backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ

1

ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

องุ่น (Grape)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 24/04/2020

องุ่น (Grape)

สรรพคุณของ องุ่น

องุ่น มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

องุ่น (Grape) เป็นผลไม้ที่นิยมใช้นำมาแปรรูปอาหารให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ โดยองุ่นจะให้ผลลัพธ์ที่หลากหลายขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกส่วนใดมาใช้

  • เมล็ดองุ่น: สำหรับภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวาน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทและปัญหาสายตา,ช่วยสมานแผล,ป้องกันฟันผุ,ป้องกันมะเร็ง, โรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ(AMD),อาการมองเห็นไม่ชัดเวลากลางคืน, ความผิดปกติที่ตับ และไข้ละอองฟาง
  • องุ่นตากแห้ง, ลูกเกด, ลูกเกดขาว: ใช้แก้อาการไอ
  • ใบองุ่น:ใช้สำหรับ โรคสมาธิสั้น(ADHD), อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (CFS), อาการท้องเสีย, ภาวะมีประเลือดประจำเดือนออกมากผิดปกติ, ภาวะมีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก และแผลร้อนใน.
  • ผลองุ่น: ใช้สำหรับป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด, เส้นเลือดขอด, ริดสีดวงทวาร, โรคหลอดเลือดแดงแข็ง , ความดันโลหิตสูง,อาการบวมหลังผ่าตัด, โรคหัวใจ, และโรคหลอดเลือดสมอง

กลไกการออกฤทธิ์

ยังไม่มีงานวิจัยเพียงพอเกี่ยวกับการทำงานขององุ่น โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชิ้นได้แสดงให้เห็นว่า องุ่นประกอบไปด้วยสารประเภทฟลาโวนอยด์ซึ่งมีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ, ลดระดับไขมัน, คลายเส้นเลือด, และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยสารต้านอนุมูลอิสระในองุ่นจะช่วยป้องกันโรคหัวใจและให้สรรพคุณที่เป็นคุณประโยชน์อื่นๆ นอกจากนี้ พันธุ์องุ่นแดงยังมีสารอนุมูลอิสระมากกว่าองุ่นพันธุ์สีขาวอีกด้วย

ใบองุ่น อาจลดการอักเสบ และมีฤทธิ์สมานแผล หรือกล่าวได้ว่า  ใบองุ่นนั้นน่าจะสามารถดึงเนื้อเยื่อให้สมานเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถช่วยหยุดเลือดและรักษาโรคอุจจาระร่วง คุณสมบัติเหล่านี้ดูเหมือนจะพบได้มากที่สุดในใบองุ่นแดง

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนรับประทานองุ่น:

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารองุ่น ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อบังคับในการรับประทานองุ่นนั้น มีเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับในการใช้ยา ยังต้องการงานวิจัยอีกมากเพื่อบ่งชี้ความปลอดภัย ประโยชน์ของอาหารเสริมนี้จะต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนที่จะใช้งาน โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยของ องุ่น

องุ่นอาจจะปลอดภัยเมื่อใช้รับประทานในปริมาณที่เป็นใช้ยา มีการศึกษาพบว่าสารสกัดจากเมล็ดองุ่นใช้ใด้อย่างปลอดภัยเป็นระยะเวลาถึง14สัปดาห์

ข้อควรระวังและคำเตือน

  • ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับการรับประทานองุ่นในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรเลี่ยงการใช้เพื่อความปลอดภัย
  • ภาวะเลือดออก: องุ่นอาจทำให้เกล็ดเลือดรวมตัวกันช้า การรับประทานองุ่นอาจเพิ่มโอกาสการเกิดอาการฟกช้ำและภาวะเลือดออกได้ในผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการเกิดผลข้างเคียงนี้
  • การผ่าตัด: เนื่องจากองุ่น ทำให้การแข็งตัวของเลือดช้าลงจึงอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกมากผิดปกติในช่วงระหว่างทำการผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด ไม่ควรรับประทานองุ่นในปริมาณที่ให้ผลทางยาอย่างน้อย2สัปดาห์ก่อนผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการรับประทานองุ่น

การรับประทานองุ่นหรือผลิตภันฑ์จากองุ่นในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้ ทั้งนี้ บางรายอาจเกิดปฏิกิริยาการแพ้องุ่นและผลิตภันฑ์จากองุ่นได้ บางรายอาจเกิดผลข้างเคียงเช่น ปวดมวนท้อง, อาหารไม่ย่อย, คลื่นไส้, อาเจียน, ไอ, ปากแห้ง, เจ็บคอ, ติดเชื้อ, ปวดหัว และอาการทางกล้ามเนื้อ

ในบางราย อาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้องุ่น

ปฏิกิริยาระหว่างยา

องุ่นอาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้ หรืออาการทางโรคอื่นๆ ของคุณ ควรปรึกษากับแพทย์สมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการการรับประทานองุ่น

  • ยาที่เปลี่ยนสภาพที่ตับโดยเอนไซม์ ไซโตโครม P450 1A2 (CYP1A2) ยาบางชนิดถูกเปลี่ยนและถูกทำลายโดยตับ

น้ำองุ่นอาจเพิ่มการทำลายยาบางชนิดที่ตับได้อย่างรวดเร็ว การรับประทานองุ่นร่วมกับการใช้ยาบางชนิดที่ถูกทำลายที่ตับจะทำให้ประสิทธิผลของยานั้นลดลง ดังนั้นก่อนรับประทานผลิตภัณฑ์จากองุ่นจึงควรขอคำแนะนำจากสถานพยาบาลของท่านว่ายาที่ท่านรับประทานอยู่นั้นกำจัดออกทางตับหรือไม่

ยาที่เปลี่ยนสภาพที่ตับนี้หมายรวมไปถึง โคลซาปีน, ไซโครเบนซาพรีน, ฟลูวอกซามีน , ฮาโฮาโลเพอริดอล , อิมิพรามีน, เมกซิทิล , โอแลนซาปีน , เพนตาโซซีน , โพรพราโนลอล , แทครีน , ทีโอฟิลลิน, ไซลิวตัน , ซอลมิทริปแทน , และ อื่นๆอีกมากมาย

  • ฟีนาซีติน
  • ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างยา ฟีนาซีตินเพื่อกำจัดออก การดื่มน้ำองุ่นอาจเพิ่มการเปลี่ยนแปลงยานี้ให้เร็วขึ้น การรับประทานน้ำองุ่นร่วมกับยาจึงอาจทำให้ประสิทธิผลของยาลดลง
  • วาร์ฟาริน

วาร์ฟาริน เป็นยาที่ใช้เพื่อชะลอการแข็งตัวของเลือด และเนื่องจากองุ่นอาจมีผลชะลอการแข็งตัวของเลือดเช่นกัน ดังนั้นการรับประทานผลิตภัณฑ์จากเมล็ดองุ่นร่วมกับยาวาร์ฟาริน อาจเพิ่มได้โอกาสการฟกช้ำและภาวะเลือดออกได้ โปรดรับตรวจผลเลือดสม่ำเสมอ ทั้งนี้ขนาดของยาวาร์ฟาริน อาจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนการใช้ยานี้

ขนาดการรับประทานองุ่นปกติอยู่ที่เท่าไร

ขนาดปกติของการรับประทานองุ่นอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและการใช้ยาอื่น ๆ อาหารเสริมสมุนไพรไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดยาที่เหมาะสม

องุ่นมีจำหน่ายในรูปแบบใด

องุ่นอาจมีอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • สารสกัดจากไวน์องุ่นแดงมาตรฐานขนาด360 มก. หรือ720 มก.
  • สารสกัดเมล็ดองุ่นแบบเม็ดหรือแคปซูลขนาด75-300 มก.
  • สารสกัดเมล็ดองุ่น (โปรแอนโธไซยานิดีน) ขนาด 150-300 มก.

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 24/04/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา