backup og meta

เด็ก1เดือน ไม่นอนกลางวัน ปัญหาสำคัญที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ

เด็ก1เดือน ไม่นอนกลางวัน ปัญหาสำคัญที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ

เด็ก1เดือน เป็นวัยที่มีกิจกรรมประจำวันอยู่เพียงไม่กี่อย่าง ได้แก่ กิน นอน ขับถ่าย ร้องไห้ และอาจตื่นเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น แต่ในบางรายอาจพบปัญหาทารก1เดือน ไม่ยอมนอนในตอนกลางวัน ซึ่งเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่สามารถหาวิธีป้องกันและรับมือได้เพียงศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการนอนของทารก1เดือน

[embed-health-tool-vaccination-tool]

เด็ก1เดือน กับการนอน

ทารกเป็นช่วงวัยที่จำเป็นต้องมีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะทารกที่มีอายุระหว่าง 0-3 เดือน ควรจะนอนหลับให้ได้ประมาณ 14-17 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งแบ่งเป็นนอนตอนกลางคืน 8-10 ชั่วโมง และตอนกลางวันประมาณ 7-9 ชั่วโมง

ทำไม ทารก1เดือน ไม่นอนกลางวัน

 ทารก1เดือน ไม่นอนกลางวันเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก เพราะอาจไม่เข้าใจสาเหตุว่าเพราะอะไร สาเหตุที่ทารก1เดือนไม่นอนกลางวันนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่

  • ทารกรู้สึกหิว เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อย อาจเกิดจากการที่นมย่อยไวเกินไป มีการเว้นระยะห่างในการให้เด็กกินนมนานเกินไป หรือเด็กกินนมน้อยเกินไป จนทำให้เด็กหิว และนอนไม่หลับ
  • ทารกไม่สบาย การไม่นอนกลางวันของ ทารก 1 เดือน อาจเกิดจากการไม่สบาย เช่น เป็นหวัด มีไข้ แก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องผูก ภูมิแพ้ อาการเจ็บป่วยเหล่านี้ มักทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว จนหลับยาก
  • ทารกไม่สบายตัว อาจเกิดจากที่นอนของทารกแข็งจนเกินไป ถูกมดหรือแมลงกัดหรือต่อย อากาศร้อนเกินไป ไปจนถึงบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการนอน ทารกจึงรู้สึกไม่สบายตัว จนทำให้นอนไม่หลับ หรือไม่ยอมนอน
  • อุณหภูมิไม่เหมาะสม การนอนในอุณหภูมิที่เหมาะสมก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ทารกนอนได้ง่ายขึ้น อากาศที่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป อาจรบกวนการนอนหลับของทารกได้
  • เสียงรบกวน ทารกก็เหมือนผู้ใหญ่ มักไม่ชอบให้มีเสียงรบกวนเวลานอน โดยเฉพาะเสียงที่ดังจนเกินไป อาจรบกวนการนอนหลับของเด็ก หรือทำให้เด็กนอนไม่หลับ หรือไม่ยอมนอน

ทำอย่างไรให้ทารก1เดือนนอนกลางวัน

เพื่อให้ทารก1เดือน เข้านอนกลางวันได้ง่ายขึ้น หรือหลับได้ง่ายขึ้น คุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครองใช้ อาจลองทำตามเคล็ดลับเหล่านี้ ได้แก่

  • ใช้เวลากับทารกบ้าง หากทารกนอนหลับยาก หลังจากให้นม คุณพ่อคุณแม่ควรมีการเล่นกับลูกสักครู่หนึ่ง หรืออย่างน้อย 2-3 นาที การได้ใกล้ชิดกับพ่อหรือแม่อาจช่วยให้เด็กอยากนอนมากขึ้น
  • พาทารกออกไปเดินเล่นบ้าง เพื่อให้ทารกได้สัมผัสกับบรรยากาศใหม่ ๆ สิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ หรือการพาเด็กไปสัมผัสกับแสงแดดอ่อน ๆ บ้าง สามารถช่วยกระตุ้นให้นาฬิกาชีวภาพภายในร่างกายของทารกทำงานได้ดีขึ้น นอนหลับง่ายขึ้น
  • จัดบรรยากาศให้เหมาะแก่การนอน เช่น ปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม จัดแสงสว่างให้เหมาะสม ลดเสียงรบกวน
  • ตอบรับสัญญาณ เมื่อทารกเริ่มมีอาการง่วงนอน แต่ยังตื่นอยู่ คุณพ่อคุณแม่อาจนวดตัวให้ทารกเบา ๆ หรือร้องเพลงกล่อมเด็กให้เขาฟัง เพื่อให้เขาสามารถจดจำได้ว่า เมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มทำเช่นนี้ เป็นสัญญาณเตือนว่าได้เวลานอนแล้ว
  • พาทารกเข้านอนในเวลาเดิมทุกวัน เพื่อให้ ทารก1เดือน เริ่มเรียนรู้ว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่จะต้องเข้านอน นาฬิกาชีวภาพในร่างกายของทารกก็จะจดจำช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ทำให้ทารกมีโอกาสที่จะเข้านอนได้ง่ายขึ้น
  • วางทารกลงบนที่นอนในท่านอนหงาย ไม่คว่ำหน้า หรือตะแคง เพื่อให้ทารกได้นอนในท่าที่สบาย
  • ที่นอนขไม่ควรอัดแน่นไปด้วยของเล่น หรือตุ๊กตา แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะทำให้ดูน่ารัก แต่ไม่ได้ช่วยเสริมการนอนแต่อย่างใด ทั้งยังกินพื้นที่ในการนอนของทารกด้วย
  • ใส่ใจเรื่องความปลอดภัย เช่น ที่นอนได้มาตรฐานหรือไม่ มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในที่นอนหรือไม่ หากนอนเปล เปลมีความแข็งแรงเพียงพอหรือเปล่า เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันขณะทารกกำลังนอนหลับ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Answers About Your Baby’s Sleep. https://www.webmd.com/parenting/baby/faq-baby-sleep#1. Accessed November 10, 2021.

Sleep and Your 1- to 3-Month-Old. https://kidshealth.org/en/parents/sleep13m.html. Accessed November 10, 2021.

Baby naps: Daytime sleep tips. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/baby-naps/art-20047421. Accessed November 10, 2021.

Newborn Sleep Patterns. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/newborn-sleep-patterns. Accessed November 10, 2021.

On the development of sleep states in the first weeks of life. https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0224521. Accessed November 10, 2021.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/06/2024

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกไม่ยอม ดูดนมจากขวด จะรับมืออย่างไรดี

อันตรายจากปัญหา ลูกไม่นอน และวิธีการแก้ไข


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 27/06/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา