backup og meta

คาโมมายล์ (Chamomile)

คาโมมายล์ (Chamomile)
คาโมมายล์ (Chamomile)

คาโมมายล์ (Chamomile) เป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างปลอดภัย และนิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

ข้อบ่งใช้

คาโมมายล์ ใช้สำหรับ

คาโมมายล์ (Chamomile) เป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างปลอดภัย และนิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก เช่น ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยากล่อมประสาทอ่อนๆ งานวิจัยบางชิ้นระบุว่า การใช้คาโมมายล์ร่วมกับพืชอื่นๆ อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่อาจยังระบุไม่ได้แน่ชัดว่า ประโยชน์ที่ได้รับนั้นมาจากพืชชนิดใดกันแน่ หรือพืชชนิดใดให้ประโยชน์ด้านใดมากกว่ากัน

จากการวิจัย ผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่มีส่วนประกอบของคาโมมายล์และยาสมุนไพรอื่นๆ สามารถบรรเทาอาการท้องไส้ปั่นป่วน แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ และอาเจียนได้ ส่วนอีกผลิตภัณฑ์ที่มีคาโมมายล์เป็นส่วนประกอบ อาจช่วยบรรเทาอาการโคลิกในเด็ก (Colicky Babies) ได้

การบ้วนปากด้วยชาคาโมมายล์อาจช่วยบรรเทาอาการแผลในปากที่เกิดจากการรักษาโรคมะเร็ง นอกจากนี้ นักวิจัยบางรายยังชี้ว่า คาโมมายล์สามารถช่วยรักษาภาวะและโรคอื่นๆ ได้ด้วย เช่น อาการท้องร่วงในเด็ก โรคริดสีดวงทวาร โรควิตกกังวล และอาการนอนไม่หลับ เมื่อใช้คาโมมายล์กับผิวอาจช่วยรักษาอาการระคายเคืองที่ผิวหนังและช่วยฟื้นฟูบาดแผล นักวิจัยบางรายมีหลักฐานว่า คาโมมายล์อาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาครีมไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) ที่ใช้รักษาโรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema)

การทำงานของคาโมมายล์

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับการทำงานของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ทำจากคาโมมายล์ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยบางฉบับที่แสดงให้เห็นว่าหนึ่งในส่วนประกอบของสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ที่พบในคาโมมายล์ อย่างอะพิจีนีน (Apigenin) มีคุณสมบัติในการกล่อมประสาท โดยมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ฟลาโวนอยด์สองชนิดที่พบในคาโมมายล์ ได้แก่ กลูโคไซด์ (Glucoside) และชามาเมโลไซด์ (Chamaemeloside) นั้นทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ คาโมมายล์

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากคาโมมายล์ หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

ควรเก็บคาโมมายล์ไว้ในที่เย็นและแห้ง ให้พ้นจากความร้อนและความชื้น

ควรหลีกเลี่ยงการใช้คาโมมายล์ร่วมกับยากล่อมประสาทอื่นๆ หรือแอลกออฮอล์ เพราะอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ได้

คาโมมายล์มีส่วนประกอบของคูมาริน (Coumarin) ในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งอาจส่งผลให้เลือดเจือจางในระดับเบามาก โปรดหยุดใช้คาโมมายล์เป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปฏิกิริยากับยาสลบได้

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารเสริมคาโมมายล์ ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรใช้คาโมมายล์อย่างระมัดระวัง งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า คาโมมายล์สามารถเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์และอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาความเชื่อมโยง

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้คาโมมายล์

คาโมมายล์ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ดังนี้

  • อาการแสบร้อนบนใบหน้าหรือดวงตา
  • อาการง่วงซึม และอาการอาเจียน – หากใช้ในขนาดสูง
  • ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity)

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

คาโมมายล์อาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณกำลังใช้ยาเหล่านี้

  • ยาคุมกำเนิด หรือยาเอสโตรเจน (Estrogen) – การใช้คาโมมายล์สายพันธุ์เยอรมันร่วมกับอาจลดประสิทธิภาพของยาได้
  • ยาบางชนิดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงผ่านตับ – คาโมมายล์อาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงได้
  • ยากล่อมประสาท – คาโมมายล์อาจทำให้ยาออกฤทธิ์มากขึ้น
  • ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) – การใช้คาโมมายล์สายพันธุ์เยอรมันอาจชะลอการสร้างลิ่มเลือดมากเกินไป และอาจทำให้เกิดรอยช้ำและเลือดออกได้

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาคาโมมายล์

ปริมาณในการใช้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้คาโมมายล์ในรูปแบบอาหารเสริมอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษาเรื่องปริมาณที่เหมาะสม และวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัยจากแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ

รูปแบบของคาโมมายล์

คาโมมายล์อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • ยาแคปซูล
  • ยาครีม
  • ยาน้ำสารสกัด
  • ยาโลชั่น
  • ยาสระผมและครีมนวดผม
  • ชา
  • อาหารเสริม
  • ผงดอกคาโมมายล์
  • เครื่องสำอางและเวชสำอาง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Skidmore-Roth, Linda. Mosby’s Handbook Of Herbs & Natural Supplements. St. Louis, MO: Mosby, 2001. Print version. Page 158.

Vitamins and Supplements Lifestyle Guide. http://www.webmd.com/vitamins-and-supplements/lifestyle-guide-11/supplement-guide-chamomile. Assessed August 6, 2016.

Chamomile. http://www.drugs.com/cdi/chamomile.html. Assessed August 6, 2016.

German chamomile. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-951-german%20chamomile.aspx?activeingredientid=951&activeingredientname=german%20chamomile. Assessed August 6, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของชากุหลาบ และวิธีการทำ

อาหารเสริมเพื่อสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยคุณต่อสู้กับโรคหัวใจได้


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา