backup og meta

หญ้าแพะหงี่ (Horny Goat Weed)

หญ้าแพะหงี่ (Horny Goat Weed)

การใช้ประโยชน์ หญ้าแพะหงี่

หญ้าแพะหงี่ ใช้ทำอะไร

หญ้าแพะหงี่เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ส่วนใบจะถูกนำมาใช้ทำยา ใช้เพื่อรักษาอาการหลังไม่แข็งแรง ปวดข้อ โรคข้อเสื่อม อาการเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและสมอง การสูญเสียความทรงจำ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดลมอักเสบ โรคตับ โรคเอดส์ โปลิโอ ความผิดปกติในเลือดที่เรียกว่าภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำเรื้อรัง หัวใจติดเชื้อไวรัส การสูญเสียมวลกระดูกในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน กระดูกเปราะ และการใช้เป็น ยาบำรุง

ผู้ใช้ผู้ชายบางรายใช้หญ้าแพะหงี่ ช่วยในด้านสมรรถภาพทางเพศ ได้แก่ การไม่แข็งตัว การหลั่งเร็ว และมันก็ถูกใช้กระตุ้นความต้องการทางเพศ

การทำงานของหญ้าแพะหงี่เป็นอย่างไร

ยังมีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสมุนไพรชนิดนี้ ว่ามีการทำงานอย่างไร ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือขอคำแนะนำจากแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าหญ้าแพะหงี่ มีสารเคมีที่ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ และยังมีไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) สารเคมีที่ทำงานเหมือนฮอร์โมนเพศหญิง ที่ช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูกในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้หญ้าแพะหงี่

ควรปรึกษากับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้า:

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาอื่นร่วมอยู่ รวมถึงยาที่กำลังใช้ที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • มีอาการภูมิแพ้สารใด ๆ ในหญ้าแพะหงี่ หรือยาอื่น ๆ หรือสมุนไพรอื่น ๆ
  • มีโรค ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีย้อมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มาก เพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

หญ้าแพะหงี่นั้นมีความปลอดภัยแค่ไหน

สารสกัดจากหญ้าแพะหงี่ อาจน่าจะปลอดภัยในการใช้รับประทานอย่างเหมาะสม สารสกัดจากหญ้าแพะหงี่ บางอย่างมีสารไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) สามารถใช้รับประทานได้ถึง 2 ปี นอกจากนั้น สารสกัดจากหญ้าแพะหงี่ ที่มีสารในกลุ่ม icariin สามารถใช้รับประทานได้ถึง 6 เดือน

อย่างไรก็ตามหญ้าแพะหงี่บางชนิด ก็อาจไม่ปลอดภัยหากใช้ในปริมาณมากเป็นเวลานาน

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

สำหรับผู้ตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร: การใช้หญ้าแพะหงี่ อาจไม่ปลอดภัยหากท่านกำลังตั้งครรภ์ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ โปรดหลีกเลี่ยงการใช้ และในส่วนของข้อมูลการใช้งานสำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการให้นมบุตรนั้นพบว่ายังมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ จึงควรคำนึงถึงความปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการนำมาใช้

ภาวะเลือดออกผิดปกติ : หญ้าแพะหงี่ทำให้การเป็นลิ่มเลือดช้าลง และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการตกเลือด อย่างไรก็ตาม ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเป็นเรื่องร้ายแรงหรือไม่ ในทางทฤษฎี การรับประทาน Horny Goat Weed อาจทำให้ อาการภาวะเลือด ออกผิดปกติแย่ลง

โรคมะเร็งที่ไวต่อการทำงานของฮอร์โมน: หญ้าแพะหงี่ทำงานแบบเดียวกันกับฮอร์โมนเพศหญิง และสามารถไปเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศหญิงในผู้ใช้เพศหญิงบางราย หญ้าแพะหงี่อาจทำให้โรคที่ไวต่อฮอร์โมนเพศหญิงอย่างมะเร็งเต้านม และมะเร็งมดลูกแย่ลง

ความดันโลหิตต่ำ: หญ้าแพะหงี่อาจทำให้ความดันเลือดต่ำ ในผู้ที่มีระดับความดันต่ำอยู่แล้ว หากใช้ หญ้าแพะหงี่อาจทำให้ความดันต่ำเกินไป เพิ่มความเสี่ยงในอาการหน้ามืด

การผ่าตัด: หญ้าแพะหงี่ทำให้เลือดเป็นลิ่มช้าลง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการตกเลือดระหว่างการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้หญ้าแพะหงี่มีอะไรบ้าง

การใช้หญ้าแพะหงี่ในรูปแบบอื่นๆ เป็นเวลานานๆ นั้น อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน อาเจียน ริมฝีปากแห้ง กระหายน้ำ และมีเลือดกำเดาไหลได้ การบริโภคหญ้าแพะหงี่ในปริมาณมาก อาจทำให้กล้ามเนื้อกระตุก และเกิดปัญหาการหายใจรุนแรงได้

ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากกังวลเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับหญ้าแพะหงี่มีอะไรบ้าง

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรชนิดนี้อาจมีผลต่อยาหรือพยาธิสภาพในปัจจุบัน ควรปรึกษาหมอผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้งาน

ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีปฏิกิริยากับหญ้าแพะหงี่ ได้แก่:

  • ยารักษาความดันสูง

หญ้าแพะหงี่มีฤทธิ์ในการช่วยลดความดัน การใช้หญ้าแพะหงี่ร่วมกับยารักษาอาการความดันสูง อาจทำให้เป็นการลดความดันมากเกินไป

ตัวยารักษาอาการความดันสูงบางชนิดได้แก่ captopril (เช่น Capoten), enalapril (เช่น Vasotec), losartan (เช่น Cozaar), valsartan (เช่น Diovan), diltiazem (เช่น Cardizem), Amlodipine (เช่น Norvasc), hydrochlorothiazide (เช่น HydroDiuril), furosemide (เช่น Lasix) และอื่นๆอีกมาก

  • ยาต้านเกล็ดเลือด

หญ้าแพะหงี่อาจทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง การรับประทานหญ้าแพะหงี่ร่วมกับ ยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลงนั้น อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการช้ำ และเลือดออก

ตัวยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลงได้แก่ aspirin, clopidogrel (เช่น Plavix), diclofenac (เช่น Voltaren, Cataflam และอื่นๆ), ibuprofen (Advil, Motrin และอื่นๆ), naproxen (Anaprox, Naprosyn และอื่นๆ), dalteparin (Fragmin), enoxaparin (เช่น Lovenox), heparin, warfarin (เช่น Coumadin) และอื่นๆ

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ปกติแล้วควรใช้หญ้าแพะหงี่ในปริมาณเท่าใด

ปริมาณการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษา เพื่อขอคำแนะนำสำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสม

สมุนไพรดังกล่าวอยู่ในรูปแบบใด

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • สารสกัดจากหญ้าแพะหงี่ชนิดแคปซูล
  • สารสกัดหญ้าแพะหงี่ แบบออร์แกนิกชนิดผง
  • เครื่องดื่มหญ้าแพะหงี่ ผสมกับ lewtress kombucha

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Horny goat weed. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-699-horny%20goat%20weed.aspx?activeingredientid=699&. Accessed July 21, 2017

Horny goat weed: Uses, benefits, side effects. http://www.medicalnewstoday.com/articles/317023.php. Accessed July 21, 2017

The Health Benefits of Horny Goat Weed. https://www.verywellhealth.com/the-benefits-of-horny-goat-weed-89463. Accessed July 21, 2017

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เสื่อมสมรรถภาพเพศชาย สาเหตุ การรักษา และการป้องกันที่ช่วยคุณได้

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เทสโทสเตอโรนช่วยคุณได้หรือเปล่า?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา