ยา เวอราปามิล (Verapamil) ใช้ร่วมกับยาอื่นหรือใช้เป็นยาชนิดเดียว เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูง (hypertension) การลดระดับความดันโลหิตจะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และปัญหาเกี่ยวกับไต ยาเวอราปามิลนั้นอยู่ในกลุ่มของยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium Channel Blocker) หรือยาปิดกั้นแคลเซียมซึ่งทำงานโดยคลายหลอดเลือดและทำให้เลือดไหลเวียนได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ ยาเวอราปามิลยังใช้เพื่อป้องกันอาการเจ็บหน้าอก ใช้เพื่อช่วยให้ออกกำลังกายได้ดีมากขึ้น และลดความถี่ในการเกิดอาการเจ็บหน้าอก ยานี้ยังใช้เพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจสำหรับผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ เช่น ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation) ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้รู้สึกสบาย และออกกำลังกายได้ดีขึ้น
การใช้งานในด้านอื่น
ยานี้ยังอาจใช้เพื่อรักษาโรคหัวใจประเภทอื่น เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ (Hypertrophic cardiomyopathy)
สามารถรับประทานยานี้ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงอาหาร วันละ 3 หรือ 4 ครั้ง หรือตามที่แพทย์กำหนด
ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์และการตอบสนองต่อการรักษา
ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน
สำหรับการรักษาโรคความดันโลหิตสูง อาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์กว่าจะได้รับผลจากยาเต็มที่ ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องแม้จะรู้สึกเป็นปกติดีแล้ว ผู้ที่มีภาวะควาดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะไม่รู้สึกเจ็บป่วยใดๆ
เพื่อป้องกันอาการเจ็บหน้าอก ควรใช้ยานี้เป็นประจำตามที่กำหนด ไม่ควรใช้ยานี้เพื่อรักษาอาการเจ็บหน้าอกเมื่อมีอาการ ควรใช้ยาอื่นเพื่อบรรเทาอาการกำเริบกะทันหันตามที่แพทย์กำหนด เช่น ยาไนโตรกลีเซอริน [nitroglycerin] ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อย่าหยุดใช้ยากะทันหันโดยไม่ปรึกษาแพทย์ อาการของคุณอาจจะแย่ลงหากหยุดใช้ยากะทันหัน ควรค่อยๆ ลดขนาดยา
แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง (เช่น ความดันโลหิตยังคงสูงอยู่ หรือเกิดอาการเจ็บหน้าอกบ่อยขึ้น)
ยา เวอราปามิล ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเวอราปามิลบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ไม่ควรทิ้งยาเวอราปามิลลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง
ระหว่างที่กำลังพิจารณาเลือกใช้ยา แพทย์จะพิจารณาความเสี่ยงของการใช้ยาต่อประโยชน์ของยาเสียก่อน สำหรับยานี้ควรพิจารณาดังต่อไปนี้
โรคภูมิแพ้
แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณเคยมีอาการที่ผิดปกติหรืออาการแพ้ต่อยานี้ นอกจากนี้ยังควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้อื่นๆ ที่คุณเป็น เช่น แพ้อาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์ สำหรับยาที่หาซื้อเองควรอ่านฉลากยาหรือส่วนประกอบของยาอย่างละเอียด
เด็ก
ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอายุต่อประสิทธิภาพของยาเวอราปามิลในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพในกลุ่มอายุนี้
ผู้สูงอายุ
ยังไม่มีงานวิจัยในปัจจุบันที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ ที่จะจำกัดประโยชน์ของยาเวอราปามิลในผู้สูงอายุ แต่ผู้ป่วยสูงอายุนั้น มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ตับ หรือไตที่เกี่ยวข้องกับอายุ ซึ่งอาจต้องการความระมัดระวัง และการปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาเวอราปามิล
ยังไม่มีงานวิจัยในผู้หญิงที่เพียงพอ ที่จะบ่งชี้ความเสี่ยงของการใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษากับแพทย์ เพื่อพิจารณาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา
รับการรักษาในทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ
ติดต่อแพทย์ในทันทีหากมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้
ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังนี้
ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือ
ยาเวอราปามิลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้กับยาดังต่อไปนี้ แพทย์อาจจะตัดสินใจไม่ใช้ยาในกลุ่มนี้เพื่อรักษาคุณ หรือเปลี่ยนยาบางตัวที่คุณกำลังใช้อยู่
โดยปกติแล้วไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้กับยาดังต่อไปนี้ แต่อาจจำเป็นในบางกรณี หากคุณได้รับใบสั่งยาทั้งคู่ร่วมกัน แพทย์อาจจะต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือความถี่ในการใช้ยาตัวหนึ่งหรือทั้งคู่
การใช้ยานี้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงบางอย่าง แต่การใช้ยาทั้งสองร่วมกันอาจเป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับคุณที่สุด หากคุณได้รับใบสั่งยาทั้งคู่ร่วมกัน แพทย์อาจจะต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือความถี่ในการใช้ยา ตัวหนึ่งหรือทั้งคู่
ยาเวอราปามิลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ยาเวอราปามิลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
รับประทาน: ผลการลดความดันของยาเวอราปามิลนั้นจะเห็นได้ชัดภายในสัปดาห์แรกของการรักษา
ยาเม็ดออกฤทธิ์ทันที Calan R®
ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน Calan SR R® หรือ Isoptin SR R®
ยาแคปซูลออกฤทธิ์นาน Verelan R®
ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน Covera HS R®
ยาแคปซูลออกฤทธิ์นาน Verelan PM R®
อายุน้อยกว่า 1 ปี
โดยปกติแล้วจะไม่แนะนำเนื่องจากความเสี่ยงในการเกิดโรคหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะหัวใจเต้นช้า (bradycardia) อาการความดันโลหิตต่ำ และอาการหัวใจหยุดเต้น ที่รุนแรง มีเตรียมแคลเซียมสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำให้พร้อมอยู่ข้างเตียง
อายุ 1 ถึง 15 ปี
ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที
อาการของการใช้ยาเกินขนาดมีดังต่อไปนี้
หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
หมายเหตุ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Verapamil. http://www.healthline.com/drugs/verapamil/oral-capsule#Highlights1. Accessed July 15, 2016.
Verapamil. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a684030.html. Accessed July 15, 2016.
Verapamil. https://www.drugs.com/verapamil.html. Accessed July 15, 2016.
เวอร์ชันปัจจุบัน
11/05/2020
เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล
ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ
อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean