backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32 เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยเริ่มเรียนรู้ที่จะเลียนแบบพฤติกรรม ดังนั้น ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่หรือคนรอบข้างทำอะไร ลูกน้อยจะจดจำและค่อย ๆ ทำตาม รวมทั้งเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นมาแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลทำความสะอาดสุขภาพช่องปากและฟันให้ลูกน้อยเพื่อสุขอนามัยที่ดี

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 32

ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

อารมณ์ของลูกจะเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าสามารถเรียนรู้ที่จะชื่นชม เลียนแบบความรู้สึก และอาจแสดงออกถึงความเห็นใจได้เป็นครั้งแรก ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกน้อยได้ยินเสียงคนร้องไห้ เขาก็อาจจะเริ่มร้องไห้ตาม ถึงแม้ว่าเขาจะเพิ่งเริ่มเรียนรู้ความรู้สึกของตัวเอง แต่เขาก็จะเริ่มเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งในอนาคตลูกน้อยก็จะสามารถเรียนรู้จากสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติต่อผู้คนอื่น ๆ ในสังคมได้ด้วย

พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กในสัปดาห์ที่ 32

  • เปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน
  • เปลี่ยนจากท่าคลานเป็นท่านั่ง
  • เล่นตบมือและโบกมือบ๊ายบาย
  • เก็บวัตถุชิ้นเล็ก ๆ เข้าปาก
  • ทำการสำรวจรอบบ้านของตัวเอง
  • เรียก “แม่” หรือ “พ่อ” อยู่ตลอดเวลา

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

ในกรณีที่ลูกน้อยนอนห้องแยกต่างหาก พวกเขาอาจเกิดความกลัวที่จะต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ในเวลากลางคืน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้เวลาอ่านหนังสือให้ลูกน้อยฟังมากขึ้น กอด หรือเปิดเพลงกล่อมเด็กให้ฟังก่อนนอนจนลูกน้อยรู้สึกสบายใจ เพราะการทำแบบนี้เป็นประจำจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย และนอนหลับได้ง่ายขึ้น

อีกทั้งคุณพ่อคุณแม่ควรจัดสรรเวลาในการทำงานบ้าน และการเลี้ยงลูกให้สมดุล ที่สำคัญงานทั้งหมดในห้องนอนลูกควรทำให้เสร็จเพื่อเตรียมพร้อมให้ลูกน้อยนอนหลับได้อย่างสบาย นอกจากนั้น ควรสอนให้ลูกน้อยรู้ว่า ห้องนอนใช้สำหรับการนอน ไม่ควรใช้เล่นไล่จับกันก่อนนอน

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร

คุณหมอส่วนใหญ่จะไม่มีการนัดหมายในช่วงเดือนนี้ เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่ยังไม่มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วง ในขณะเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่ควรจดบันทึกเกี่ยวกับพัฒนาการลูกน้อย หรือจดบันทึกข้อสงสัยและอาจโทรไปคำปรึกษากับคุณหมอ โดยเฉพาะเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพที่อาจเป็นอันตรายกับลูกน้อย

สิ่งที่ควรรู้

ท้องเสีย

ในช่วงวัยนี้ ลูกน้อยอาจหยิบของเข้าปากหรือใช้มือจับสิ่งต่าง ๆ แล้วนำมือเข้าปาก ทำให้อาจประสบกับปัญหาของอาการท้องเสียได้ โดยอาจสังเกตลูกน้อยได้จากการขับถ่ายมากกว่าปกติ เช่น อุจจาระเหลว มีสีเหลือง สีเขียว หรือสีเข้ม และอาจมีกลิ่นเหม็นกว่าปกติ นอกจากนั้น อาจเกิดจากการให้ลูกน้อยกินผลไม้หรือดื่มน้ำผลไม้มากเกินไป การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส จึงทำให้เด็ก ๆ มีอาการท้องเสียตามมา

เคล็ดลับง่ายๆ ที่ช่วยให้อาการท้องเสียของลูกน้อยดีขึ้น

  • หากลูกน้อยขาดน้ำ อาเจียน ไม่ยอมทานอาหาร เครื่องดื่ม เลือดปนในอุจจาระ อาการท้องบวม และมีไข้นานกว่า 24 ชั่วโมง ควรรีบโทรปรึกษาคุณหมอทันทีถึงวิธีรับมือเบื้องต้นนอกจากนี้ เด็ก ๆ อาจมีการปัสสาวะน้อย ปัสสาวะเป็นสีเข้ม มีอาการผิวแห้งบริเวณตา จมูก และปาก ร้องไห้โดยไม่มีน้ำตา หรือเซื่องซึมปะปน
  • ควรให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดน้ำ แต่ควรงดน้ำผลไม้ หรือน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาล ควรดื่มนมแม่ และนมขวดอาจดีกว่า
  • ช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช็ดก้นทารกให้แห้งอยู่เสมอ และใช้ครีมทาตัวสำหรับเด็ก
  • พยายามหาสาเหตุของการท้องเสีย ว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสอะไรหรือเปล่า? ได้ลองกินอาหารอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่เคยกินไหม? หรือให้ลูกน้อยกินยาปฎิชีวนะเมื่อเร็ว ๆ นี้หรือไม่ ? และแจ้งให้แพทย์ทราบโดยละเอียด
  • ป้องกันอาการท้องเสียได้ด้วยการรักษาความสะอาด ด้วยการล้างมือบ่อยๆ รวมทั้งควรล้างผัก และผลไม้ที่ให้ลูกน้อยกินด้วย

ปัญหาทางทันตกรรม

ถ้าฟันของลูกน้อยงอกขึ้นมาผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องพาไปพบทันตแพทย์ เพราะฟันที่งอกผิดตำแหน่งจะไม่ส่งผลต่อสุขภาพฟันของลูกน้อย จริงๆ แล้วฟันน้ำนมอาจขึ้นผิดที่ได้ โดยเฉพาะฟันหน้าด้านล่าง ที่มักจะดูถ่างออกเป็นรูปตัววี ส่วนฟันหน้าด้านบนยังดูเหมือนใหญ่เมื่อเทียบกับด้านล่าง เมื่อทารกมีอายุสองขวบครึ่ง ก็จะมีฟันยี่สิบซี่ และถึงแม้ฟันจะมีสัดส่วนและโครงสร้างที่ดูไม่ปกติ แต่ก็ไม่ต้องเป็นกังวล เมื่อเด็กเติบโตขึ้นก็จะมีฟันที่เรียบเสมอกันเอง

หากฟันกลายเป็นสีเทา สาเหตุอาจเกิดจากคราบฟันที่เป็นธาตุเหล็ก เพราะเด็กบางคนดื่มวิตามินและแร่ธาตุที่อยู่ในรูปของเหลว รวมทั้งอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กมากเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิดคราบฟันได้ อาการนี้ไม่เป็นอันตรายต่อฟัน และจะหายไปเอง เมื่อหยุดใช้ยาและเริ่มกินวิตามินแบบที่ใช้เคี้ยวได้

ควรใช้ผ้าก๊อซทำความสะอาดฟันให้ลูกน้อย หรือทำความสะอาดทันทีหลังกินวิตามิน เพื่อช่วยกำจัดคราบเหลืองๆ บนผิวฟัน ถึงแม้ลูกน้อยจะไม่ได้กินอาหารเสริมในรูปของเหลว แต่ถ้าเขามักดื่มนมหรือน้ำผลไม้ในขวดนมก่อนนอน ก็อาจทำให้เกิดฟันผุได้ อาการฟันผุยังอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บ หรือข้อบกพร่องในเคลือบฟันแต่กำเนิด ควรปรึกษาแพทย์หรือทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพฟันของลูกน้อย

สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

กัดหัวนม

ทารกไม่สามารถกัดหัวนมได้แรง ๆ ในขณะดูดนมแม่ เพราะลิ้นของลูกน้อยขวางฟัน และเต้านมอยู่ ความสุขของลูกน้อยอาจทำให้เขาเผลอกรีดร้อง แล้วกัดหัวนมคุณแม่โดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าลูกน้อยส่งเสียงคิกคัก แทนที่จะหัวเราะ คุณแม่ก็ควรทำให้ลูกรู้ว่าไม่ควรกัดหัวนม โดยการส่งเสียงที่ฟังดูเด็ดขาดว่า “ไม่” แล้วรีบเอาหัวนมออกจากปากลูกน้อย และอธิบายว่า “การกัดแบบนั้นทำให้แม่เจ็บนะ!” ถ้าลูกพยายามยื้อหัวนมของคุณเอาไว้ ก็ใช้นิ้วแกะออกจากปากเขา แล้วจะทำให้เขาเรียนรู้ได้เองว่าต้องหยุดทำแล้ว

อีกทั้งคุณแม่ต้องพยายามหยุดนิสัย การชอบกัดหัวนมของเขา เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่รุนแรงขึ้นในภายหลัง ในไม่ช้าลูกน้อยควรจะรู้ว่าฟันไม่ได้ใช้กัด และยังมีข้าวของบางอย่างที่ช่วยควบคุมนิสัยนี้ได้ เช่น ยางกัด ขนมปัง หรือกล้วย ควรบอกให้เขารู้ว่าอะไรที่เขาไม่ควรกัด เช่น เต้านมแม่ นิ้วมือพี่น้อง รวมถึงไหล่ของพ่อขณะอุ้มอยู่อีกด้วย

  • รบกวนพัฒนาการทางด้านสุขภาพของลูกน้อย
  • ทำให้เด็กเล่นอะไรก็ไม่สนุก
  • ส่งผลต่อการเข้าสังคมของตัวเขา
  • ก่อให้ผลเสียต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
  • มีส่วนทำให้เกิดฟันผุในเด็ก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Your 32-Week-Old Baby. https://www.babylist.com/hello-baby/32-week-old-baby. Accessed November 30, 2022.

32 Week Old Baby | Your Baby Week By Week. https://www.bellybelly.com.au/baby-week-by-week/32-week-old-baby. Accessed November 30, 2022.

eek Old Baby – Development, Milestones & Care. https://parenting.firstcry.com/articles/your-32-week-old-baby/ Accessed November 30, 2022.

32 Week Old Baby | Your Baby Week By Week  https://www.bellybelly.com.au/baby-week-by-week/32-week-old-baby/ Accessed November 30, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/12/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

วรรณกรรมเยาวชน แนะนำเล่มไหนดีที่จะช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน

หัวนมแตก จากการให้นมลูก คุณแม่ควรรับมืออย่างไรไม่ให้เจ็บปวด


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไข 01/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา