backup og meta

กากกาแฟ กับประโยชน์ที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน

กากกาแฟ กับประโยชน์ที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน

กากกาแฟ เป็นแหล่งของสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจเป็นประโยชน์ต่อผิวหนัง หนังศีรษะและเส้นผม อาจนำกากกาแฟมาใช้ขัดผิว รักษาสิว เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และปรับระดับ pH ให้สมดุล นอกจากนั้น ยังอาจนำมาใช้ประโยชน์ภายในบ้าน เช่น บำรุงดิน ทำปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ ขับไล่แมลงและศัตรูพืช ได้อีกด้วย

ประโยชน์ของกากกาแฟที่ควรรู้

กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่นิยมไปทั่วโลก เมื่อกาแฟถูกต้มเรียบร้อยแล้วก็จะเหลือกากกาแฟเอาไว้ ซึ่งกากกาแฟเหล่านี้มักจะถูกทิ้งไปอย่างไร้คุณค่า แต่ความจริงแล้ว กากกาแฟนั้นมีประโยชน์มากมายที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน และนี่ก็คือประโยชน์ของกากกาแฟ

บำรุงดิน ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี

ดินส่วนใหญ่ไม่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และเมื่อพืชเจริญเติบโตพวกมันก็จะดูดซับสารอาหารในดินจนหมด กากกาแฟนั้นมีแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิดที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ไม่ว่าจะเป็น ไนโตรเจน แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และโครเมียม (Chromium)

นอกจากนั้นกากกาแฟยังช่วยดูดซับโลหะหนักที่ปนเปื้อนในดิน และยังดึงดูดหนอนที่มีประโยชน์ต่อสวน เพียงแค่นำกากกาแฟโรยลงบนดินรอบ ๆ พืชก็เพียงพอแล้ว

ทำเป็นปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ

การทำปุ๋ยหมักเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่เปลี่ยนสารอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร และเศษหญ้า ให้กลายเป็นปุ๋ยด้วยการย่อยสลายตามธรรมชาติ การเพิ่มปุ๋ยหมักลงในดินจะช่วยให้ดินมีสารอาหารและน้ำมากขึ้น ซึ่งช่วยปรับปรุงสุขภาพของพืช

จากการศึกษาหนึ่งพบว่า ปุ๋ยหมักที่ทำจากกากกาแฟและของเสียในครัวเรือน อุดมไปด้วยสารอาหารมากกว่าปุ๋ยหมักที่ทำจากขยะเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นปุ๋ยหมักที่มีกากกาแฟเป็นส่วนประกอบ 40% ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุดและเป็นปุ๋ยหมักที่คุณภาพดีที่สุดอีกด้วย

ขับไล่แมลงและศัตรูพืช

สารบางชนิดที่พบในกาแฟ เช่น คาเฟอีน (Caffeine) และ ดีเทอเพนส์ (Diterpenes) สามารถเป็นพิษต่อแมลงได้ คูนจึงสามารถใช้กากกาแฟเพื่อขับไล่แมลง นอกจากนั้นกากกาแฟยังมีประสิทธิภาพในการยับยั้งยุง แมลงวัน และอาจช่วยป้องกันแมลงอื่นๆ ด้วย

หากต้องการใช้กากกาแฟเป็นยาขับไล่แมลงและศัตรูพืช เพียงแค่วางขันที่มีกากกาแฟ หรือโรยกากกาแฟบริเวณรอบ ๆ บริเวณที่ต้องการ ใส่กากกาแฟรอบ ๆ ต้นไม้เท่านี้ก็อาจช่วยไล่แมลงและป้องกันศัตรูพืชได้แล้ว

กำจัดหมัดออกจากสัตว์เลี้ยง

หมัดเป็นปัญหาที่พบบ่อยในสัตว์เลี้ยงในบ้าน การดูแลรักษาสัตว์เลี้ยงอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงและใช้เวลานาน ผลิตภัณฑ์กำจัดหมัดหลายตัวมีสารเคมีที่รุนแรง ทั้งยังอาจสร้างผลข้างเคียงได้ ดูเหมือนว่ามหมัดนั้นจะไม่ชอบกาแฟสักเท่าไหร่ ดังนั้น การใช้กากกาแฟในการกำจัดหมัดแบบธรรมชาติจึงถือเป็นตัวเลือกที่ดี นอกจากนั้นการทำเช่นนี้อาจช่วยเพิ่มความนุ่มนวลและเงางามให้กับขนของสัตว์เลี้ยง แต่ในส่วนนี้ยังไม่มีงานวิจัยที่สนับสนุน

อย่างไรก็ตาม กากกาแฟอาจมีประสิทธิภาพในการกำจัดหมัดน้อยกว่าผลิตภัณฑ์ตามใบสั่งแพทย์ ดังนั้น ถ้าสัตว์เลี้ยงมีหมัดและรักษาด้วยวิธีนี้แล้วไม่หาย ควรจะต้องนำสัตว์ไปพบสัตวแพทย์จะเป็นการดีที่สุด นอกจากนี้กากกาแฟควรใช้แค่ภายนอกเท่านั้น ไม่ควรให้สัตว์กินเข้าไป เพราะมันอาจเป็นพิษต่อสัตว์ได้

กำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์

กากกาแฟ มีไนโตรเจนที่ช่วยกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ที่มีกลิ่นเหม็นจากอากาศเมื่อรวมกับคาร์บอน ซึ่งกากกาแฟนั้นสามารถช่วยดูดซับและกำจัดกลิ่นได้ เพียงแค่นำไปวางไว้ในตู้เย็น เพื่อกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากอาหารที่เสียหรือมีกลิ่น นอกจากนั้นคุณยังสามารถเอากากกาแฟมาใส่ในถุงเท้าหรือถุงน่องเก่า ๆ แล้วแขวนเอาไว้บริเวณที่ต้องการ เพื่อทำให้อากาศมีกลิ่นที่ดีขึ้น

นอกจากนั้น ยังสามารถเอากากกาแฟไปวางไว้ที่รองเท้า กระเป๋า ลิ้นชัก ในห้องนอน ใต้เบาะรถ หรือที่ไหนก็ตามที่ต้องการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ทั้งยังสามารถเอาไปวางไว้ที่อ่างล้างจาน เพื่อใช้ขัดมือหลังจากหั่นกระเทียมหรือหัวหอม เพื่อกำจัดกลิ่นที่ติดมือได้อีกด้วย

ใช้ขัดเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้ว

กากกาแฟสามารถนำมาใช้ขัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว โดยผลการศึกษาในปี ค.ศ. 2013 ชี้ให้เห็นว่า สารในกาแฟช่วยส่งเสริมสุขภาพผิว กรดคาเฟอิก (Caffeic Acid) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยเพิ่มระดับคอลลาเจน และชะลอการแก่ก่อนวัยของเซลล์ได้ นอกจากนั้น กรดคาเฟอิกยังมีคุณสมบัติต้านจุลชีพ ซึ่งหมายความว่า มันอาจช่วยปกป้องผิวจากเชื้อโรค แต่สิ่งเหล่านี้ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในมนุษย์

การทำสครับผิวแบบ ๆ ง่าย ใช้วัตถุดิบดังนี้

  • กากกาแฟสด 1 ใน 4 ถ้วย
  • น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วย
  • น้ำมะนาวปริมาณที่เหมาะสม

ขั้นตอนการทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน ขัดลงบนผิวแล้วปล่อยให้สครับอยู่บนผิวสักครู่แล้วจึงล้างออกกด้วยน้ำสะอาด ทำแบบนี้ทุกๆ 2-3 วัน คุณจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของผิว

อีกทางเลือกของการขัดผิวด้วยกากกาแฟ  อาจจะลองทำตาม >> สูตรสครับกาแฟ <<นี้

ลดการบวมรอบดวงตา

กาแฟอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีอาการตาบวม เนื่องจาก คาเฟอีนในกาแฟอาจช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและขยายหลอดเลือดเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ ซึ่งนั่นจะทำให้ผิวกระชับขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ทั้งยังเป็นการลดการสะสมของของเหลวใต้ตาอีกด้วย สารประกอบอื่น ๆ ในกาแฟ เช่น กรดคลอโรจีนิก (Chlorogenic Acid) ยังสามารถลดอาการอักเสบรอบดวงตาได้ด้วย

ป้องกันแสงแดด

กาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น โพลีฟีนอล (Polyphenols) ซึ่งมันอาจช่วยปองกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2015 สรุปว่า ผู้ที่เข้าร่วมการศึกษาเป็นผู้หญิงญี่ปุ่นอายุ 30-60 ปี ผู้ที่รับประทานโพลีฟีนอลมากที่สุดจากกาแฟ หรือจากแหล่งอื่น ๆ นั่นมีจุดรังสียูวีบนใบหน้าน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทาน แต่ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมอีก

ลดเซลลูไลท์

กาแฟอาจช่วยลดเซลลูไลท์บนผิวหนังได้ จากการศึกษาขนาดเล็กรายงานว่า ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนที่มีคาเฟอีนและสารออกฤทธิ์อื่น ๆ มีประสิทธิภาพในการลดเซลลูไลท์ นอกจากนั้น ยังสามารถเอากากกาแฟสดที่ยังเปียก ๆ มาขัดผิวเพื่อกำจัดเซลลูไลท์ ทั้งยังทำให้ผิวเรียบเนียน และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด หรือจะนำกากกาแฟผสมกับน้ำมันมะพร้าวแล้วขัดผิวบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากเซลลูไลท์เป็นเวลา 10 นาที ทำ 2 ครั้ง/สัปดาห์ มันจะช่วยลดการปรากฏตัวของเซลลูไลท์ได้

บำรุงริมฝีปาก

ถ้าคุณมีริมฝีปากที่แห้ง ลองใช้กากกาแฟผสมกับน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมานวดเบา ๆ บริเวณริมฝีปาก จากนั้นใช้ผ้าชุดน้ำหมาด ๆ เช็ดออก มันจะทำให้ริมฝีปากนุ่มขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dias, M. F. R. G., de Almeida, A. M., Cecato, P. M. R., Adriano, A. R., & Pichler, J. (2014, July–September). The shampoo pH can affect the hair: Myth or reality? International Journal of Trichology, 6(3), 95–99. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4158629/. Accessed July 02, 2020

Fukushima, Y., Takahashi, Y., Hori, Y., Kishimoto, Y., Shiga, K., Tanaka, Y., … Kondo, K. (2015, April). Skin photoprotection and consumption of coffee and polyphenols in healthy middle-aged Japanese females [Abstract]. International Journal of Dermatology, 54(4), 410–418. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25041334. Accessed July 02, 2020

Magnani, C., Isaac, V. L. B., Correa, M. A., & Salgado, H. R. N. (2013, January). Caffeic acid: A review of its potential use in medications and cosmetics. Analytical Methods, 6(10), 3203–3210. http://pubs.rsc.org/en/content/getauthorversionpdf/c3ay41807c. Accessed July 02, 2020

Ping, J., Lei, Y. Y., Liu, L., Wang, T. T., Feng, Y. H., & Wang, H. (2012, January). Inheritable stimulatory effects of caffeine on steroidogenic acute regulatory protein expression and cortisol production in human adrenocortical cells [Abstract]. Chemico-Biological Interactions, 195(1), 68–75. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22100783. Accessed July 02, 2020

Reddy, A., Norris, D. F., Momeni, S. S., Waldo, B., & Ruby, J. D. (2016, April). The pH of beverages in the United States. The Journal of the American Dental Association, 147(4), 255–263. https://www.ada.org/en/~/media/ADA/Public%20Programs/Files/JADA_The%20pH%20of%20beverages%20in%20the%20United%20States. Accessed July 02, 2020

Roure, R., Oddos, T., Rossi, A., Vial, F., & Bertin, C. (2011, December). Evaluation of the efficacy of a topical cosmetic slimming product combining tetrahydroxypropyl ethylenediamine, caffeine, carnitine, forskolin and retinol, in vitro, ex vivo and in vivo studies [Abstract]. International Journal of Cosmetic Science, 33(6), 519–526. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21564138. Accessed July 02, 2020

Yashin, A., Yashin, Y., Wang, J. Y., & Nemzer, B. (2013, December). Antioxidant and antiradical activity of coffee. Antioxidants, 2(4), 230–245. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4665516/. Accessed July 02, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/11/2021

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดื่มกาแฟ ช่วยเพิ่มความจำ ชะลอสมองเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น

สครับกาแฟ มีประโยชน์อย่างไรต่อการดูแลผิวพรรณ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 18/11/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา