backup og meta

“ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” สกิลสำคัญที่ Gen Alpha- Beta ควรมีในโลกยุค AI

“ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” สกิลสำคัญที่ Gen Alpha- Beta ควรมีในโลกยุค AI

โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุค AI อะไรๆ ก็ดูจะง่ายดายไปหมด ในช่วงเวลาที่เด็กๆ ที่เกิดหลังปี 2020 กำลังเติบโต เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างเช่น AI ก็อาจกลายเป็นปัจจัยที่ 5 คอยอำนวยความสะดวกให้ในหลายๆ ด้านของชีวิต และคงจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม 

ความสะดวกสบายที่เกิดขึ้น อาจทำให้เด็กๆ ไม่มีโอกาสได้ฝึกทักษะจำเป็นของชีวิต ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่เป็นกังวลว่าลูกๆ จะมีทักษะอะไรติดตัวไปบ้างเพื่อให้ประสบความสำเร็จในอนาคต แน่นอนว่า IQ เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ แต่เพียงแค่นั้นอาจยังไม่พอ ต้องมี “ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” ด้วย

EF คืออะไร

ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF หรือ Executive Function คือกระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ช่วยควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม รวมถึงแก้ไขปัญหา ซึ่งถือเป็นความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตที่จะต่อยอดไปสู่ความสำเร็จ แต่ EF คือทักษะที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน

โดยทักษะ EF ของเด็กช่วงปฐมวัย มีทั้งหมด 9 ด้าน ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทักษะใหญ่ๆ ได้แก่

  • กลุ่มทักษะพื้นฐาน ประกอบไปด้วย การจดจำเพื่อใช้งาน การยั้งคิดไตร่ตรอง และการยืดหยุ่นทางความคิด ในกลุ่มนี้จะเน้นให้ความสำคัญกับกระบวนการทางความคิด 
  • กลุ่มทักษะกำกับตนเอง ประกอบไปด้วยการมีสมาธิจดจ่อ การควบคุมอารมณ์ และการประเมินตนเอง ถือเป็นกลุ่มทักษะซึ่งเป็นคุณสมบัติของการมีบุคลิกภาพที่ดี เพราะการควบคุมตนเองได้ดีจะแสดงให้เห็นผ่านทางพฤติกรรมนั่นเอง
  • กลุ่มทักษะการปฏิบัติ ประกอบไปด้วย การคิดริเริ่มและลงมือทำ การวางแผนและจัดระบบดำเนินการ และการมุ่งมั่นทำตามเป้าหมาย โดยทักษะในกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงการมีความรับผิดชอบและภาวะการเป็นผู้นำได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ กลุ่มทักษะพื้นฐาน 3 ประการ คือ สมองจำดี (Working Memory), ความคิดยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility) และยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) ถือเป็นพื้นฐานสำคัญ สู่การต่อยอดทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ให้แตกแขนงและแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ-ef-คือ

พัฒนาการทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF เริ่มจากโภชนาการที่ดีและการเลี้ยงดูที่เหมาะสม

แม้ว่าทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF จะไม่ใช่สกิลที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ทุกคนต่างเกิดมาพร้อมศักยภาพที่จะพัฒนาทักษะนี้ให้โดดเด่นได้ โดยการฝึกฝนทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ควรเริ่มในช่วงอายุปฐมวัย ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าระยะ 5 ขวบปีแรก ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่เด็กจะสามารถเรียนรู้และฝึกฝนทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การเริ่มต้นที่ดีนี้จะส่งผลดีต่อการพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ในระยะยาวไปจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ด้วยเลยทีเดียว การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ทั้งในด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา และร่างกาย

อีกหนึ่งเคล็ดลับของการพัฒนาทักษะสมอง คือโภชนาการที่ดี เมื่อสมองได้รับสารอาหารที่ดีก็จะเติบโตและทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยสุดยอดสารอาหารพัฒนาสมองก็ไม่ใช่ของหายากแต่อย่างใด เพราะอยู่ในนมแม่นี่เอง

เสริมแกร่ง ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ด้วย MFGM สารอาหารในนมแม่

ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ-ef-คือ

นมแม่ เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารมากมาย หนึ่งในนั้นคือ MFGM หรือ Milk Fat Globule Membrane ที่อุดมไปด้วยไขมันและโปรตีนชีวภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองของเด็ก มากกว่า 150 ชนิด  เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด และแกงกลิโอไซด์

นมแม่มี MFGM เพื่อ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก สมองจึงได้รับการส่งเสริมการเชื่อมต่อเซลล์สมอง และทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงทำให้เกิดพัฒนาการทางสมองและสติปัญญาตามมา โดยมีการพิสูจน์จากงานวิจัยแล้วว่าเด็กที่ได้รับนมแม่ เด็กสามารถเรียนรู้ได้ไวขึ้นโดยมีทักษะการประมวลผลของสมองที่เร็วขึ้นถึง 7 จุด* นอกจากนี้ MFGM ยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายของเด็กต่อสู่กับการติดเชื้อได้อีกด้วย

ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ-ef-คือ

ในอนาคตต่อจากนี้ เทคโนโลยีรวมถึง AI จะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่เด็กเจน Alpha ถูกเรียกว่า “พลเมืองดิจิทัลโดยกำเนิด” เด็กเจน Beta ก็ถูกเรียกว่า “เด็กโลก AI“เช่นกัน

โลกที่หมุนเปลี่ยนเร็วเช่นนี้อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลถึงทักษะสำคัญที่ลูกควรมีติดตัวไว้เพื่อให้ประสบความสำเร็จในอนาคต การเริ่มปลูกฝังและพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ อย่างเช่น ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF จึงถือเป็นการปูพื้นฐานสู่ความสำเร็จให้ลูกน้อยของคุณในวันหน้านั่นเอง

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF และ MFGM คลิก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

*Ref. (1) Vargas-Pérez, S., Hernández-Martínez, C., Voltas, N. et al. Effects of Breastfeeding on Cognitive Abilities at 4 Years Old: Cohort Study. IJEC (2024). https://doi.org/10.1007/s13158-024-00396-z 

Executive Function. https://my.clevelandclinic.org/health/articles/executive-function. Accessed February 17, 2025.

ทักษะสมอง EF (Executive Functions) กับเด็กปฐมวัย. https://ecd.onec.go.th/knowledge/articles/4593/. Accessed February 17, 2025.

InBrief: Executive Function. https://developingchild.harvard.edu/resources/inbriefs/inbrief-executive-function/#:~:text=Tests%20measuring%20different%20forms%20of,throughout%20adolescence%20and%20early%20adulthood. Accessed February 17, 2025.

Nutrients for executive function development and related brain connectivity in school-aged children. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33355357/. Accessed February 17, 2025.

Roles of Milk Fat Globule Membrane on Fat Digestion and Infant Nutrition. https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC9108948/. Accessed February 17, 2025.

รู้จัก GEN BETA เด็กเจนใหม่เกิดมาพร้อม AI ใส่ใจโลกเเละความเท่าเทียม. https://www.amarintv.com/spotlight/business-marketing/503522. Accessed February 17, 2025.

“เด็กสมัยนี้” Gen Alpha พลเมืองดิจิทัลโดยกำเนิด **ทรงอย่าแบด แซดอย่าบ่อย**. https://happy8workplace.thaihealth.or.th/articles/138. Accessed February 17, 2025.

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/02/2025

เขียนโดย Panissara Jiamudompong

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

นมแม่ กับข้อสังเกตอื่น ๆ ที่คุณแม่มือใหม่ควรใส่ใจ

วิธีให้ลูกดูดเต้า ช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่ ทำได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย Panissara Jiamudompong · แก้ไขล่าสุด เมื่ื่อวาน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา