สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

ทำความรู้จัก "ปลูกฝี" สำคัญยังไง ยังจำเป็นอยู่ไหม

การปลูกฝีเคยเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โรคฝีดาษ (Smallpox) เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์ วัคซีนป้องกันฝีดาษซึ่งเริ่มต้นจากการปลูกฝี ไม่เพียงช่วยลดการเสียชีวิตนับล้านคนทั่วโลก แต่ยังนำไปสู่การประกาศกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523  อย่างไรก็ตาม ความทรงจำเกี่ยวกับการปลูกฝีเริ่มจางหายไปเมื่อวัคซีนนี้ไม่ได้เป็นที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน บทความนี้จะพาผู้อ่านย้อนรอยความสำคัญของการปลูกฝีในอดีต และพิจารณาว่าการปลูกฝียังมีความจำเป็นในยุคสมัยใหม่หรือไม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ปลูกฝี ในอดีตเป็นอย่างไร? การปลูกฝีเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1796 โดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ผู้ค้นพบว่าวัคซีนจาก Cowpox สามารถป้องกันโรคฝีดาษได้ ทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ทั่วโลกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รณรงค์ฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 จนนำไปสู่การประกาศว่าฝีดาษถูกกำจัดอย่างสมบูรณ์ในปี 1980 สำหรับประเทศไทย การปลูกฝีเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมักทิ้งรอยแผลเป็นเล็ก ๆ บริเวณหัวไหล่ หลังจากการกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523 การปลูกฝีก็หยุดลง แต่กลับมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้งในยุคที่โรคฝีดาษลิงระบาด โดยวัคซีนที่พัฒนาจากวัคซีน Smallpox เช่น JYNNEOS กำลังถูกศึกษาเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่นี้ โรคฝีดาษลิงคืออะไร โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่เกิดจากไวรัสในตระกูล Orthopoxvirus ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษ (Smallpox) แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่โรคฝีดาษลิงมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อ ไวรัส Monkeypox ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในลิงในปี ค.ศ. 1958 และตรวจพบในมนุษย์ครั้งแรกในปี […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation Ablation)

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation) เกิดจากแรงกระตุ้นไฟฟ้าของหัวใจห้องบนขวามีกระแสไม่ต่อเนื่อง จึงส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่ต่อเนื่อง หัวใจเต้นเร็ว และไม่สม่ำเสมอ คุณจะรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วจนเกินไปหรือมีอาการที่ไม่สามารถคาดเดาได้ การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว สามารถช่วยบรรเทาให้อาการดีขึ้นได้ ข้อมูลพื้นฐานการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คืออะไร การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า “Atrial Fibrillation Ablation” คำว่า “Ablation” หมายถึง “การตัดออก” มาจากคำว่า “Ablate” ที่แปลว่า “ลบออก หรือ ทำลาย” ในแง่ของ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หมายถึง ตัวเลือกหนึ่งในการรักษาเมื่อยาไม่สามารถรักษาหรือควบคุมการทำงานของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ การผ่าตัดคือขั้นตอนที่ทำให้เกิดแผลขนาดเล็กบริเวณเนื้อเยื่อหัวใจ บริเวณเป้าหมายของแผลคือแหล่งกำเนิดแรงกระตุ้นไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เมื่อเนื้อเยื่อได้รับผลกระทบหรือเกิดความเสียหาย จะไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่สม่ำเสมอเข้าสู่หัวใจได้อีก ตำแหน่งแผลขึ้นอยู่กับขั้นตอนในการผ่าตัด รวมไปถึงประเภทการรักษา เช่น การกระตุ้นหัวใจห้องบนขวา การผ่าตัดใส่สายสวน การผ่าตัดหลอดเลือดดำในปอด การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ อาจมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์ ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ระยะของอาการ และความเสี่ยงในการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วนั้นแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการผ่าตัดขั้นตอนการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว การผ่าตัดใส่สายสวน การเตรียมพร้อมการผ่าตัดใส่สายสวน การผ่าตัดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ควรดำเนินการในโรงพยาบาล ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น ตรวจสอบการทำงานของเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีสุขภาพแข็งแรงพอสำหรับการผ่าตัด ใช้ยาเจือจางเลือดก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อป้องกันหลอดเลือดอุดตัน การทำซีทีสแกน (CT) หรือการทำเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อตรวจสอบกระบวนการทำงานของเส้นเลือด อดอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่น […]


การทดสอบทางการแพทย์

รู้หรือไม่? การตรวจหาปริมาณ ไวรัสในเลือด สำคัญกว่าที่คิด

ไวรัสในเลือด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่คร่าชีวิตคนประมาณ 1.5 ล้านคน ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการเอาไว้ในปี 2003 ฉะนั้นการตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือด เพื่อใช้ในการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี และการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ก็นับว่ามีความจำเป็นมาก ซึ่ง Hello คุณหมอ จะพาไปติดตามความสำคัญของเรื่องนี้กัน ไวรัสในเลือด คืออะไร เชื้อไวรัสในเลือด (Viral Load) หมายถึงปริมาณของอนุภาคเชื้อไวรัสที่ลอยอยู่ในตัวอย่างเลือด (ปริมาณ 1 มล. หรือ 1 ซีซี) อนุภาคเหล่านี้คือสำเนาพันธุกรรมของเชื้อไวรัสที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย ปริมาณของเชื้อไวรัสในเลือดจะทำให้เราทราบว่าการรักษาต้านไวรัสโดยใช้ยาต้านเชื้อไวรัส (ART) นั้นสามารถควบคุมเชื้อไวรัสได้ดีแค่ไหน เป้าหมายของการรักษาต้านไวรัสคือการลดระดับปริมาณของเชื้อไวรัสในเลือด การตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือดประเภทต่างๆ การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสที่อยู่ในเลือด เพื่อประเมินสุขภาพของผู้ติดเชื้อ ว่าสามารถควบคุมปริมาณไวรัสให้อยู่ในระยะปลอดภัยต่อสุขภาพได้หรือไม่ เมื่อเข้ารับการรักษาเป็นครั้งแรกนั้น ก็จะทำการตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสในเลือด เพื่อใช้เป็นข้อมูลก่อนที่จะรับยาต้านไวรัส ควรทำการทดสอบไวรัสแบบนี้ทุกๆ 3-6 เดือน โดยการตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสในเลือดมีดังนี้ การตรวจหาปริมาณไวรัสเอชไอวี การตรวจหาปริมาณไวรัสเอชไอวี จะทำให้คุณทราบปริมาณของเชื้อไวรัสเอชไอวีในร่างกาย โดยตรวจนับปริมาณสำเนาของเชื้อเอชไอวีเลือด 1 มิลลิลิตร ผลการตรวจนี้จะช่วยให้แพทย์ทราบว่าการติดเชื้อของคุณเป็นอย่างไร การรักษาได้ผลดีแค่ไหน และรับทราบแนวทางในการรักษา ผลการตรวจปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีจะช่วยให้คุณทราบว่าโรคมีอาการรุนแรงขึ้นเร็วแค่ไหน การตรวจหาปริมาณไวรัสตับอักเสบซี แพทย์จะทำการตรวจหาปริมาณของเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (hep C RNA test) เพื่อตรวจหาปริมาณของเชื้อไวรัสตับอักเสบซีภายในเลือดหนึ่งหยด ในปัจจุบันนี้ห้องแล็บส่วนใหญ่มักจะแจ้งผลเป็น หน่วยสากลต่อมิลลิลิตร […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

วิธีป้องกันไม่ให้ ลืมกินยา ทำแล้วรับรองว่ากินยาครบกำหนดชัวร์

การจะต้องมานั่งจำว่าในแต่ละวันต้องกินยาอะไรบ้างไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนอาจคิดว่ากินยาแค่วันละ 2 หรือ 3 ครั้งจะไปยากอะไร ยังไงก็ต้องจำได้แน่ ๆ แต่ถึงอย่างนั้น คนเราก็มักลืมกินยากันเป็นประจำ ร่างกายของเราต้องการปริมาณยาที่จำเพาะเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ หากเรา ลืมกินยา ถึงจะแค่ 1-2 ครั้ง ก็อาจส่งผลให้ยาทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพได้ หากใครลืมกินยาเป็นประจำ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีป้องกันการลืมกินยามาฝาก รับรองว่าหากคุณทำตามแล้ว จะไม่ลืมกินยาอีกแน่นอน วิธีป้องกันไม่ให้ ลืมกินยา ใส่ใจสภาพร่างกายของตัวเอง การใส่ใจสภาพร่างกายของตัวเอง อาการของโรคที่เผชิญ และการรักษาที่จำเป็น จะเป็นแรงกระตุ้นให้คุณกินยารักษาโรคเป็นประจำตามที่คุณหมอสั่ง หากคุณศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยาที่กิน ทำความเข้าใจว่าคุณกินยาไปเพื่ออะไร รวมถึงใส่ใจกับผลข้างเคียงของยา รวมถึงผลของการกินยาไม่สม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้คุณไม่ลืมกินยาได้ กล่องยา กล่องยาไม่ใช้แค่ที่เก็บยาเท่านั้น แต่ยังช่วยเตือนให้คุณกินยาในแต่ละวันได้อย่างครบถ้วนด้วย เนื่องจากกล่องยาแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน เพียงพอต่อการเก็บยาในแต่ละสัปดาห์ สามารถเก็บไว้ในกระเป๋า หรือพกพาได้เมื่อเดินทาง จึงสะดวกกว่าการพกถุงยาไปไหนมาไหน ถือว่ามีประโยชน์มากสำหรับคนที่ชอบลืมกินยา และผู้สูงอายุต่างก็เห็นตรงกันว่ากล่องยาคือตัวช่วยในการกินยาที่กะทัดรัดและพกพาสะดวกมาก แอปพลิเคชันเตือนกินยา คนเราพกโทรศัพท์มือถือติดตัวไปแทบทุกที่ ไม่เว้นแม้แต่เวลาเข้าห้องน้ำ และเช็คโทรศัพท์กันไม่ต่ำกว่าวันละ 50 ครั้ง โทรศัพท์มือถือมีประโยชน์มากกว่าเอาไว้ใช้ถ่ายรูปหรือเล่นโซเชียลมีเดีย เนื่องจากปัจจุบันมีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพ เช่น แอปพลิเคชันออกกำลังกาย แอปพลิเคชันคำนวณวันตกไข่และบันทึกประจำเดือน รวมถึงแอปพลิเคชันเตือนกินยา ที่สามารถตั้งเวลาแจ้งเตือน ช่วยให้คุณกินยาตรงเวลาได้ แถมบางแอปพลิเคชันยังมีฟังก์ชันให้คนในครอบครัวช่วยเตือนให้เรากินยาด้วย เก็บยาในที่ที่มองเห็นง่าย ปัญหาข้อหนึ่งที่ทำให้เราลืมกินยาก็คือ จำไม่ได้ว่าเก็บยาไว้ที่ไหน ไม่ก็หายาไม่เจอ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 (Anti-Jo-1 Antibodies Test)

ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับแอนตี้บอดี้-โจ-1 ในกระแสเลือด โจวัน (histidyl tRNA synthetase) แอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นตัวบ่งชี้โรคกล้ามเนื้ออักเสบ และพบในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ที่มีโรคเนื้อเยื่อปอดอักเสบร่วมด้วย คำจำกัดความ ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 (Anti-Jo-1 Antibodies Test) ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับแอนตี้บอดี้-โจ-1 ในกระแสเลือด โจวัน (histidyl tRNA synthetase) ก็คือเอนไซม์ในกลุ่ม acyl-tRNA synthetase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบในเซลล์ชนิดที่มีนิวเคลียส แอนตี้บอดี้-โจ-1 ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออักเสบจะจับตัวอยู่กับปลายสายโปรตีน ที่ช่วยยับยั้งฤทธิ์การเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ในหลอดทดลองได้ แอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นตัวบ่งชี้โรคกล้ามเนื้ออักเสบ และพบในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ที่มีโรคเนื้อเยื่อปอดอักเสบร่วมด้วย แอนตี้บอดี้เหล่านี้พบได้มากกว่าครึ่งในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่มีพังผืด ในเนื้อเยื่อปอด และโรคข้ออักเสบแบบสมมาตรร่วม ทำไมต้องทดสอบหาแอนตี้บอดี้-โจ-1? ก็เพื่อประเมินโรคในผู้ป่วยที่มีสัญญาณและอาการแสดง ที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ปวดกล้ามเนื้อ และมีภาวะแขนขาอ่อนแรง มีอาการแสดงของโรคปอด โรคเรเนาด์ (Raynaud’s phenomenon) และโรคข้ออักเสบร่วมด้วย ข้อควรระวัง/คำเตือน ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการตรวจหาแอนตี้บอดี้-โจ-1 มีอะไรบ้าง คำแนะนำที่จำเป็นสำหรับการเตรียมควาพร้อมก่อนทำการตรวจได้แก่ ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนทำการตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง สำหรับการตรวจเลือด ผู้ป่วยควรงดน้ำและอาหารก่อนทำการตรวจอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ยาหลายชนิดสามารถส่งผลต่อผลการตรวจได้ จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่ท่านใช้อยู่ ทั้งยาที่ซื้อมารับประทานเอง และยาตามใบสั่งแพทย์ การทดสอบชนิดนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย ที่มีผลการตรวจ Antinuclear Antibodies เป็นลบ การได้ผลการตรวจแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นลบหนึ่งครั้ง ไม่สามารถวินิจฉัยว่าเป็นภาวะกล้ามเนื้ออักเสบหรือผิวหนังอักเสบได้ กระบวนการ การเตรียมการสำหรับทดสอบ สิ่งที่ท่านต้องเตรียมตัวก่อนการทดสอบก็คือ การตรวจเลือด รัดต้นแขนผู้ป่วยด้วยแถบยางยืดเพื่อห้ามการไหลเวียนของเลือด วิธีนี้จะทำให้เส้นเลือดดำที่อยู่ใต้แถบผ้าแถบยางขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้ใช้เข็มเจาะเข้าไปในเส้นเลือดดำได้ง่ายขึ้น 1. […]


การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน (Alpha-1 Antitrypsin Test)

การ ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน หรือ(AAT) เครดิตภาพ: bloodtestslondon.com กระบวนการ ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน หรือ(AAT) เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับสาร AAT ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในเลือด ที่ทำหน้าที่ป้องกันปอดไม่ให้ถูกทำลายจากเอนไซม์ต่างๆ ในเลือด การทดสอบต่างๆ ที่สัมพันธ์กันสามารถตัดสินได้ว่า ผู้ป่วยคนนั้นได้รับการถ่ายทอดโปรตีน AAT ที่มีความผิดปกติในรูปแบบใด การ ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน ทำหน้าที่อะไร  หน้าที่หลักของAAT คือการช่วยยับยั้งการออกฤทธิ์ของเอนไซม์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอีลาสเตส (Elastase)  ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สร้างโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟีล (Neutrophils) และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตอบสนองต่อการบาดเจ็บและการอักเสบตามปกติ โดยอีลาสเตสจะย่อยโปรตีนต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดและนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ซึ่งถ้าหากไม่มี AAT คอยควบคุมแล้วล่ะก็ อีลาสเตสก็จะเริ่มย่อยสลายและทำลายเนื้อเยื่อปอดไปด้วย ทำไมต้อง ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน เหตุผลที่ต้องทำการทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซินมีดังนี้ : การทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน (AAT) เพื่อวินิจฉัยภาวะขาดเอนไซม์อัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน ในกรณีที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยรายนั้นไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงที่ชัดเจน อย่างการสูบบุหรี่ หรือมีประวัติสัมผัสฝุ่นละอองและควัน การทดสอบนี้ยังใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดภาวะดีซ่านเรื้อรัง และสัญญาณความผิดปกติของตับอื่นๆได้ ซึ่งมักจะใช้กับเด็ก แต่จริงๆแล้วสามารถใช้ได้กับผู้คนทุกช่วงอายุ การทดสอบ AAT มี 3 แบบ ซึ่งอาจใช้แบบเดียวหรือหลายๆแบบ เพื่อประเมินผู้ป่วยแต่ละราย การทดสอบอัลฟ่าวัน […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

แก้หมันชาย (Vasectomy Reversal)

ข้อมูลพื้นฐานการแก้หมันชาย คืออะไร การแก้หมันชาย (Vasectomy Reversal) คือ การผ่าตัดเพื่อต่อท่อนำเชื้ออสุจิหรือสเปิร์มเข้าด้วยกันใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เคยตัดท่อน้ำเชื้อออกจากกันแล้วผูกปลายทั้งสองข้างเอาไว้ หรือที่เรียกว่าการทำหมันชาย (Vasectomy) ซึ่งถือเป็นวิธีการคุมกำเนิดถาวรที่นิยมมากวิธีหนึ่ง โดยทั่วไป อัตราการมีบุตรของผู้ชายที่แก้หมันจะอยู่ที่ประมาณ 30-90 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับประเภทของการผ่าตัด และระยะเวลาในการทำหมัน อายุของฝ่ายหญิง ความชำนาญของแพทย์ เป็นต้น ความจำเป็นในการ แก้หมันชาย การแก้หมันเป็นการแก้ปัญหาสำหรับใครที่เคยทำหมันไปแล้ว และต้องการจะมีบุตรอีกครั้ง ความเสี่ยงความเสี่ยงของการแก้หมันชาย โอกาสที่การแก้หมันชายจะประสบความสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับว่าทำหมันชายมานานแค่ไหนแล้ว เพราะยิ่งทำหมันนาน ก็ยิ่งมีโอกาสที่ท่อนำเชื้ออสุจิจะอุดตันมากขึ้น ทั้งยังพบว่าบางคนที่แก้หมันชายไปแล้ว อาจเกิดปฏิกิริยาต่อต้านอสุจิของตนเองได้ด้วย ซึ่งหากเกิดการอุดตันระหว่างท่อนำเชื้ออสุจิและท่อเก็บอสุจิ ก็จะยิ่งทำให้การผ่าตัดแก้หมันชายใช้เวลานานและซับซ้อนขึ้นไปอีก หากอยากมีลูก แต่ไม่อยากผ่าตัดแก้หมันชาย คุณอาจจะพิจารณาใช้อสุจิจากผู้บริจาค ซึ่งอาจจะเป็นของคนรู้จัก หรือจากธนาคารอสุจิก็ได้ บางครั้งหมอจะเลือกใช้เข็มดูดอสุจิจากอัณฑะออกมา ซึ่งเป็นวิธีการที่นำมาใช้ในการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF Treatment) ก่อนตัดสินใจผ่าตัดแก้หมันชาย คุณควรทำความเข้าใจความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนให้ดี หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์ ขั้นตอนการผ่าตัดการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการ แก้หมันชาย ก่อนผ่าตัด แพทย์จะซักถามข้อมูลสุขภาพ ยาที่กิน อาการแพ้ต่างๆ จากนั้นคุณจะได้พบวิสัญญีแพทย์ เพื่อวางแผนการใช้ยาระงับความรู้สึก คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรงดรับประทานอาหารและน้ำดื่มก่อนการผ่าตัดตามที่แพทย์แนะนำ แพทย์จะแจ้งวิธีการปฏิบัติตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด รวมถึงการงดน้ำงดอาหาร ว่าต้องงดก่อนผ่าตัดกี่ชั่วโมง โดยปกติแล้ว คุณควรเริ่มงดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด แต่อาจสามารถจิบเครื่องดื่มบางอย่างได้ เช่น กาแฟ และไม่ควรทานอะไรเลยก่อนการผ่าตัด […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (Cornea Transplant Surgery)

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา คือการตัดเอาเนื้อเยื่อกระจกตาในส่วนที่มีปัญหาของผู้ป่วยออก แล้วแทนที่ด้วยกระจกตาของผู้บริจาคดวงตา เพื่อให้กลับมามองเห็นได้ปกติ และช่วยให้อาการของโรคที่กระจกตาหรือบาดแผลที่กระจกตาดีขึ้น รู้เรื่องเบื้องต้น การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา คืออะไร การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (Cornea Transplant) คือการตัดเอาเนื้อเยื่อกระจกตาส่วนที่มีปัญหาของผู้ป่วยออก แล้วแทนที่ด้วยกระจกตาของผู้บริจาคดวงตา กระจกตาเป็นชั้นเนื้อเยื่อใสส่วนหน้าสุดของลูกตา ทำหน้าที่เสมือนหน้าต่าง ช่วยให้จอประสาทตาสามารถโฟกัสแสงได้เป็นปกติ ก่อนส่งภาพที่ได้ไปแปลผลในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องทำให้เรามองเห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจน เมื่อกระจกตาถูกทำลาย ความโปร่งใสก็จะลดลง รูปร่างของกระจกตาเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้กระบวนการนำแสงไปสู่จอประสาทตาผิดปกติ ภาพที่ถูกส่งไปแปลผลที่สมองจึงผิดรูปหรือไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นปกติอีกครั้ง ความจำเป็นของการ ผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา สาเหตุที่ทำให้กระจกตาขุ่น และเสี่ยงต่อปัญหากระจกตาล้มเหลว ได้แก่ แผลจากการติดเชื้อ เช่น กระจกตาอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา แผลจากขนตาทิ่มตา เนื่องจากขนตางอกยาวเข้าไปในตา เมื่อขยี้ตาอาจทำให้เกิดแผลที่กระจกตาได้ โรคทางพันธุกรรม เช่น Fuchs’ corneal dystrophy (ความผิดปกติของเซลล์ชั้นในสุดของกระจกตา) โรคตาบางชนิด เช่น โรคกระจกตาโป่งพองขั้นรุนแรง กระจกตาบางมากหรือผิดรูป ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยจากการทำเลสิก กระจกตาได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุหรือสารเคมี กระจกตาบวมน้ำ ปฏิกิริยาต่อต้านจากการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาครั้งก่อน กระจกตาล้มเหลวจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดต้อกระจก การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาช่วยลดความเจ็บปวด ทำให้อาการของโรคที่กระจกตาหรือบาดแผลที่กระจกตาดีขึ้น และสามารถทำให้การมองเห็นกลับมาดีดังเดิมได้ การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ร่างกายปฏิเสธกระจกตาใหม่ที่ได้รับจากผู้บริจาค ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก ความเสี่ยงที่ควรรู้ ความเสี่ยงของการ ผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา การปลูกถ่ายกระจกตาเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น การติดเชื้อที่ตา เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก ความดันภายในลูกตาเพิ่มขึ้น เกิดปัญหากับไหมที่ใช้เย็บกระจกตาของผู้บริจาค ภาวะปฏิเสธสิ่งปลูกถ่าย (กระจกตา) ของผู้บริจาค ภาวะกระจกตาบวม ในบางกรณีที่ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ร่างกายอาจปฏิเสธกระจกตาใหม่จากผู้บริจาค ถือเป็นภาวะที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ หรือต้องทำการปลูกถ่ายกระจกตาใหม่อีกครั้ง ควรนัดหมายกับจักษุแพทย์หากคุณสังเกตเห็นอาการปฏิเสธสิ่งปลูกถ่าย เช่น สูญเสียการมองเห็น มีอาการเจ็บปวด มีรอยแดง มีปฏิกิริยาไวต่อแสง หรือแพ้แสง การปฏิเสธสิ่งปลูกถ่ายเกิดขึ้นได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของการปลูกถ่ายกระจกตา ก่อนที่จะตัดสินใจผ่าตัด ควรทำความความเข้าใจต่อความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อน หากคุณมีข้อสงสัย กรุณาปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แนวทางปฏิบัติตัว การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา ก่อนการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนเลือกใช้เมคอัพถาวร หรือ การสักเพื่อความงาม

การสักเพื่อความงาม (Cosmetic Tattoo) คือการเสริมความงามถาวร หรือเมคอัพถาวร (Permanent Makeup) บางครั้งอาจเรียกว่า เมคอัพกึ่งถาวร หรือการสักเพื่อความงามกึ่งถาวร ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการเสริมเติมแต่งรูปลักษณ์ของสาวๆ ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการสักคิ้ว สักปาก สักขอบตา ซึ่งไม่เพียงแต่จะให้เราสวยขึ้นดังใจต้องการ แต่ยังช่วยประหยัดเวลาในการแต่งหน้าได้ไม่น้อยเลยทีเดียว แค่นั้นยังไม่พอ การสักเพื่อความงามยังช่วยทำให้คุณดูสวยอยู่เสมอ แม้จะเป็นวันที่ตื่นสาย ไม่มีเวลาแต่งหน้า หรือต้องหน้าสดไปยิม หากใครสนใจความสวยที่ติดทนนานประเภทนี้ Hello คุณหมอแนะนำให้อ่านบทความนี้เลย การสักเพื่อความงาม ทำอย่างไร เมคอัพกึ่งถาวร หรือการสักเพื่อความงาม เป็นการใช้เทคนิคไมโครพิคเมนเทชัน (Micro-pigmentation Technique) โดยการใช้เข็มสักใส่สีแล้วสักไปตามผิวหนังเพื่อนำสีเข้าสู่ผิวหนัง การสักเพื่อความงามนี้มีกระบวนการและอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น เครื่องสักแบบคอยล์ (Coil Machines) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในการสักแบบดั้งเดิม ปากกาสัก เครื่องสักโรตารี่ (Rotary Machines) รวมถึงการสักด้วยมือ แบบไม่ใช้เครื่องสัก โดยทั่วไปแล้ว กระบวนการสักเพื่อความงาม มีดังนี้ รับคำแนะนำเรื่องสภาพสีผิวและวิธีการฝังเม็ดสีเข้าในผิวหนังของผู้รับการสัก ทดสอบว่าผิวแพ้สารบางชนิดหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญจะสักเพื่อฝังเม็ดสีลงบนผิวหนัง โดยส่วนใหญ่จะมีการให้ยาชาในบริเวณที่ต้องการสักก่อน และในขณะสักอาจรู้สึกเจ็บเหมือนผึ้งต่อย หรือมดกัด ผู้เชี่ยวชาญจะตรวจสอบคุณภาพงานสัก สีและความแน่นของเม็ดสีว่าตรงตามที่ต้องการหรือไม่ การสักเพื่อความงาม หรือเมคอัพถาวร ควรทำโดยแพทย์ผิวหนัง ผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม พยาบาล หรือช่างสัก ที่ผ่านการฝึกอบรม มีใบอนุญาตถูกต้อง ใช้เทคนิคที่ได้รับการรับรอง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ซาวน่า กับสารพัดประโยชน์ คุณค่าที่คนรักสุขภาพคู่ควร

การอบ ซาวน่า อยู่คู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านาน และถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมเพื่อสุขภาพที่อยู่ในกระแสและได้รับความนิยมมาโดยตลอด การใช้เวลาอยู่ในห้องซาวน่าไม่เพียงแต่จะช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกมากมายหากใครยังไม่เคยลองอบซาวน่า Hello คุณหมอรับรองว่า หากได้ลองสักครั้ง คุณจะต้องติดใจอย่างแน่นอน ซาวน่า คืออะไร การอบซาวน่า ปรากฏในประวัติศาสตร์มนุษยชาติมาเป็นพันๆ ปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นชาวมายัน ชาวโรมัน ชาวฟินแลนด์ เป็นต้น ต่างก็มีวัฒนธรรมการอบซาวน่าเพื่อวัตถุประสงค์ทางความเชื่อและเพื่อสุขภาพ การซาวน่าในปัจจุบันนิยมทำในห้องซาวน่าที่ทำจากไม้ การอบตัวในห้องซาวน่าจะอาศัยความร้อนจากการเผาหินด้วยฮีตเตอร์ หรืออุปกรณ์ทำความร้อนแบบไฟฟ้าและรักษาระดับความร้อนให้อยู่ที่ประมาณ 70°-100° เซลเซียส โดยระหว่างอบซาวน่า อุณหภูมิที่ผิวหนังของคุณอาจเพิ่มสูงได้ถึงประมาณ 40° เซลเซียส ส่งผลให้เหงื่อเริ่มออก อัตราการเต้นของหัวใจค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ร่างกายพยายามปรับอุณหภูมิให้เย็นลง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะสูญเสียเหงื่อจำนวนมาก แม้จะอบซาวน่าแค่ครู่เดียวเท่านั้น ประโยชน์ด้านสุขภาพของการอบ ซาวน่า 1. ช่วยบรรเทาปวด การอบซาวน่าช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น จึงอาจช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ช่วยให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยลดอาการปวดเนื่องจากข้ออักเสบได้ด้วย 2. ซาวน่า ช่วยผ่อนคลายความเครียด ความร้อนจากการอบซาวน่า ไม่เพียงแต่จะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย หายเครียด แต่ยังทำให้คุณสดชื่น และรู้สึกว่าสุขภาพดีขึ้นด้วย 3. ช่วยเรื่องผิวพรรณ การอบซาวน่าช่วยชำระล้างผิว ทำให้คุณรู้สึกได้ว่าผิวพรรณผ่องใสขึ้น สำหรับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินบางรายพบว่า การอบซาวน่าลดอาการของโรคได้ แต่หากคุณเป็นโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ หรือผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) ควรหลีกเลี่ยงการอบซาวน่า เพราะอาจทำให้อาการของคุณแย่ลงได้ 4. ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ สำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ การอบซาวน่าอาจช่วยให้ระบบทางเดินหายใจโล่งขึ้น ช่วยละลายเสมหะ ทำให้รู้สึกหายใจสะดวกขึ้น 5. ช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรงขึ้น การอบซาวน่าช่วยลดระดับความเครียด […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

แอลแคปโตนูเรีย (Alkaptonuria)

โรคแอลแคปโตนูเรียคืออะไรแอลแคปโตนูเรีย (Alkaptonuria) เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่หายาก เกิดเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตเอนไซม์ที่เรียกว่าเอนไซม์ โฮโมเจนทิเสต ไดออกซีจิเนส (Homogentisate Dioxygenase หรือ HGD) ที่ใช้กำจัดสารพิษที่เรียกว่ากรดโฮโมเจนทิเสต (Homogentisate) เมื่อร่างกายไม่สามารถผลิต HGD ได้เพียงพอ กรดโฮโมเจนทิเสตก็จะสะสมอยู่ในร่างกาย การสะสมของกรดโฮโมเจนทิเสตเป็นสาเหตุให้กระดูกและกระดูกอ่อนเปลี่ยนสีและแตกหักง่าย นำไปสู่โรคข้อกระดูกอักเสบ (Osteoarthritis) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดูกสันหลังและข้อต่อใหญ่ๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อกระดูกอักเสบมีปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำเมื่อปัสสาวะสัมผัสกับอากาศ โรคแอลแคปโตนูเรียพบได้บ่อยแค่ไหนโรคแอลแคปโตนูเรียเป็นโรคที่พบยาก ตามข้อมูลขององค์กรโรคหายากแห่งชาติ (The National Organization for Rare Disorders -NORD) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในสหรัฐฯ ยังไม่พบตัวเลขที่แท้จริงของโรคนี้ ประมาณว่าพบ 1 คนในทุกๆ 250,000 คน อย่างไรก็ตาม มักพบมากในแถบประเทศสโลวาเกีย ประเทศเยอรมัน และสาธารณรัฐโดมินิกัน อย่างไรก็ตาม เราสามารถจัดการกับโรคนี้ได้โดยลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูล อาการของโรคแอลแคปโตนูเรียเป็นอย่างไรโดยปกติอาการของโรคแอลแคปโตนูเรียก็คือ มีจุดดำในตาขาว กระดูกอ่อนในหูหนาและสีเข้มขึ้น ผิวหนังบริเวณที่ถูกแสงแดดมีสีน้ำเงิน โดยเฉพาะต่อมเหงื่อ เหงื่อ หรือคราบเหงื่อมีสีเข้ม ขี้หูมีสีดำ มีนิ่วในไตและต่อมลูกหมาก ข้ออักเสบ (โดยเฉพาะสะโพกและข้อต่อเข่า) สัญญาณและอาการของโรคแอลแคปโตทูเรียจะชัดเจนขึ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ส่วนมากจะเห็นชัดเจนว่าปัสสาวะมีสีน้ำตาลเข้ม หรือมีสีดำ เมื่อปัสสาวะสัมผัสกับอากาศ เมื่อถึงช่วงอายุ 20 ถึง 30 ปี อาจพบสัญญาณของโรคข้อเสื่อมแบบเฉียบพลัน โรคแอลแคปโตนูเรียอาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ การสร้างกรดโฮโมเจนทิเสตเป็นสาเหตุให้ลิ้นหัวใจแข็งตัวจนปิดตัวอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเอออร์ติค และลิ้นหัวใจไมตรัลผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เมื่อไรหากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน