คำจำกัดความ
วิงเวียน คืออะไร
วิงเวียน หรือหรือมึนศีรษะ คืออาการอย่างหนึ่ง ที่มักจะพบได้ในโรคต่างๆ วิงเวียนใช้อธิบายถึงอาการที่ร่างกายรู้สึกไม่สมดุล มึนงง อาการวิงเวียนนี้สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้อีก แม้ว่าจะรักษาไปแล้ว แต่ส่วนใหญ่แล้ว อาการวิงเวียนนั้นจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง และมักจะหายไปได้เอง
วิงเวียนพบได้บ่อยแค่ไหน
อาการวิงเวียนสามารถพบได้บ่อย และสามารถเกิดได้กับคนทุกวัย สามารถจัดการได้โดยการรักษาที่ต้นเหตุ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์
อาการ
อาการวิงเวียน
อาการวิงเวียนศีรษะนั้นเป็นลักษณะของอาการ ไม่ใช่โรค นอกจากอาการวิงเวียนแล้ว ยังอาจมีอาการอื่นๆ ที่มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับอาการวิงเวียน เช่น
นอกจากนี้ หากคุณมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรรีบติดต่อแพทย์ในทันที
- ปวดหัวเฉียบพลัน หรือปวดหัวอย่างรุนแรง
- หมดสติ
- เจ็บหน้าอก
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- อ่อนแรง หรือมีอาการชา
- หายใจติดขัด
- ไข้สูง
- มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ
- ชัก
- อาเจียน
สาเหตุ
สาเหตุของการวิงเวียน
อาการวิงเวียนสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุรวมถึงภาวะต่อไปนี้
- หูชั้นในมีปัญหา
- การเมารถ
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยาต้านซึมเศร้า ยานอนหลับ และยาคลายกังวลต่างๆ
- การไหลเวียนเลือดไม่ดี ความดันโลหิตต่ำ หัวใจวาย
- การติดเชื้อ
- การได้รับบาดเจ็บ
- ไมเกรน
- น้ำในหูไม่เท่ากัน
- โรควิตกกังวล
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ภาวะโลหิตจาง
- อากาศร้อนเกินไป
- ภาวะขาดน้ำ
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของอาการวิงเวียน
ปัจจัยเสี่ยงของการวิงเวียนมีหลายปัจจัยได้แก่
- อายุ ผู้สูงอายุมักจะมีโอกาสที่จะเกิดอาการวิงเวียนได้มากกว่า โดยเฉพาะอาการรู้สึกไม่สมดุล เนื่องจากผู้สูงอายุนั้นมักจะมีโอกาสที่จะใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการวิงเวียน
- อาการวิงเวียนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต หากคุณเคยมีอาการวิงเวียนในอดีตมาก่อน คุณก็อาจจะมีโอกาสที่จะวิงเวียนได้ในอนาคต
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยอาการวิงเวียน
- ตรวจร่างกาย
- เอ็มอาร์ไอ หรือซีทีแสกน สำหรับกรณีของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง
- ตรวจสอบความสามารถในการทรงตัวขณะเดิน
- ตรวจการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
- ตรวจสอบความสามารถในการได้ยินและการทรงตัว
- ตรวจการเคลื่อนไหวจองลูกตาและศีรษะ
การรักษาอาการวิงเวียน
โดยทั่วไปอาการวิงเวียนจะดีขึ้นเองโดยไม่ต้องรักษา แต่หากจำเป็นต้องรักษาก็จะรักษาตามสาเหตุและอาการ โดยการใช้ยา และการออกกำลังกาย
ยาที่อาจจะใช้มีดังต่อไปนี้
- ยาลดอาการวิงเวียน เช่น ยาต้านฮีสตามีน ยาต้านโคลิเนอร์จิก
- ยาต้านอาการคลื่นไส้
- ยาลดความวิตกกังวล เช่น ยาอัลปราโซแลม
นอกจากนี้ยังมีการบำบัดความสมดุล โดยการออกกำลังกายด้วยวิธีพิเศษ เพื่อช่วยให้ร่างกายมีความสมดุล และมีความไวต่อการเคลื่อนไหวมากขึ้น
[embed-health-tool-bmi]