backup og meta

การปลอบ ลูก เมื่อลูกอารมณ์แปรปรวน ทำได้อย่างไร

การปลอบ ลูก เมื่อลูกอารมณ์แปรปรวน ทำได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่อาจพบเจอกับปัญหาทางด้านอารมณ์ของเด็ก เช่น โกรธเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ เสียใจที่ถูกแกล้งรังแก ไม่พอใจเมื่อถูกขัดใจ หากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไข อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ในระดับที่รุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากกว่าเดิม ดังนั้น เมื่อเด็กมีปัญหาทางอารณ์ต่าง ๆ ผู้ปกครองควรเรียนรู้ที่จะมี การปลอบ ให้เด็ก ๆ ผ่อนคลายความรู้สึกทางอารมณ์ลง

ความผิดปกติทางอารมณ์ คืออะไร

เด็ก ๆ หลายคน มักไม่สามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ นั่นอาจเป็นลักษณะของความผิดปกติทางอารมณ์ (Emotion Dysregulation) ซึ่งอาจเป็นความไม่สามารถในการจัดการกับความรุนแรงของอารมณ์ในเชิงลบ เช่น ความกลัว ความเศร้า ความโกรธ โดยอารมณ์ด้านลบที่ยืดเยื้ออาจส่งผลต่อทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรมที่รุนแรง เช่น การทะเลาะกับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว เด็กอาจไม่สามารถหยุดคิดถึงเรื่องราวในแง่ลบเหล่านั้นแม้กระทั่งในตอนที่นอนหลับ และแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะปลอบโยนเด็กว่าให้ปล่อยผ่านไป แต่เด็กอาจไม่มีความสามารถในการที่จะควบคุมอารมณ์เหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กอย่างใกล้ชิดอยู่เสมอ

การปลอบ ลูก คุณพ่อคุณแม่ทำได้อย่างไร

ไม่ใช่แค่เพียงเวลาที่เด็กเกิดความเศร้าเท่านั้นที่ต้องมีการปลอบใจ แต่เมื่อเด็กโกรธ ไม่พอใจ หรือโดนขัดใจ การปลอบก็สามารถช่วยให้เด็กมีอารมณ์ที่ผ่อนคลายลง สามารถเข้าใจถึงเหตุผล และความเป็นไปของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ โดยการปลอบอาจทำได้ ดังนี้

วางข้อกำหนดหรือกฎต่าง ๆ

  • เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะบอกให้เด็ก ๆ รู้ว่าพฤติกรรมที่สมควรคืออะไร และพฤติกรรมใดบ้างที่ไม่ได้รับอนุญาต หากเด็กทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือนอกเหนือไปจากข้อกำหนด จำเป็นที่จะต้องอธิบายให้เด็กเข้าใจ

รับฟังปัญหา

  • ในบางครั้งที่เด็กกำลังโมโห คุณพ่อคุณแม่ควรรับฟัง ให้เด็กได้บอกถึงที่มาที่ไป หลังจากเข้าใจสถานการณ์แล้ว จึงมีการอธิบายว่าสิ่งที่เด็กกำลังเข้าใจอยู่นั้นมีความถูกต้องหรือไม่ หากเด็กเป็นผู้เสียหาย ควรมีการแสดงออกถึงความเข้าใจและพร้อมช่วยแก้ปัญหา

การกอด

  • การกอดเป็นการส่งพลังได้ดีอีกวิธีหนึ่ง ไม่ควรตี หยิก หรือทำโทษเมื่อเด็กทำไม่ถูกใจ ไม่ได้ดั่งใจ หรือกำลังเสียใจ คุณพ่อคุณแม่สามารถสวมกอด ลูบหลังเบา ๆ เพื่อให้เด็กสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น ความช่วยเหลือ และความเข้าใจ เมื่ออารมณ์ของเด็กสงบขึ้นจึงค่อยมีการถามถึงที่มาที่ไป

ให้เวลาเด็กได้อยู่กับตัวเอง

  • บางกรณีเด็กอาจไม่พร้อมที่จะเล่าอะไรให้ใครฟัง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจบอกเด็กว่า “ถ้าสบายใจแล้วมาเล่าให้แม่ฟังบ้างนะ” หรือ “ไปพักผ่อนก่อนนะ อีกสักชั่วโมงเดี๋ยวค่อยมาคุยกัน” โดยพยายามให้เด็กได้ใช้เวลาอยู่กับตัวเองสักพักเพื่อให้อารมณ์สงบลง จากนั้นค่อยถามถึงเรื่องราวที่ไม่สบายใจ หรือมีเรื่องไหนที่ทำให้เสียใจ และจะช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างไรบ้าง

สร้างบรรยากาศที่ดีในครอบครัว

  • การมีสภาพแวดล้อมที่ดีและอบอุ่นในครอบครัว เป็นการช่วยปลอบโยนเด็กทางอ้อม โดยคุณพ่อคุณแม่อาจมีการทำเป็นแบบอย่างก่อน เช่น การไม่ปิดบังหรือมีความลับต่อกัน มีอะไรสามารถพูดคุยหรือปรึกษากันได้ หรือในแต่ละวันหลังเลิกเรียน มีการพูดคุยกับเด็กถึงชีวิตประจำวันอยู่เสมอ พยายามให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีการพูดคุยกันอยู่เสมอ เพราะต่อไปเมื่อเด็กมีเหตุการณ์ที่เสียใจ หรือไม่สบายใจ ก็สามารถที่จะปรึกษาได้ทันที ไม่ต้องกลัวว่าพูดไปแล้วจะไม่มีใครฟัง ดังนั้น ผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่าง และสร้างบรรยากาศดังกล่าวให้เกิดขึ้นในครอบครัว

เด็กอาจไม่สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกได้ดีเท่ากับผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกโกรธ โมโห เสียใจ ไม่พอใจ หรือเกลียด ซึ่งไม่เพียงแต่ความรู้สึกเสียใจเท่านั้นที่คุณพ่อคุณแม่ควรมีการปลอบ แต่ไม่ว่าเด็กจะอยู่ในสภาวะอารมณ์ใดก็ตาม การปลอบโยนจะช่วยให้เด็กสงบลง รวมถึงยังเป็นการยับยั้งอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากเด็กขาดสติยั้งคิด สำคัญที่สุด คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามทำความเข้าใจและพร้อมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเต็มใจ

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ages & Stages: How to Calm and Comfort Children. https://www.scholastic.com/teachers/articles/teaching-content/ages-stages-how-calm-and-comfort-children/. Accessed December 25, 2019

How to Help Children Calm Down. https://childmind.org/article/how-to-help-children-calm-down/. Accessed December 25, 2019

5 Ways to Manage Your Child’s Anger. https://www.parents.com/toddlers-preschoolers/discipline/anger-management/5-ways-to-manage-your-childs-anger/. Accessed December 25, 2019

What Is Affect or Emotion Dysregulation?. https://psychcentral.com/blog/what-is-affect-or-emotion-dysregulation/. Accessed December 25, 2019

Helping children calm down: 3-8 years. https://raisingchildren.net.au/school-age/behaviour/behaviour-management-tips-tools/helping-children-calm-down-3-8-years. Accessed August 08, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/08/2022

เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

แป้งโดว์ มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร และวิธีทำแป้งโดว์ด้วยตัวเอง

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกโรคย้ำคิดย้ำทำในเด็ก และวิธีการรับมือ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ · แก้ไขล่าสุด 09/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา