backup og meta

อัพเดต! สถานที่ ตรวจหาโควิด-19 ฟรี หากอาการเข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 24/04/2020

    อัพเดต! สถานที่ ตรวจหาโควิด-19 ฟรี หากอาการเข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยง

    สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ยังคงรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนบัดนี้องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยกระดับโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เป็นการแพร่ระบาดใหญ่ หรือเข้าสู่ภาวะ Pandemic คือแพร่ระบาดลุกลามไปทั่วโลกแล้ว

    สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดในไทย กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดเผยข้อมูลโรคติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09.00 น. ว่ามียอดผู้ป่วยยืนยันว่าติดเชื้อและรักษาตัวในโรงพยาบาล 105 ราย (มีอาการรุนแรง 1 ราย) กลับบ้านแล้ว 41 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 147 ราย และมีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 มีนาคม พ.ศ. 2563 สะสมทั้งหมด 7,084 ราย

    จากสถิติตัวเลขผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังที่มากขึ้นเรื่อยๆ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็น ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่องต้องกักตัวอยู่ในที่พักอาศัย 14 วันเพื่อสังเกตอาการ และผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สามารถไปตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ฟรี แต่เกณฑ์ที่ว่าจะมีอะไรบ้าง และคุณสามารถ ตรวจหา โควิด-19 ฟรี ได้ที่ไหนบ้าง Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้แล้ว

    เกณฑ์การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

    หากคุณมีอาการเข้าข่ายต้องสงสัยว่าป่วยเป็นโรคติดเชื้อโควิด-19 ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ดังต่อไปนี้ สามารถไปเข้ารับการตรวจยืนยันโรตติดเชื้อโควิด-19 ได้

    • มีไข้ หรือวัดอุณหภูมิร่างกายได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
    • มีอาการในระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ หายใจเร็ว หรือหายใจลำบาก หรือหายใจเหนื่อย
    • ช่วง 14 วันก่อนมีอาการ คุณมีประวัติดังนี้
    • เดินทางไปหรือมาจากประเทศ หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด
    • ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวที่มาจากพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด
    • ใกล้ชิดหรือสัมผัสผู้ป่วยที่ยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19
  • เป็นผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเฉียบพลันชนิดรุนแรงที่หาสาเหตุไม่ได้
  • เป็นผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้ และมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19
  • เป็นผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้ และเป็นบุคลากรทางการแพทย์
  • อาการเข้าเกณฑ์ ตรวจหาโควิด-19 ฟรี ที่ไหนได้บ้าง

    สถานพยาบาลสำหรับการตรวจหาเชื้อ COVID-19

    หากคุณพบว่าตัวเองมีอาการเข้าเกณฑ์ สามารถติดต่อสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 และสายด่วน 1669 หรือ 1111 ได้ หรือสามารถไปขอรับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิของท่านได้เลย ทั้งสิทธิบัตรทอง สิทธิบัตรประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือหากท่านอยู่ต่างพื้นที่ ไม่สะดวกเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิ เช่น ไปต่างจังหวัด ก็สามารถเข้ารับการตรวจรักษาได้ที่โรงพยาบาลรัฐทุกแห่ง หรือในกรณีฉุกเฉิน ก็สามารถเข้ารับการตรวจยืนยันที่โรงพยาบาลเอกชนได้ เนื่องจาก โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ถูกประกาศให้เป็นโรคติดต่อร้ายแรงแล้ว ผู้ป่วยที่เข้าข่ายเสี่ยงจึงถือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ทุกโรงพยาบาลไม่มีสิทธิปฏิเสธการตรวจรักษา

    ตัวอย่างรายชื่อโรงพยาบาลที่ให้บริการ ตรวจหาโควิด-19 ฟรี สำหรับกลุ่มเสี่ยง

    • โรงพยาบาลราชวิถี
    • โรงพยาบาลรามาธิบดี
    • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    • โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
    • โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
    • โรงพยาบาลพญาไท 2
    • โรงพยาบาลพญาไท 3
    • โรงพยาบาลแพทย์รังสิต
    • โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
    • สถาบันบำราศนราดูร
    • โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
    • โรงพยาบาลพระราม 9
    • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล
    • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียลโชคชัย 4
    • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียลรังสิต
    • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียลเกษตร
    • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียลพระประแดง
    • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียลสมุทรปราการ

    คุณสามารถเช็กพิกัดโรงพยาบาลที่รับตรวจโควิด-19 เพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์นอสตรา แมพ (NOSTRA Map) และก่อนไปโรงพยาบาล อย่าลืม สวมหน้ากากอนามัย และล้างมือให้สะอาดก่อนออกจากบ้านด้วย

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 24/04/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา