คำจำกัดความ
ข้อมือหัก คืออะไร
ข้อมือหักนั้นเกิดขึ้นเมื่อคุณล้มอย่างแรง หรือเกิดอุบัติเหตุบางอย่าง ที่ทำให้ข้อมือหรือมือโดนกระแทกจนกระดูกหัก หรือร้าวได้ กระดูกหักในส่วนของข้อมือส่วนล่าง ใกล้กับส่วนที่ต่อกับมือข้างนิ้วโป้ง
ข้อมือหัก พบบ่อยแค่ไหน
ข้อมือหักพบได้ทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จัดการได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของข้อมือหัก
อาการทั่วไปของข้อมือหัก ได้แก่
- เจ็บที่ข้อมือมาก
- อาการบวม
- รู้สึกตึง
- มีอาการช้ำ
- ขยับข้อมือหรือมือไม่ได้
สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตาม ข้อมือหักถือเป็นเหตุฉุกเฉิน หากเกิดขึ้นควรเข้ารับการรักษาพยาบาลทันที
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
หากคุณคิดว่าข้อมือหรือมือของคุณหัก หรือรู้สึกว่านิ้วโป้งมีอาการบวมหรือขยับนิ้วลำบาก โปรดปรึกษาแพทย์ทันที เพราะภาวะข้อมือหัก หรือมือหักนี้ ยิ่งได้รับการวินิจฉัยและการรักษาช้า ก็จะยิ่งส่งผลเสียต่ออวัยวะ และอาจทำให้ความสามารถในการขยับหรือการบีบจับลดลง
ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของข้อมือหัก
ข้อมือหักส่วนใหญ่มักเกิดจากอุบัติเหตุ หรือโดนทำร้ายร่างกาย ทำให้ข้อมือหรือมือถูกตีหรือกระแทก จนเกิดจากการร้าวหรือแตกหัก
ตัวอย่างสาเหตุของข้อมือหัก เช่น
- การล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มือหัก หรือข้อมือหัก
- ได้รับบาดเจ็บในระหว่างการเล่นกีฬา
- ได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือจักรยาน
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของข้อมือหัก
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะข้อมือหัก หรือมือหักนั้นมีอยู่หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณเป็นนักกีฬาประเภทที่ต้องมีการกระแทกหรือปะทะกันในการแข่งขัน เช่น บาสเก็ตบอล ฟุตบอล สกี ขี่ม้า ขับรถแข่ง
นอกจากนั้น ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ก็ทำให้คุณเสี่ยงข้อมือหักได้ เช่น
- เป็นโรคกระดูก หรือมีความผิดปกติของกระดูก
- สูบบุหรี่จัด
- ได้รับแคลเซียมหรือวิตามินดีไม่เพียงพอ
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยข้อมือหัก
แพทย์จะสอบถามคุณเกี่ยวกับความรู้สึก อาการ บริเวณที่เกิดอาการ รวมถึงสาเหตุที่ทำให้ข้อมือร้าวหรือหัก และแพทย์อาจต้องใช้การทดสอบอื่นๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยข้อมือของคุณด้วย เช่น
วิธีการวินิจฉัยทางการแพทย์ ได้แก่
- เอกซเรย์
- เอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan)
- การสร้างภาพด้วยเรโซเนนซ์แม่เหล็ก (MRI Scan)
การรักษาข้อมือหัก
หากภาวะข้อมือหักของคุณไม่รุนแรงมากนัก แพทย์จะทำตามขั้นตอนเหล่านี้
- ลดอาการแตกร้าว ถ้าอาการหักของข้อมือนั้นไม่ราบเรียบ แพทย์จะทำการต่อกระดูกที่แตกให้เข้าที่
- ดามกระดูกไม่ให้เคลื่อน ข้อมือของคุณจะถูกดามด้วยเฝือก หรือเฝือกอ่อน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจนกว่าอาการบาดเจ็บจะหาย
- รับประทานยา แพทย์จะจ่ายยาให้คุณ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
- กายภาพบำบัด หลังจากที่เอาเฝือกออกแล้ว คุณต้องทำการฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการฝืดของกล้ามเนื้อ และฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของข้อมือ และมือ
ถ้าอาการของคุณรุนแรงขึ้น คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อทำฝังหมุดตรึงข้อมือเอาไว้ เช่น แผ่นรอง หมุด น๊อต หรือการปลูกถ่ายกระดูกเพื่อทำให้กระดูกอยู่กับที่ ในช่วงที่ทำการรักษา
การผ่าตัดฝังอุปกรณ์นี้อาจจำเป็น หากคุณมีอาการบาดเจ็บต่อไปนี้
- อาการร้าวหลายแห่ง
- มีเศษกระดูกหลุดเข้าไปในข้อต่อ
- เส้นเอ็นรอบๆ บริเวณมีอาการบาดเจ็บด้วย
- มีรอยแตกที่ข้อต่อ
- รอยร้าวที่เกิดจากการประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับข้อมือหัก
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยจัดการกับภาวะข้อมือหักได้
- กินอาหารที่มีประโยชน์ รับแคลเซียมและวิตามินดีให้เพียงพอ
- เลิกสูบบุหรี่
- ใส่ร้องเท้าที่เหมาะสม
- สำรวจบ้านเพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีสิ่งของที่อาจทำให้ลื่นวางอยู่ที่พื้นบ้าน
หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด