backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ (Anti-DNA Antibody Test)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ (Anti-DNA Antibody Test)

ข้อมูลพื้นฐาน

การตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ คืออะไร

การตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ (Anti-DNA antibody test) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัย และติดตามอาการโรคภูมิแพ้ตัวเอง (Systemic Lupus Erythematosus หรือ SLE) ส่วนใหญ่แล้ว จะพบแอนติบอดีชนิดนี้ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตนเองจำนวนร้อยละ 65 ถึง 80

อาการของโรคภูมิแพ้ตนเอง คือ มีแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอในปริมาณสูง อย่างไรก็ตาม หากปริมาณความเข้มข้นของแอนติบอดีอยู่ในระดับกลางหรือต่ำ อาจหมายความว่าคุณไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้ตนเอง เนื่องจาก ยังมีโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ ที่พบว่า เกี่ยวข้องกับระดับความเข้มข้นของแอนติบอดีอยู่ในระดับกลางหรือต่ำ

ความจำเป็นในการ ตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ

แพทย์จะเจาะจงการตรวจชนิดนี้ เมื่อคุณมีสัญญาณหรืออาการที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือมีผลการตรวจเอเอ็นเอ (ANA test) เป็นบวก อาการของโรคภูมิแพ้ตนเอง ได้แก่

การตรวจนี้สามารถใช้ในการติดตามและบ่งชี้อาการกำเริบของโรคลูปัสชนิดร้ายแรงได้ด้วย

ข้อควรรู้ก่อนตรวจ

ข้อควรรู้ก่อนการ ตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ

คุณควรระวังปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการตรวจ ดังต่อไปนี้

  • หากคุณรับการตรวจด้วยรังสีภายใน 1 สัปดาห์ก่อนการตรวจหาแอนติบอดี ผลการตรวจอาจคลาดเคลื่อนได้
  • ยาชนิดต่างๆ อาจเพิ่มความเข้มข้นของแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ เช่น ไฮดราลาซีน (hydralazine) โปรคาอินนาไมด์ (procainamide)
  • บางครั้งผลการตรวจอาจเป็นบวกได้ หากคุณเป็นโรคบางอย่าง เช่น ตับอักเสบ ตับแข็ง ท่อน้ำดีอุดตัน การติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ

แพทย์จะอธิบายขั้นตอนต่างๆ ให้คุณทราบก่อนเข้ารับการตรวจ การตรวจชนิดนี้เป็นการตรวจเลือด คุณจึงไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ นอกจากงดอาหารและเครื่องดื่มก่อนการตรวจ

คุณควรสวมเสื้อแขนสั้น เพื่อให้เจาะเลือดบริเวณแขนได้สะดวก

ขั้นตอนการตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ

  • ปิดแผลบริเวณต้นแขนเพื่อห้ามเลือด
  • ทำความสะอาดบริเวณที่เจาะด้วยแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อ
  • ใช้เข็มเจาะเข้าเส้นเลือด หากจำเป็นอาจต้องเจาะหาเส้นเลือดมากกว่า 1 ครั้ง
  • ใส่สายต่อเพื่อเก็บเลือด
  • ปลดสายรัดที่แขนเมื่อได้ปริมาณเลือดเพียงพอแล้ว
  • ดึงเข็มเจาะเลือดออกพร้อมกดบริเวณแผลด้วยผ้ากอซ
  • ปิดพลาสเตอร์บริเวณที่เจาะเลือดให้แน่น

หลังการตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ

การรัดยางที่ต้นแขนอาจแน่นมาก จนคุณอาจรู้สึกเจ็บแขนได้บ้าง แต่คุณอาจไม่รู้สึกใดๆ จากเข็มเจาะ หรือคุณอาจรู้สึกได้ถึงการเจาะหรือการบิดอย่างรวดเร็ว

หลังเข้ารับการเจาะเลือด คุณสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ แต่ควรปิดพลาสเตอร์ยาไว้สักครู่ อย่าเพิ่งแกะออกทันที เพื่อช่วยห้ามเลือด

หากคุณมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจหาแอนติบอดี้ที่ต่อต้านดีเอ็นเอ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำสำหรับคุณได้ดีขึ้น

ผลการตรวจ

ผลการตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ

ค่าปกติ

ค่าปกติที่ระบุไว้ ณ ที่นี้ ซึ่งเรียกว่า ค่าอ้างอิง (reference range) เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น ค่าเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามห้องปฏิบัติการ และห้องปฏิบัติการของคุณอาจมีค่าปกติที่แตกต่างออกไป รายงานจากห้องปฏิบัติการควรมีช่วงค่าที่ห้องปฏิบัติการของคุณใช้

นอกจากนี้ แพทย์จะประเมินผลการตรวจของคุณโดยยึดตามสุขภาพของคุณและปัจจัยอื่นๆ นั่นหมายความว่า ค่าที่อยู่นอกเหนือจากค่าปกติที่ระบุไว้ ณ ที่นี้ อาจยังคงเป็นค่าปกติสำหรับคุณและห้องปฏิบัติการของคุณ

ค่าแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอปกติ

ไม่เกิน -5 ในหน่วยวัดมาตรฐานต่อมิลลิลิตร

ค่าแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอผิดปกติ

ค่าเป็นกลางระหว่าง 5-9 ในหน่วยวัดมาตรฐานต่อมิลลิกรัม

ค่าแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอสูง

มากกว่าหรือเท่ากับ 10 ในหน่วยวัดมาตรฐานต่อมิลลิกรัม

ค่าแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอสูง อาจแสดงถึงสภาวะโรค เช่น

  • โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง (systemic lupus erythematosus disease)
  • โรคตับอักเสบเรื้อรัง
  • โรคตับแข็ง
  • การติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส

ค่าปกติสำหรับการตรวจแอนติบอดีที่ต่อต้านดีเอ็นเอ อาจมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการตรวจ โปรดปรึกษาแพทย์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา