backup og meta

การเล่นบทบาทสมมติ สำคัญต่อพัฒนาการของเด็กอย่างไร

การเล่นบทบาทสมมติ สำคัญต่อพัฒนาการของเด็กอย่างไร

การเล่นบทบาทสมมติ คือการเล่นของเด็ก ๆ ที่อาศัยจินตนาการ เพื่อจำลองสถานการณ์หรือสวมบทบาทสมมติ เช่น จินตนาการว่ากล่องกระดาษเป็นปราสาทเจ้าหญิง กิ่งไม้เป็นดาบอัศวิน หรือจะเป็นการสร้างตัวละครของตัวเองขึ้นมา การเล่นที่ใช้จินตนาการ เป็นการเล่นที่มีความซับซ้อน และดีสำหรับพัฒนาการทางความคิดของเด็ก ๆ

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเล่นบทบาทสมมติ คืออะไร

การเล่นที่ใช้จินตนาการเป็นรูปแบบการเล่นที่เด็ก ๆ จะสมมุติตัวละคร เหตุการณ์ และสถานที่ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการสมมุติว่าตัวเองเป็นเจ้าหญิง อัศวิน หรือแม้กระทั่งหุ่นยนต์ โดยการเล่นก็จะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่จินตนาการของเด็ก ๆ บางครั้งอาจจะเป็นเรื่องราว เช่น สมมุติว่าตนเองเป็นหุ่นยนต์กู้โลก เข้ามาเพื่อกำจัดเหล่าร้าย ที่ทำให้โลกเกิดความปั่นป่วน

สมาคมกุมารแพทย์อเมริกัน (American Academy of Pediatrics หรือ AAP) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “imaginative play” หรือการเล่นที่ใช้จินตนาการว่า เป็นกิจกรรมที่มีความสนุกสนาน เป็นการเล่นที่เล่นโดยสมัครใจ มักจะไม่มีเป้าหมายในการเล่น นอกจากความสนุก ส่วนใหญ่แล้วการเล่นที่ใช้จินตนาการนั้น เป็นการเล่นที่จะเกิดขึ้นได้เองตามความสนใจของเด็ก ๆ

การเล่นเชิงจินตนาการ เป็นการเล่นที่แตกต่างจากการเล่น รูปแบบการเคลื่อนไหวทั่ว ๆ ไป การเล่นแบบการเคลื่อนไหวทั่ว ๆ ไปเช่น การวิ่งไล่จับ การปีนผาของเล่น  แต่การเล่นเชิงจินตนาการคือ การสร้างความเชื่อและจินตนาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กมีความสนใจ เขาสามารถที่จะได้เป็นอะไรก็ได้ในสิ่งที่อยากเป็น

นักจิตวิทยาอาจให้คำจำกัดความของ การเล่นเชิงจินตนาการว่าเป็นการแสดงเรื่องราวที่มีมุมมองที่หลากหลายและมีการจัดการกับความคิดและอารมณ์สนุกสนาน

การดูแลลูกขณะการเล่นบทบาทสมมติ

พ่อ แม่ เป็นผู้ที่จะช่วยให้ลูก ๆ มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ โดยคอยเป็นผู้ช่วยของเขาอย่างห่าง ๆ หากบางครั้งเขาต้องการเพื่อนก็เป็นเพื่อนให้เขาได้ ในการเล่นที่ใช้จินตนาการนั้นพ่อแม่สามารถช่วยส่งเสริมให้ลูกน้อยได้ด้วยการจัดพื้นที่ภายในบ้านให้พวกเขาได้มีพื้นที่ในการเล่น และควรระมัดระวังพื้นที่ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย

จริง ๆ แล้วเด็กไม่ได้ต้องการพื้นที่ในการเล่นที่ใช้จินตนาการอย่างมากมาย แค่มุมห้องเล็ก ๆ ก็ทำให้เขาสนุกสนานกับการจินตนาการได้แล้ว บางครั้งเพียงมุมห้องเล็ก ๆ ที่จัดไว้อย่างดี ก็ช่วยให้เขามีจินตนาการที่กว้างไกลได้ การซื้อของเล่นชิ้นใหม่ ๆ ไม่ใช่วิธีการส่งเสริมที่ดีนัก เพียงแค่กล่องลังที่พ่อแม่ประดิษฐ์ขึ้นมาให้ก็สนุกได้แล้ว ที่สำคัญพ่อแม่ควรให้ความสนใจเกี่ยวกับบทบาทสมมุติที่เขากำลังเล่น เพราะจะยิ่งช่วยให้เขามีพัฒนาการด้านจินตนาการที่มากขึ้น

ประโยชน์ของการเล่นบทบาทสมมติ

การเล่นที่มีการเปิดกว้างทางความคิด ได้คิดได้จินตนาการ และได้เล่นอย่างสร้างสรรค์ทั้งกับเพื่อนและผู้ปกครอง คือวิธีการที่เด็กจะได้เรียนรู้การเข้าสังคม การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ที่สำคัญยังช่วยสร้างความสมดุลเรื่องอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นอีกด้วย นอกจากนี้การเล่นที่ใช้จินตนาการยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกดังนี้

  • ลดความวิตกกังวล
  • พัฒนาทักษะการศึกษา
  • ลดพฤติกรรมก่อกวน
  • เพิ่มความสามารถทางอารมณ์
  • ได้แสดงความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง
  • ช่วยในการปรับปรุงสมาธิ

รู้แบบนี้แล้ว อย่าพยายามหยุดลูกที่จะเล่นตามจินตนาการของเขา แต่หากคุณมีเวลาว่างก็ควรร่วมเล่นไปกับเขาหากเขาต้องการ หรือคอยดูแลอยู่ห่าง ๆ ไม่ให้ลูกของคุณได้รับอันตรายจะดีกว่า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The benefits of imaginative play. https://therapyfocus.org.au/the-benefits-of-imaginative-play/

The Need for Pretend Play in Child Development. https://www.psychologytoday.com/us/blog/beautiful-minds/201203/the-need-pretend-play-in-child-development. Accessed April 28, 2022.

Selecting Appropriate Toys for Young Children in the Digital Era. https://publications.aap.org/pediatrics/article/143/1/e20183348/37330/Selecting-Appropriate-Toys-for-Young-Children-in. Accessed April 28, 2022.

The Power of Play: A Pediatric Role in Enhancing Development in Young Children. https://publications.aap.org/pediatrics/article/142/3/e20182058/38649/The-Power-of-Play-A-Pediatric-Role-in-Enhancing. Accessed April 28, 2022.

Tips for building a child’s imagination. https://www.firstfiveyears.org.au/early-learning/tips-for-building-a-childs-imagination. Accessed April 28, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/04/2022

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ และวิธีเสริมสร้างพัฒนาการตามวัย

ของเล่น ประโยชน์ต่อพัฒนาการและเทคนิคการเลือกให้ลูกน้อย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา