backup og meta

ของเล่น เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อลูกน้อย

ของเล่น เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อลูกน้อย

ของเล่น เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กในด้านสติปัญญา การใช้ภาษา ช่วยเสริมความแข็งแรงของร่างกาย ความสุขทางอารมณ์ และการเข้าสังคม ซึ่งพ่อแม่ควรเลือกของเล่นที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของเด็ก เพื่อป้องกันสารปนเปื้อนหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขณะเล่น รวมถึงควรเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น

ของเล่น มีประโยชน์อย่างไร

ของเล่น เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็ก เช่น สติปัญญา ร่างกาย สังคม อารมณ์ โดยการเล่นของเล่นยังอาจช่วยส่งเสริมจินตนาการ ความสนุก ฝึกให้เด็กได้ขยับร่างกาย เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อสัมผัส และได้พัฒนาการมองเห็นด้วยการมองสีสันบนของเล่น โดยพ่อแม่ควรเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ การเล่นของเล่นยังทำให้พ่อแม่ได้มีส่วนร่วมและใช้เวลากับเด็กมากขึ้น ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว

ความปลอดภัยของของเล่นเด็ก

ของเล่นบางประเภทที่ไม่ผ่านการรับรองความปลอดภัยจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) กำกับ อาจมีความเสี่ยงที่จะมีสารปนเปื้อนอย่างตะกั่วและแคดเมียม (Cadmium) ซึ่งเป็นโลหะหนักในระดับที่เป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ เช่น การพัฒนาทางสมองล่าช้า ไตและกระดูกเสียหาย โรคมะเร็ง

วิธีเลือกของเล่นสำหรับเด็ก

วิธีที่พ่อแม่จะเลือกของเล่นให้กับเด็กได้อย่างปลอดภัย อาจมีดังนี้

  • ตรวจสอบฉลาก ของเล่นที่ปลอดภัยและผ่านมาตรฐานจะมีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) กำกับอยู่ และบนฉลากจะบอกช่วงอายุของเด็กที่สามารถเล่นของเล่นชิ้นนั้น ๆ ได้
  • เลือกของเล่นให้เหมาะกับวัยของเด็ก สำหรับเด็กทารกต้องการการเล่นที่มีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ โดยเด็กทารกจะมีความสุขเมื่อได้มองเห็นใบหน้า ได้ยินเสียง หรือได้อยู่ใกล้กับพ่อแม่ จึงควรเลือกของเล่นที่มีสีสันสดใส มีเสียง หรือมีการสั่น เพื่อฝึกประสาทสัมผัสของเด็กทารก สำหรับเด็กวัยหัดเดินควรเลือกของเล่น เช่น ตัวต่อ เครื่องดนตรีง่าย ๆ ที่สามารถเขย่าได้ เพื่อฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สำหรับเด็กโตควรเลือกของเล่นที่ฝึกการแก้ปัญหาและใช้จินตนาการ เช่น เกมปริศนา เกมคิดเลข
  • เลือกของเล่นที่มีขนาดใหญ่ พ่อแม่ควรตรวจสอบว่าของเล่นมีชิ้นส่วนขนาดใหญ่กว่าปากของเด็กหรือไม่ เพื่อป้องกันเด็กกลืนของเล่นจนอาจทำให้เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • เลือกของเล่นที่มีความทนทาน ไม่ฉีกขาด หรือแตกหักง่าย รวมถึงลักษณะของของเล่นไม่ควรเป็นมุมแหลมที่อาจบาดผิวหนังของเด็ก หรืออาจทำให้เด็กบาดเจ็บได้
  • หลีกเลี่ยงของเล่นที่มีแรงดัน เช่น ปืนของเล่น เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณดวงตาอย่างรุนแรง หรือเด็กอาจกลืนลูกกระสุนของปืนของเล่นเข้าไปได้
  • หลีกเลี่ยงของเล่นที่มีเสียงดังมาก เพราะเสียงที่ดังเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อประสาทการรับเสียงของเด็ก
  • หลีกเลี่ยงของเล่นที่เป็นไฟฟ้าหรือเป็นเคมี เช่น ดินน้ำมัน รถบังคับ กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่มีความเข้าใจในการเล่น จึงอาจหยิบเข้าปาก หรือกระแสไฟฟ้าอาจเกิดการรั่วไหลจนเป็นอันตรายแก่เด็กได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Toy safety: Keep kids safe from toxins and injury during the holidays. https://www.mayoclinichealthsystem.org/hometown-health/speaking-of-health/toy-safety-keep-your-kids-safe. Accessed August 16, 2022

Are Toys and Gadgets Good for Your Baby?. https://www.webmd.com/parenting/baby/features/baby-toys#1. Accessed August 16, 2022

Choosing Safe Toys. https://kidshealth.org/en/parents/safe-toys.html. Accessed August 16, 2022

How to Buy Safe Toys. https://www.healthychildren.org/English/safety-prevention/at-home/Pages/How-to-Buy-Safe-Toys.aspx. Accessed August 16, 2022

Choosing toys for children. https://raisingchildren.net.au/babies/play-learning/getting-play-started/choosing-toys. Accessed August 16, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/09/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

การเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียน ได้อย่างไร

นิทาน กล่อม เด็ก ตัวช่วยในการพาเด็กเข้านอนและเสริมพัฒนาการเด็ก


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 25/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา