backup og meta

ไทโอทีพา (Thiotepa)

ไทโอทีพา (Thiotepa)

ข้อบ่งใช้

ไทโอทีพา ใช้สำหรับ

ไทโอทีพา (Thiotepa)ใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง ไทโอทีพาทำหน้าที่ในการชะลอหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ส่วนใหญ่มักจะใช้โดยการฉีดเข้ากระเพาะปัสสาวะเพื่อรักษาโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ

ไทโอทีพายังสามารถใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อป้องกันการต่อต้านการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ (stem cell transplant) ได้อีกด้วย

วิธีการใช้ ไทโอทีพา

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้นที่เป็นผู้ฉีดไทโอทีพา โดยแพทย์จะฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำ ในบางครั้งอาจฉีดไทโอทีพาเข้าที่เนื้องอกโดยตรง

โปรดแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบในทันทีว่าคุณมีอาการปวด แสบร้อน หรือรอยแดงตรงบริเวณที่ฉีดยา

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มักจะใช้การรักษาโดยฉีดไทโอทีพาเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อสวน ก่อนได้รับการฉีดควรงดการดื่มน้ำเป็นเวลา 8 ถึง 12 ชั่วโมง และจะทำการทิ้งยาสารละลายไว้ 2 ชั่วโมง แล้วค่อยๆระบายออกผ่านทางท่อกระเพาะปัสสาวะ แพทย์อาจสั่งให้คุณเปลี่ยนท่าทางทุกๆ 15 นาทีขณะที่มียาสารละลายอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเพื่อให้แน่ใจว่ายานั้นรักษาทุกส่วนภายในกระเพาะปัสสาวะ

หากต้องการใช้ไทโอทีพาเพื่อป้องกันการต่อต้านการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ควรรับยานี้ 2 ครั้ง ห่างกันระยะเวลา 12 ชั่วโมง ในช่วงระหว่างการรักษาอาจเกิดปัญหาการแพ้ขึ้นที่ผิวหนัง เพื่อลดความเสี่ยง ควรอาบน้ำและเปลี่ยนผ้าพันแผลอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง จนครบ 48 ชั่วโมง

ปริมาณในการให้ไทโอทีพาขึ้นอยู่กับทางการแพทย์และการตอบสนองต่อการรักษา แพทย์จะทำการตรวจนับความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count) เพื่อหาปริมาณยาที่เหมาะสม อาจมีการเพิ่มปริมาณของยาและจำเป็นต้องจัดตารางการให้ไทโอทีพาในครั้งถัดไป หากระดับของเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ

การเก็บรักษา ไทโอทีพา

  • เก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิระหว่าง 2° ถึง 8° เซลเซียส (36° ถึง 46° ฟาเรนไฮต์)
  • เก็บให้พ้นจากแสงแดดจัด
  • เมื่อผสมยาโดยใช้น้ำกลั่นสำหรับฉีดยาแล้ว ควรเก็บไทโอทีพาไว้ในตู้เย็นและใช้งานภายใน 8 ชั่วโมง ยาสารละลายที่ละลายเพิ่มเติมลงในสารโซเดียมคลอไรด์สำหรับฉีดนั้นควรใช้ทันที
  • เก็บให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้งยาไทโอทีพาลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ สามารถสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้ เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ไทโอทีพาบางยี่ห้ออาจเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอ เพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ไทโอทีพา

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ไทโอทีพา มีดังนี้

  • แจ้งรายละเอียดถึงโรคประจำตัวหรือข้อมูลสุขภาพร่างกายอย่างละเอียด ให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทราบก่อนการได้รับการรักษา เพื่อป้องการอาการแพ้ยานี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับมวลกระดูก (เช่น ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือดต่ำจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีบำบัดครั้งก่อน) โรคไต โรคตับ
  • ไทโอทีพาสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อมากขึ้น หรือทำให้อาการติดเชื้อที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้มีอาการติดเชื้อที่สามารถแพร่สู่ผู้อื่นได้ (เช่น โรคอีสุกอีใส โรคหัด หรือโรคไข้หวัดใหญ่)
  • งดการฉีดวัคซีนต่างๆ หากมีความจำเป็นที่ต้องรับวัคซีนควรปรึกษาหรือได้รับการอนุญาตจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน
  • เพื่อลดโอกาสในการเกิดรอยช้ำ หรือการบาดเจ็บ ควรระมัดระวังในการใช้ของมีคมเช่นมีดโกนและกรรไกรตัดเล็บ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมเช่นกีฬาที่ต้องการการปะทะ
  • ก่อนการผ่าตัด แจ้งรายละเอียดให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งยาของทางการแพทย์ ยาที่ผ่านการจำหน่ายโดยเภสัชกร และสมุนไพรต่างๆ
  • ไทโอทีพาอาจเป็นอันตรายต่อสตรีตั้งครรภ์ ส่งผลอันตรายให้กับทารกในครรภ์

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ไทโอทีพาในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยานี้

ไทโอทีพาจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท D โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ ไทโอทีพา

หลังจากได้รับ ไทโอทีพา เข้าสู่ร่างกาย มักจะเกิดผลข้างเคียงเหล่านี้ตามมา คือ

  • อาจเกิดอาการปวดหรือรอยแดงตรงบริเวณที่ฉีดยา
  • วิงเวียนศรีษะ หายใจติดขัด
  • มองเห็นไม่ชัด
  • ไข้ขึ้น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือเบื่ออาหาร เกิดการเปลี่ยนแปลงในการรับประทานอาหาร เช่น การรับประทานอาหารได้น้อยลง ในบางกรณีอาจต้องใช้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน หากอาการเหล่านี้รุนแรงขึ้น โปรดแจ้งแพทย์ผู้เชียวชาญให้ทราบทันที
  • มีอาการผมร่วงชั่วคราวเป็นผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป ผมจะกลับมายาวตามปกติหลังจากเสร็จสิ้นการรักษา
  • มีแผลและอาการเจ็บที่บริเวณริมฝีปาก ภายในปาก และลำคอได้ งดอาหารและเครื่องดื่มที่ร้อน แปรงฟันด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และบ้วนปากบ่อยๆ ด้วยน้ำเย็น
  • อุจจาระเป็นสีเลือด สีดำ หรือคล้ายยางมะตอย ไอเป็นเลือด มีเลือดกำเดาไหลบ่อยหรือเลือดหยุดไหลยาก ปัสสาวะเป็นสีชมพูคล้ายเลือดปนหรือสีคล้ำ
  • หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ ผิวซีด เป็นสีเทา อาเจียนเป็นเลือดหรือดูเหมือนกากกาแฟ

อาการแพ้ยาที่รุนแรงค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก ไม่ใช่ทุกคนที่จะพบกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นหรือหากมีอาการที่รุนแรง โปรดเข้าขอคำปรึกษาและควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ไทโอทีพาอาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นได้ เช่น ยาแอสไพรินและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ และยาที่อาจจะเป็นอันตรายต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น การทำเคมีบำบัด (chemotherapy) หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) อย่างเพรดนิโซน (prednisone) การปฏิกิริยากับวัคซีนส่วนใหญ่เป็น วัคซีนโปลิโอแบบรับประทาน หรือวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบพ่นจมูก กรดนาลิดิซิก (nalidixic acid) ส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการเลือดออกได้ ควรใช้ยาแอสไพรินปริมาณที่ต่ำ เพื่อป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดสมองต่อไป (โดยทั่วไปจะอยู่ที่ขนาด 81 ถึง 325 มก. ต่อวัน)

โปรดขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมและปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด และไม่ควรเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ไทโอทีพาอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์ก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ไทโอทีพาอาจส่งผลให้อาการสุขภาพอ่อนแรงลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบถึงสภาวะร่างกายก่อนได้รับการรักษาด้วยไทโอทีพาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไทโอทีพาสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

  • 0.3 ถึง 0.4 มก./กก. ฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer)

  • 0.3 ถึง 0.4 มก./กก. ฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคมะเร็งช่องโพรงเยื่อหุ้มอวัยวะ (Serosal Cavity Neoplastic Disease)

  • 0.6 ถึง 0.8 มก./กก. ฉีดเข้าสู่ภายในช่องโพรงเยื่อหุ้มอวัยวะ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer)

  • 30 ถึง 60 มก. ฉีดเข้าภายในกระเพาะปัสสาวะและแช่ทิ้งไว้ สำหรับการรักษาเนื้องอกที่กระเพาะปัสสาวะระดับตื้น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)

  • 500 ถึง 1000 มก. ฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำ สำหรับการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคมะเร็ง (Malignant Disease)

  • 0.3 ถึง 0.4 มก./กก. ฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำ
  • 0.6 ถึง 0.8 มก./กก. ฉีดเข้าสู่ภายในช่องโพรง
  • 0.6 ถึง 0.8 มก./กก. ฉีดเข้าที่เนื้องอกโดยตรง
  • 30 ถึง 60 มก. ฉีดเข้าภายในกระเพาะปัสสาวะหนึ่งครั้ง
  • 10 ถึง 15 มก. ฉีดเข้าช่องไขสันหลังหนึ่งครั้ง
  • 500 ถึง 1000 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหนึ่งครั้ง

การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคไต

ไทโอทีพาไม่เหมาะสำหรับการรักษาในกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคไต แแต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการฉีดไทโอทีพา อาจสามารถใช้ในขนาดต่ำควบคู่ไปกับการทดสอบอย่างเหมาะสม

การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคตับ

ไทโอทีพาไม่เหมาะสำหรับการรักษาในกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการฉีดไทโอทีพา อาจสามารถใช้ในขนาดต่ำควบคู่ไปกับการทดสอบอย่างเหมาะสม

การปรับขนาดยา

สำหรับผู้ที่ได้รับยาโดยการฉีดยาเข้าสู่หลอดเลือดดำควรหยุดใช้ยาในช่วงที่จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3000/ลูกบาศก์เมตร หรือจำนวนเกล็ดเลือดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 150,000/ลูกบาศก์เมตร

ข้อควรระวัง

ไทโอทีพาไม่เหมาะสำหรับการรักษาในกรณีผู้ป่วยที่มีมวลกระดูกเสียหาย แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการฉีดไทโอทีพา อาจสามารถใช้ในขนาดต่ำควบคู่ไปกับการทดสอบอย่างเหมาะสม

คำแนะนำอื่นๆ

  • ปริมาณของยาจะคำนวณตามน้ำหนักตัวของผู้ที่เข้ารับการรักษา
  • ปริมาณของยาจะแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับข้อบ่งใช้เฉพาะ และยาที่เป็นพิษต่อเซลล์อื่นๆที่อาจใช้ร่วมกัน
  • ไทโอทีพาสามารถฉีดเข้าที่เนื้องอกโดยตรง สามารถผสมกับโปรเคน (procaine) 2% หรือเอพิเนฟรีน (epinephrine ) 0.1% เพื่อลดอาการปวดได้
  • การรักษาช่วงแรก ควรได้รับการเว้นระยะเวลาในการรักษาให้พอดี โดยทั่วไปแล้วก็จะเว้นช่วง 1 ถึง 4 สัปดาห์ ไม่ควรจะได้รับการฉีดไทโอทีพาถี่เกินกว่าสัปดาห์ละครั้ง เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย ปริมาณของยา และจำนวนเม็ดเลือด

ขนาดยาไทโอทีพาสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคมะเร็ง (Malignant Disease)

โรคมะเร็งซาร์โคมา (Sarcoma) 25 ถึง 65 มก./ตารางเมตร ฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำหนึ่งครั้ง ทุกๆ 3 ถึง 4 สัปดาห์

การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์โดยใช้เซลล์ของตนเอง (Autologous bone marrow transplantation) 300 มก./ตารางเมตร ฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำนานกว่า 3 ชั่วโมง และฉีดซ้ำทุกๆ 24 ชั่วโมงเป็นจำนวน 3 ครั้ง ปริมาณที่ร่างกายของเด็กรับได้สูงสุดคือ 1,125 มก./ตารางเมตร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาผงสำหรับฉีด

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย หรืออาจสอบถามแพทย์เพิ่มเติม ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเองโดยที่ไม่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Thiotepa Dosage. https://www.drugs.com/dosage/thiotepa.html. Accessed November 25, 2019.

Thiotepa Vial. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-16346/thiotepa-injection/details. Accessed November 25, 2019.

THIOTEPA https://www.rxlist.com/thiotepa-drug.htm#description . Accessed November 25, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

สูตรแซนวิชสลัดกุ้ง

สัญญาณมะเร็งปากมดลูก สาว ๆ อย่าลืมสังเกตตัวเองก่อนสาย


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา