backup og meta

โอกาสและทางเลือกในการตั้งครรภ์สำหรับ ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งรังไข่

โอกาสและทางเลือกในการตั้งครรภ์สำหรับ ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งรังไข่

ผู้หญิงที่ประสบปัญหามะเร็งรังไข่ และได้เข้ารับการรักษา มะเร็งรังไข่ มาแล้ว ปัญหาเหล่านี้ อาจสามารถส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และการมีบุตรได้ในอนาคต แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีวิธีที่วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ วิธีที่จะช่วยให้ ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งรังไข่ จะช่วยให้ผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่นั้นมีโอกาสในการมีลูกได้ไม่แพ้ผู้หญิงคนอื่น ๆ ทั่วไปได้เช่นเดียวกัน มาฝากให้ทุกคนได้ลองอ่าน และทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันค่ะ

ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งรังไข่ ส่งผลต่อ ภาวะเจริญพันธุ์ อย่างไร

ผู้หญิงที่ประสบกับภาวะมีบุตรยาก หมายถึงผู้หญิงที่ไม่สามารถตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติ โดยไม่มีการช่วยเหลือทางการแพทย์ หรือผู้ที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งรังไข่ใดๆ ดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัดรังไข่ทั้งสองข้าง
  • เคมีบำบัด ซึ่งทำให้ประจำเดือนหยุด และส่งผลต่อการทำงานของรังไข่
  • การฉายรังสี ซึ่งส่งผลต่อความสามารถของรังไข่ ในการสร้างไข่ที่โตเต็มวัย

ก่อนรักษา มะเร็งรังไข่ ควรทำอย่างไรจึงจะรักษา ภาวะเจริญพันธุ์ ได้

ผู้หญิงที่ตัดสินใจเข้ารักษามะเร็งรังไข่ สามารถเลือกวิธีเพื่อรักษาภาวะเจริญพันธุ์เอาไว้ได้ ดังนี้

  • แช่แข็งตัวอ่อน
  • แช่แข็งไข่ เป็นการเก็บเซลล์ไข่เอาไว้ด้วยการแช่แข็ง
  • ใช้วิธีการป้องกันรังสี เป็นวิธีที่ทำให้รังไข่ได้รับปริมาณรังสีลดลง ด้วยการนำโล่ตะกั่วขนาดเล็กมาวางเอาไว้เหนือรังไข่
  • ย้ายรังไข่ (oophoropexy) โดยวิธีการนี้รังไข่จะถูกจัดตำแหน่งใหม่ เพื่อให้รังไข่หลีกเลี่ยงจากรังสีที่ถูกฉายลงมายังบริเวณอุ้งเชิงกราน แต่หลังจากนั้นก็ต้องเปลี่ยนตำแหน่งรังไข่อีกครั้ง เพื่อจะได้สามารถตั้งครรภ์ได้
  • ผ่าตัดเอาปากมดลูกออก ซึ่งวิธีการนี้จะใช้ในการรักษามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น โดยมีการผ่าตัดส่วนที่เป็นทรงกรวยขนาดใหญ่ของปากมดลูก รวมถึงบริเวณที่เป็นมะเร็งออก สำหรับส่วนที่เหลือของปากมดลูกและมดลูก จะถูกเก็บรักษาเอาไว้

ดังนั้น ผู้หญิงที่ยังเหลือรังไข่หนึ่งข้าง อาจสามารถตั้งครรภ์ได้ ส่วนผู้หญิงที่ไม่มีรังไข่อาจตกอยู่ในภาวะมีบุตรยาก แต่สามารถเลือกวิธีการดังต่อไปนี้ เพื่อให้ตั้งครรภ์ได้

ทางเลือกการรักษา ภาวะมีบุตรยาก

  • การปฏิสนธิภายนอกร่างกายจากไข่ของผู้บริจาค (In vitro fertilization with a donor egg: IVF)

กระบวนการนี้ เป็นการนำไข่จากผู้บริจาคมา ปฏิสนธิกับอสุจิจากสามีของผู้รับบริจาค แล้วจึงฝังไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิในมดลูก โดยมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ถึงร้อยละ 40 ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ คุณภาพของไข่ของผู้บริจาค อสุจิ และสุขภาพของมดลูก แต่วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

  • การตั้งครรภ์แทน หรือการอุ้มบุญ

คือการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน โดยสามารถเลือกวิธีนี้ หากมดลูกถูกผ่าตัดออกไป หรือมีสุขภาพไม่ดีหรือมีประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่อาจทำให้การตั้งครรภ์มีความเสี่ยง หญิงผู้ตั้งครรภ์แทนสามารถใช้ไข่ของผู้บริจาคคนอื่น หรือไข่ของตนเองก็ได้ โดยอาศัยการผสมเทียม อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์แทนเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก

  • การรับบุตรบุญธรรม

หากคุณตั้งใจจะเลือกวิธีนี้ ให้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กอย่างถี่ถ้วน ก่อนรับเป็นบุตรบุญธรรม มีแหล่งข้อมูลเปิดเผยว่า ตัวแทนบางแห่ง หรือในบางประเทศ กำหนดให้ผู้ประสงค์รับบุตรบุญธรรม ต้องเป็นผู้ที่หายขาดจากมะเร็งมาระยะหนึ่งแล้ว จึงจะสามารถมีสิทธิ์รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้

  • การแช่แข็งตัวอ่อน

เป็นวิธีที่ได้ผลมากที่สุดในการรักษาภาวะเจริญพันธุ์สำหรับผู้หญิง ด้วยวิธีนี้ ไข่จะได้รับการปฏิสนธิจากอสุจิในห้องปฏิบัติการ แล้วนำไปแช่แข็ง จนกว่าผู้หญิงจะมีความพร้อมที่จะตั้งครรภ์ได้

การเป็น มะเร็งรังไข่ ทำให้ ภาวะเจริญพันธุ์ หรือโอกาสในการมีบุตรลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม หากคุณมีต้องการในการมีบุตรหลังการรักษาโรค มะเร็งรังไข่ อาจจำเป็นต้องทำความเข้าใจทางเลือกต่างๆ และประเมินทางเลือกอย่างถี่ถ้วน ร่วมกับนักวิทยาที่เชี่ยวชาญทางต่อมไร้ท่อด้านการสืบพันธุ์ เพราะการปรึกษากับผู้มีประสบการณ์ก่อนนั้น คุณจะสามารถรับคำแนะนำ และการรับมือกับภาวะต่างๆ ที่ส่งผลต่อ ภาวะเจริญพันธุ์ ได้เป็นอย่างดี โดยไม่ส่งผลอันตรายใด ๆ ต่อตัวคุณและลูกรักในครรภ์ของคุณ

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Fertility Concerns and Preservation for Women. http://www.cancer.net/navigating-cancer-care/dating-sex-and-reproduction/fertility-concerns-and-preservation-women. Accessed August 20, 2017.

Fertility Preservation: Options for Women Who Are Starting Cancer Treatment. https://www.mskcc.org/cancer-care/patient-education/fertility-preservation-women-starting-treatment. Accessed September 23, 2019.

Fertility preservation: Understand your options before cancer treatment. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility-preservation/art-20047512. Accessed September 23, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/09/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและการนอนหลับ กับวิธีธรรมชาติที่ช่วยให้หลับง่าย

โรคมะเร็งรังไข่ อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 25/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา