backup og meta

เช็กสุขภาพหัวใจ ด้วย การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

เช็กสุขภาพหัวใจ ด้วย การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ ด้วย การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) หรือที่เรียกว่า เอคโค (Echo) เพื่อที่เราจะได้ป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้อย่างทันท่วงที ว่าแต่ รายละเอียดเรื่องนี้จะมีอะไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้ค่ะ

เช็กสุขภาพหัวใจ ด้วยการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) หรือที่เรียกว่า เอคโค (Echo) คือการใช้หัวตรวจ ลักษณะเป็นหัวแหลม ๆ กดบริเวณหน้าอก เพื่อส่งคลื่นความถี่สูงไปยังบริเวณหน้าอก จนเกิดสัญญาณสะท้อนกลับแสดงเป็นภาพประมวลผลต่าง ๆ โดยภาพดังกล่าวจะแสดงถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ เช่น

  • ขนาดและรูปร่างของหัวใจ 
  • การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ประสิทธิภาพการทำงานของลิ้นหัวใจ
  • ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ
  • ระบบไหลเวียนเลือดในหัวใจ

ขั้นตอนการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

ขั้นตอนการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านทางผนังหน้าอก (Trans Thoracic Echocardiogram หรือ TEE) เป็นวิธีการตรวจที่ได้รับมาตฐานและนิยมใช้มากที่สุด โดยมีขั้นตอนการตรวจดังนี้ 

  1. แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้ป่วยถอดเสื้อผ้าตั้งแต่ช่วงเอวขึ้นไป และติดเครื่องมือทางการแพทย์อิเล็กโทรด (Electrodes) ไว้บนร่างกาย 
  2. จากนั้น แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะทาเจลหล่อลื่นบนร่างกาย และนำทรานสดิวเซอร์ (Transducer) เคลื่อนไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บริเวณหน้าอก เพื่อบันทึกภาพคลื่นเสียงสะท้อนจากหัวใจออกมาเป็นภาพ
  3. ระหว่างการทดสอบเราอาจได้ยินเสียง “หวือ” ซึ่งเป็นเสียงอัลตราซาวน์ที่บันทึกเลือดที่ไหลผ่านหัวใจ
  4. บางครั้งแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำให้ผู้เข้าทดสอบหายใจเข้า-ออก เพื่อเช็กอัตราการเต้นของหัวใจ

อย่างไรก็ตาม การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล เช่น การตรวจคลื่นหัวใจด้วยการออกกำลังกาย การตรวจคลื่นหัวใจแบบสามมิติ การตรวจคลื่นหัวใจของทารกในครรภ์

ประโยชน์การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

ประโยชน์ของการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง มีดังต่อไปนี้

  • เพื่อประเมินความผิดปกติของหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ตำแหน่งหลอดเลือดต่าง ๆ 
  • วัดประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ 
  • แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญสามารถวินิจฉัยระบุโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้สะดวกและแม่นยำ
  • ช่วยวิเคราะห์สาเหตุของอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หายใจถี่ เป็นต้น
  • ช่วยวิเคราะห์หัวใจทารกในครรภ์ ว่าเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease) หรือไม่
  • สามารถตรวจได้ทุกเพศทุกวัย ไม่มีอันตราย และปลอดภัยต่อสุขภาพ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Echocardiogram. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/echocardiogram/about/pac-20393856. Accessed June 7, 2021

Echocardiogram (Echo). https://www.heart.org/en/health-topics/heart-attack/diagnosing-a-heart-attack/echocardiogram-echo. Accessed June 7, 2021

Echocardiography. https://emedicine.medscape.com/article/1820912-overview. Accessed June 7, 2021

Echocardiography. https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/echocardiography. Accessed June 7, 2021

Echocardiography. https://www.msdmanuals.com/professional/cardiovascular-disorders/cardiovascular-tests-and-procedures/echocardiography. Accessed June 7, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/06/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจแอลโดสเตอโรน ฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในการควบคุมความดันโลหิตสูง

ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 30/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา