backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด (Allergy Blood Test)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 22/04/2020

ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด (Allergy Blood Test)

ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด (Allergy Blood Test) เป็นการตรวจเพื่อหาปริมาณอิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ในซีรั่ม เพื่อวินิจฉัยว่า คุณมีอาการแพ้หรือไม่

ข้อมูลพื้นฐาน

การตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด คืออะไร

การตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด (Allergy Blood Test) เป็นการตรวจเพื่อหาปริมาณอิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ในซีรั่ม การตรวจด้วยวิธีนี้ เป็นการทดสอบที่มีประสิทธิภาพ ในการวินิจฉัยว่า คุณมีอาการแพ้หรือไม่ และสามารถหาสารก่อภูมิแพ้ ที่เป็นสาเหตุของอาการได้

ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ จะมีปริมาณอิมมูโนโกลบูลินอีในซีรั่มสูงขึ้น เมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ อาหาร ละอองเกสร ฝุ่น เชื้อรา พิษของแมลง ยา สารที่ปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น

ความจำเป็นในการ ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด

คุณควรเข้ารับการตรวจเลือด เพื่อหาอาการภูมิแพ้ หากเกิดสัญญาณหรืออาการที่บ่งชี้ถึงอาการแพ้ เมื่อสัมผัสกับสารใดสารหนึ่ง อาการต่างๆ ประกอบด้วย

  • ผื่นแพ้ทางผิวหนัง
  • ผิวหนังอักเสบ
  • ตาแดง คันตา
  • ไอ แน่นจมูก และมีน้ำมูก
  • อาการหอบหืด
  • คันและชาในปาก
  • ปวดท้อง อาเจียน และท้องร่วง

ข้อควรรู้ก่อนตรวจ

ข้อควรรู้ก่อนการ ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด

ไม่ควรเข้ารับการตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด หากมีภาวะหรือโรดต่างๆ ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้หลายชนิด
  • ไม่สามารถรวมข้อมูลได้ หากผลการตรวจไม่สามารถระบุสารก่อภูมิแพ้ที่แน่นอนได้
  • ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทดสอบภูมิแพ้ด้วยการตรวจเลือด ได้แก่

    • โรคที่เพิ่มปริมาณอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันในรูปโปรตีนในร่างกาย
    • ยาที่เพิ่มความเข้มข้นของอิมมูโนโกลบูลินอี และ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

    หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

    ขั้นตอนการตรวจ

    การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด

    คุณไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเป็นพิเศษก่อนเข้ารับการตรวจ และไม่จำเป็นต้องอดอาหารก่อนการเจาะเลือด

    อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจทำการซักประวัติสุขภาพ คุณควรสอบถามแพทย์ ว่าจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเป็นพิเศษหรือไม่

    คุณควรสวมเสื้อแขนสั้น เพื่อให้เจาะเลือดบริเวณแขนได้สะดวก

    ขั้นตอนการ ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด

    เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ที่ทำการเจาะเลือดจะดำเนินการต่อไปนี้

    • รัดยางรอบต้นแขน เพื่อหยุดการไหลเวียนของเลือด หลอดเลือดด้านล่างยางรัดจะขยายตัวขึ้น ทำให้เจาะหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น
    • ทำความสำอาดบริเวณที่เจาะเลือดด้วยแอลกอฮอล์
    • เจาะเข็มเข้าไปในหลอดเลือด อาจจำเป็นต้องเจาะมากกว่าหนึ่งครั้ง
    • ติดหลอดบรรจุเลือดเข้ากับเข็มเจาะเลือด
    • นำยางรัดออกจากแขน เมื่อเก็บเลือดเพียงพอแล้ว
    • วางผ้ากอซหรือก้อนสำลีไว้บนบริเวณที่เจาะเลือดในขณะที่ดึงเข็มออก
    • กดบริเวณที่เจาะเลือดแล้วปิดด้วยผ้าพันแผล

    หลังการตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด

    การรัดยางที่ต้นแขนอาจแน่นมาก จนคุณอาจรู้สึกเจ็บแขนได้บ้าง แต่คุณอาจไม่รู้สึกใดๆ จากเข็มเจาะ หรืออาจมีเพียงความรู้สึกเหมือนมดกัดหรือแมลงต่อยเท่านั้น

    หลังจากที่เจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจแล้ว ควรปิดพลาสเตอร์และกดบริเวณที่ถูกเจาะเพื่อห้ามเลือด คุณสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติหลังการเจาะเลือด

    หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับการตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจข้อควรปฏิบัติได้ดีขึ้น

    ผลการตรวจ

    ผลการตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด

    การแปลผลเลือด

    ค่าปกติที่ระบุไว้ ณ ที่นี้ ซึ่งเรียกว่า ค่าอ้างอิง (reference range) เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น ค่าเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามห้องปฏิบัติการ และห้องปฏิบัติการของคุณอาจมีค่าปกติที่แตกต่างออกไป รายงานจากห้องปฏิบัติการควรมีช่วงค่าที่ห้องปฏิบัติการของคุณใช้

    นอกจากนี้ แพทย์จะประเมินผลการตรวจของคุณโดยยึดตามสุขภาพของคุณและปัจจัยอื่นๆนั่นหมายความว่า ค่าที่อยู่นอกเหนือจากค่าปกติที่ระบุไว้ ณ ที่นี้ อาจยังคงเป็นค่าปกติสำหรับคุณและห้องปฏิบัติการของคุณ

    ระดับพลาสมาอิมมูโนโกลบูลินปกติ

    ผู้ใหญ่ : 0-100 หน่วยสากล/มิลลิลิตร

    เด็ก :

    • 0-23 เดือน : 0-13 หน่วยสากล/มิลลิลิตร
    • 2-5 ปี : 0-56 หน่วยสากล/มิลลิลิตร
    • 6-10 ปี : 0-85 หน่วยสากล/มิลลิลิตร

      ตัวบ่งชี้จากการเจาะเลือด

    ระดับพลาสมาอิมมูโนโกลบูลินผิดปกติ

    คุณอาจเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการแพ้ ดังนี้

    จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล ค่าปกติสำหรับการตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด อาจมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบอย่างละเอียด

    หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้ดีขึ้น

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 22/04/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา