backup og meta

หัวทุย คืออะไร ศีรษะทารกแบบไหนเรียก หัวทุย

หัวทุย คืออะไร ศีรษะทารกแบบไหนเรียก หัวทุย

หัวทุย ลักษณะศีรษะของทารก ที่คุณแม่บางท่านต้องการอยากให้ลูกมีหัวทุยสวย ไม่แบน จึงมีการศึกษาเรื่องท่านอนลูกตั้งแต่แรกเกิด เพื่อให้ลูกมีศีรษะทุยสวย แต่การจัดท่านอนทารกที่ไม่เหมาะสม เพื่อหวังให้ลูกหัวทุยก็อาจเป็นอันตรายต่อทารกได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หัวทุย คืออะไร

ลักษณะศีรษะของเด็กหัวทุย ทารกจะมีความโค้งมนที่กะโหลกศีรษะบริเวณท้ายทอย แตกต่างจากเด็กหัวแบน ที่จะมีลักษณะรูปกะโหลกศีรษะแบนทั้ง 2 ด้าน แต่หากกะโหลกศีรษะบริเวณท้ายทอยแบนราบแค่ด้านใดด้านหนึ่ง อาจเรียกได้ว่า ทารกหัวเบี้ยว การจัดท่านอนลูกให้เหมาะสมแต่ละช่วงวัย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ทารกนอนหลับได้สบาย ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

การจัดท่านอนทารกที่เหมาะสม

ท่านอนทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน

เมื่อทารกคลอดออกมา ร่างกายจะยังไม่แข็งแรง จึงจำเป็นต้องได้รับโภชนาการที่ดี การดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการนอนหลับ ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโต สำหรับทารกแรกเกิดที่กระดูกคอและกระดูกสันหลังยังไม่แข็งแรง คุณพ่อคุณแม่ควรจัดท่านอนที่เหมาะสมให้กับทารกด้วยการให้นอนหงายและนอนตะแคง

โดยจัดศีรษะให้ลูกนอนสลับด้านบ่อย ๆ ระหว่างหลับ เพราะกระหม่อมหลังของทารกจะปิดก่อนกระหม่อมหน้า โดยค่อย ๆ ปิดตั้งแต่เดือนแรก และจะเริ่มปิดสนิทเมื่ออายุประมาณ 6-8 เดือน ส่วนกระหม่อมหน้าจะค่อย ๆ ปิด จนช่วงอายุ 9-18 เดือน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1 ปีครึ่ง จึงควรจัดท่านอนในเดือนแรกลักษณะนี้ เพื่อให้ทารกหลับสบาย หัวทุยสวย อาจช่วยป้องกันหัวแบนหรือหัวเบี้ยวได้

ท่านอนทารก 4 – 6 เดือน

ช่วงวัยนี้ พัฒนาการด้านร่างกายของทารกเริ่มดีขึ้น กระดูกแข็งแรงขึ้น จึงสามารถนอนคว่ำได้ โดยท่านอนคว่ำจะช่วยลดการนอนสะดุ้งหรือผวาตื่น

ท่านอนทารก 7 – 12 เดือน

ทารกเกิน 6 เดือนขึ้นไป ร่างกายจะเจริญเติบโต แข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี เริ่มมีแรงมากพอจะพลิกตัวเองได้ จึงสามารถให้นอนท่าไหนก็ได้ เช่น นอนคว่ำ นอนหงาย หรือนอนตะแคง

ข้อควรระวังในการจัดท่านอนทารก

ทารกในวัยแรกเกิดจน 4 เดือน เป็นวัยบอบบาง ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอันตรายโดยเฉพาะโรคการตายฉับพลันของเด็กทารกโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) ซึ่งมีคำแนะนำดังนี้

  1. พ่อแม่ควรจัดท่านอนที่เหมาะสมให้ทารก ด้วยท่านอนหงาย ไม่ใช่นอนคว่ำ เพราะอาจอุดกั้นทางเดินหายใจ 
  2. หากต้องการให้เด็กหัวทุย ก็จัดท่านอนตะแคงซ้ายและขวาสลับกันกันไป ในวัยไม่เกิน 4 เดือน ท่านอนตะแคงหรือนอนหงาย จะเป็นท่าที่เหมาะกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่ค่อยแข็งแรง ทำได้เพียงหันซ้ายและขวา สามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวและฝึกการมองได้
  3. ไม่ควรมีผ้าห่ม หรือหมอน ที่อาจไปทับหรือปิดจมูกและปาก ทำให้เด็กหายใจได้ไม่สะดวก
  4. เลือกที่นอนที่ปลอดภัย ที่นอนเด็กควรสูงประมาณ 2 ฟุต 
  5. แยกที่นอนมาอยู่ด้านข้างผู้ใหญ่ด้วยระยะห่างประมาณเอื้อมมือถึง
  6. ไม่ควรนอนระหว่างผู้ใหญ่หรือติดชิดกับผู้ใหญ่ เพราะอาจเผลอนอนเบียดหรือทับเด็กจนหายใจไม่ออก

นอกจากนี้ ควรสังเกตสภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูกอยู่เสมอ บนที่นอนของเด็กไม่ควรมีตุ๊กตา หมอน ผ้าห่ม หรือของเล่น ที่อาจจะมาปิดหน้าได้ระหว่างที่นอนหลับอยู่ โดยเฉพาะเด็กที่มีนิสัยชอบคว้าสิ่งของรอบตัว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

กรมอนามัย แนะพ่อแม่เลือก-จัดเตียงนอนที่ปลอดภัย ป้องกันเด็กทารกตกเตียง แม่เบียดทับ. https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/124408. Accessed June 26, 2023

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล จัดงานแถลงข่าวในประเด็น “ทารกนอนหลับ – ตาย”. https://mahidol.ac.th/th/2022/sleeping-baby-death/. Accessed June 26, 2023

โรคเสียชีวิตเฉียบพลันในเด็กทารก (SUDDEN INFANT DEATH SYNDROME). https://redcross.or.th/news/infographics/17636/. Accessed June 26, 2023

Plagiocephaly and brachycephaly (flat head syndrome). https://www.nhs.uk/conditions/plagiocephaly-brachycephaly/. Accessed June 26, 2023

Flat Head Syndrome (Positional Plagiocephaly). https://kidshealth.org/en/parents/positional-plagiocephaly.html. Accessed June 26, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/06/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำหนักทารก และส่วนสูง ตามช่วงอายุ

ทารกตัวเหลือง อาการ สาเหตุและการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 26/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา