟันกำลังจะขึ้น

ในช่วงที่ฟันกำลังจะขึ้น ทารกอาจรู้สึกคันเหงือก บางครั้งอาจมีอาการเหงือกบวมแดง จนทำให้ลูกร้องกลางดึก และไม่ยอมนอนในตอนกลางคืนได้

รู้สึกไม่สบายตัว

เมื่อทารกรู้สึกไม่สบายตัว เช่น ร้อนเกินไป หนาวเกินไป รู้สึกคัน ก็อาจทำให้ ลูกร้องไห้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างสภาพแวดล้อมในการนอนให้มีความเหมาะสม เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่ให้เหมาะกับอากาศ เพื่อช่วยให้ทารกรู้สึกสบายตัวมากขึ้น และนอนหลับได้สนิท ไม่ร้องไห้กลางดึก

วิตกกังวล

เมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มแยกห้องนอนกับลูก ลูกอาจเกิดความกังวลที่จะต้องแยกห้องนอน ส่งผลให้ลูกร้องไห้กลางดึกเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกกังวลได้

กลัวความมืด

เด็กหลายคนอาจถูกปลูกฝังมาอย่างผิด ๆ จนทำให้กลัวความมืดและไม่สามารถนอนในห้องที่มืดได้ในตอนกลางคืน เมื่อเกิดความกลัว ความกังวลก็อาจทำให้ลูกร้องกลางดึกได้

รับมืออย่างไรเมื่อลูกร้องกลางดึก

การร้องไห้และตื่นในเวลากลางคืนนั้น อาจรบกวนทั้งการนอนของคุณพ่อคุณแม่และลูก หากนอนหลับไม่เพียงพอ อาจทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมามากมาย ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือเมื่อลูกร้องไห้กลางดึกจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ซึ่งวิธีการเหล่านี้อาจเป็นตัวช่วยในการรับมือกับปัญหาลูกร้องกลางดึกได้ ดังนี้

จัดสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสม

เพื่อรับมือกับปัญหาลูกร้องไห้กลางดึก การจัดห้องนอนของลูกถือเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ โดยควรเลือกเครื่องนอนที่ลูกนอนแล้วรู้สึกสบายตัว เลือกอุณหภูมิที่มีความเหมาะสม ไม่ร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป ที่สำคัญควรเป็นห้องที่ปลอดภัย จัดวางเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสม

สร้างกิจวัตรการนอนที่ดี

การสร้างกิจวัตรประจำวันที่ดีเป็นวิธีที่ช่วยให้ลูกนอนหลับได้อย่างง่าย โดยอาจจะเริ่มจากการให้ดื่มนมก่อนนอน แปรงฟัน และอาจจะจบกิจวัตรนี้ด้วยการอ่านนิทานก่อนนอนเพื่อช่วยให้ลูกนอนหลับได้ง่ายขึ้น

เตรียมพร้อมสำหรับเข้านอน

การเตรียมพร้อมก่อนเข้านอนจะไม่ทำให้ลูกร้องไห้กลางดึก หรือลุกขึ้นมากลางดึก ก่อนจะนอนคุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมความพร้อมให้พวกเขาด้วยการพาเขาเข้าห้องน้ำ ดื่มน้ำก่อนนอน หรือหากมีตุ๊กตาตัวโปรดก็ควรวางไว้ใกล้ ๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกอุ่นใจ

หลีกเลี่ยงการใช้จออิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน

การเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน 1-2 ชั่วโมง เช่น หน้าจอทีวี แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน อาจทำให้นอนหลับได้ยาก เนื่องจาก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นแสงที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตสารเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นสารที่ส่วนช่วยในการควบคุมการนอนหลับ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการเล่น 1-2 ชั่วโมงเพื่อช่วยให้ลูกนอนหลับได้ง่ายและดีขึ้น

ทำกิจกรรมในเวลากลางวัน

เด็ก ๆ เป็นวัยที่มีพลังงานอย่างล้นเหลือ หากพวกเขาไม่ได้ทำกิจกรรมทางกายภาพในตอนกลางวัน เช่น การวิ่งเล่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เมื่อถึงเวลากลางคืนก็จะทำให้ลูกนอนหลับได้ยาก การได้ออกกำลังกายในตอนกลางวันจึงเป็นกิจกรรมที่ดี นอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้ลูกหลับสนิทในตอนกลางคืนได้อีกด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Night terrors.https://raisingchildren.net.au/preschoolers/sleep/nightmares-night-terrors-sleepwalking/night-terrors.Accessed 4 February 2021

Sleep and Your 1- to 2-Year-Old. https://kidshealth.org/en/parents/sleep12yr.html. Accessed May 16, 2022

How to survive nights when your toddler keeps waking up. https://www.nct.org.uk/baby-toddler/sleep/how-survive-nights-when-your-toddler-keeps-waking. Accessed May 16, 2022

Toddler Waking at Night – Signs and Solutions That Can Help. https://www.sleepadvisor.org/toddler-nighttime-waking/. Accessed May 16, 2022

Behavioural Sleep Problems in School Aged Children. https://www.sleephealthfoundation.org.au/pdfs/Behavioural-Sleep-Problems-Children.pdf. Accessed May 16, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/11/2022

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

ลูกน้อยร้องไห้บ่อย เกิดจากอะไร ควรรับมืออย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 18/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา