พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 12 หรือประมาณ 3 เดือน เป็นช่วงที่ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้ทารกอาจหัวเราะอย่างต่อเนื่องและยาวนาน สามารถยกศีรษะขณะนอนคว่ำได้ และอาจเริ่มมองของที่อยู่ใกล้ตัว คุณพ่อคุณแม่ควรระวังปัญหาศีรษะทารกลีบแบน รวมไปถึงปัญหาเส้นประสาทกดทับที่อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ หากสังเกตพบความผิดปกติ หรือลูกมีอาการร้องไห้เป็นเวลานานติดต่อกัน ควรปรึกษาคุณหมอ
[embed-health-tool-vaccination-tool]
การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 12
ลูกน้อยจะเติบโตและมี พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 12 อย่างไร
ในช่วงวัยนี้ ลูกน้อยอาจมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนที่ 2 ลูกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้
- หัวเราะอย่างต่อเนื่องยาวนาน
- จีบนิ้วมือเข้าหากัน
- เมื่อนอนคว่ำ ลูกสามารกยกศีรษะได้ 90 องศา
- หัวเราะเสียงดัง
- ร้องไห้เมื่อต้องการบางสิ่งบางอย่าง
- มองตามสิ่งของที่ห่างจากตัวประมาณ 15 เซนติเมตร และหันหน้าได้ประมาณ 180 องศา
ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร
การอ่านออกเสียง เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อย เสียงของคุณพ่อคุณแม่จะช่วยให้การได้ยินของลูกสอดคล้องไปกับทำนองของภาษาพูด การเปลี่ยนน้ำเสียงในขณะเล่านิทาน การลงเสียงหนักเบา หรือการร้องเพลง จะช่วยให้ลูกมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับพ่อแม่ อีกทั้งยังช่วยดึงดูดความสนใจจากลูกมากขึ้น แต่หากลูกหันหน้าหนีหรือไม่แสดงความสนใจกับการเล่านิทาน ควรให้เขาได้พักผ่อน
มีหนังสือดี ๆ มากมายที่เหมาะสำหรับลูกน้อย ควรเลือกหนังสือที่มีภาพประกอบขนาดใหญ่ สีสันสดใส และมีตัวละครง่ายๆ หรือหนังสือที่มีแต่รูปภาพเพียงอย่างเดียว เพื่อที่จะสามารถบรรยายเนื้อหาให้ลูกฟังได้ตามใจชอบ เวลาที่เลือกหนังสือนั้น ไม่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของอายุมากจนเกินไป เพราะหนังสือสำหรับเด็กโตก็สามารถดึงดูดเด็กเล็กได้เช่นเดียวกัน ถ้าหนังสือเล่มนั้นมีภาพประกอบที่ชัดเจนและมีสีสันสวยงาม
วิธีสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับลูก มีดังนี้
- กอดลูก
- แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบกับลูก
- พูดคุยกับลูก
- ทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายด้วยการเล่นกับลูก
- ให้พื้นที่ส่วนตัวสำหรับลูก ปล่อยให้นอนเล่นโดยไม่รบกวนแต่อยู่ใกล้ ๆ
- คอยสังเกตความสนใจของลูกน้อย
- เลือกเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสม
สุขภาพ ความปลอดภัยและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 12
ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร
คุณหมออาจทำการตรวจร่างกาย โดยขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของลูก ซึ่งอาจจะทำการตรวจดังต่อไปนี้
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดขนาดศีรษะ และดูความคืบหน้าของพัฒนาการตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน
- ตรวจร่างกาย รวมทั้งตรวจสอบในเรื่องที่เป็นปัญหาก่อนหน้านี้ด้วย
- ให้คำแนะนำในการป้อนอาหารให้ลูก การนอนหลับ พัฒนาการและการเจริญเติบโต และความปลอดภัยของเด็ก
- ช่วยตอบคำถามที่สงสัย เช่น ลูกจะมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไรเมื่อได้รับวัคซีน เมื่อลูกเป็นไข้ควรดูแลอย่างไร
ควรให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อย โดยควรจดบันทึกข้อมูลเพื่อนำไปขอคำแนะนำจากคุณหมอ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ความกว้างรอบศีรษะ ตำหนิบนผิวหนังแต่กำเนิด การได้รับวัคซีน โรค ยา และผลการตรวจต่าง ๆ ลงในสมุดบันทึกสุขภาพของลูกน้อย
สิ่งที่ควรรู้
- อาการศีรษะแบนในเด็ก
ลูกอาจมีอาการศีรษะแบน ซึ่งเกิดจากการนอนท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิดมีความอ่อนนุ่มและยืดหยุ่น เมื่อพวกเขานอนหลับในช่วงเวลากลางคืนด้วยท่าเดิม ๆ เป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ศรีษะแบนได้ แต่ไม่ต้องกังวลไป เมื่อลูกสามารถคลานหรือนั่งได้ ศีรษะของเขาก็จะกลับมาเป็นปกติตามเดิม
แต่เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกไม่เป็นอะไร ควรปรึกษากุมารแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านความพิการบนใบหน้า เพื่อประเมินว่าอาการของลูกน้อยมีความรุนแรง หรือต้องได้รับการรักษาหรือไม่ ถ้าลูกมีอาการที่ไม่รุนแรง คุณหมออาจแนะนำวิธีการปฏิบัติแบบง่าย ๆ เช่นการให้ลูกนอนราบ ในขณะที่ตื่น ฝึกกระตุ้นให้รู้สึกตื่นเต้น เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอของลูก
- ลูกมีปัญหาหัวล้านหรือผมร่วง
หัวล้าน มักมีสาเหตุมาจากท่าทางและพฤติกรรมของลูก ที่วางศีรษะในตำแหน่งเดิม ๆ เป็นเวลานาน หรือชอบไถศีรษะไปบนพื้น หรือขอบเปล ซึ่งทำให้เกิด ผมร่วง บริเวณนั้น ๆ แต่อาการนี้จะหายไปเมื่อลูกโตขึ้น
การคาดเดาว่าผมจะงอกกลับขึ้นมาเมื่อไหร่นั้นทำได้ยาก เด็กส่วนใหญ่จะมีผมขึ้นประมาณสองกำมือเมื่อมีอายุได้ 1 ขวบ อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาที่ผมร่วงแล้วขึ้นใหม่ก็แตกต่างกันไปในเด็กที่ละคน เด็กบางคนอาจผมขึ้นทันทีหลังจากที่ผมร่วงไปไม่นาน แต่บางคนอาจต้องใช้เวลา รวมทั้งเป็นไปได้ว่าสีผมและลักษณะเส้นผมที่ขึ้นใหม่ของลูกอาจแตกต่างไปจากตอนแรกเกิด
- โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
คนส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ที่ชอบถือของหนัก ๆ เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วโรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับเด็กเล็กได้เหมือนกัน และพบได้บ่อยในเด็กผู้ชาย เด็กที่คลอดก่อนกำหนด และเด็กแฝด
สามารถคาดเดาสัญญาณเริ่มต้นของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทได้ จากเนื้องอกในบริเวณต้นขาและท้อง โดยเฉพาะเมื่อเวลาที่ลูกร้องไห้ หรือตื่นตกใจ และเนื้องอกมักจะหดล็กลงเมื่อลูกหยุดร้องไห้ ลูกของอาจประสบกับอาการไส้เลื่อนในถุงอัณฑะ อันเนื่องมาจากลำไส้เลื่อนลงมาบริเวณท่ออัณฑะ ส่งผลให้ถุงอัณฑะบวมหรือโป่งพอง โรคไส้เลื่อนจะทำให้เด็กไม่สบายตัว แต่ลูกจะปลอดภัยหากรักษาทันท่วงที
อย่างไรก็ดี ถ้าสังเกตเห็นก้อนหรืออาการบวมบริเวณขาหนีบหรืออัณฑะ ควรพาลูกไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด ซึ่งคุณหมอจะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมได้ ในบางรายอาจต้องใช้วิธีการผ่าตัด
การเกิดซ้ำของโรคหลังจากการผ่าตัดนับว่ามีน้อยมาก โรคหมอนรองกระดูกหลังเคลื่อนในเด็ก หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจทำให้เกิดการอุดตันบริเวณขาหนีบ ก่อให้เกิดการปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด และการย่อยในลำไส้ ส่งผลให้เด็กอาเจียน เจ็บปวด หรือช็อคได้
ถ้าพบว่าลูกร้องไห้เพราะอาการปวด อาเจียน และไม่ขับถ่าย ควรไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด ควรยกลำตัวส่วนล่างของลูกขึ้นเล็กน้อยและประคบด้วยน้ำแข็ง ในขณะเดินทางไปโรงพยาบาล เพราะน้ำแข็งจะช่วยให้ลำไส้หดเล็กลงได้
สิ่งที่ต้องเป็นกังวล
ต้องกังวลในเรื่องใด
สัญญาณการเจริญเติบโตของลูกน้อย อาจเป็นประโยชน์เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับพัฒนาการของเด็กคนอื่น ๆ แต่การเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่นหรือแม้แต่กับพี่น้อง ก็อาจทำให้เป็นกังวลหรือผิดหวังมากเกินไปได้
เด็กสองคนเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ก็จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน เด็กคนหนึ่งอาจพูดได้เยอะและพูดได้ไว ในขณะที่เด็กอีกคนหนึ่งเติบโตได้เร็วกว่า เช่น สามารถกลิ้งได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ความแตกต่างนี้จะมองเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อเด็กมีอายุครบ 1 ปี อาจคลานได้แต่เริ่มหัดเดินเมื่อมีอายุได้ 15 เดือน แต่เด็กบางคนอาจคลานไม่ได้ แต่หัดเดินได้ตั้งแต่อายุ 10 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจในเรื่องพัฒนาการเด็กที่แต่ละคนมักมีพัฒนาการแตกต่างกัน