backup og meta

ท่านั่งอึ แค่นั่งให้ถูก ก็ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น

ท่านั่งอึ แค่นั่งให้ถูก ก็ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น

อาการ อึ ไม่ออก ถ่ายยาก เบ่งเท่าไหร่ก็ยังไม่ออก อาจมีสาเหตุมาจากท่านั่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้ลำไส้ไม่สามารถที่จะลำเลียงของเสียออกมาได้สะดวก แล้วท่านั่งแบบไหนถึงเรียกว่าถูกต้อง? มาหาคำตอบกับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ ว่า ท่านั่งอึ ท่าใดที่ช่วยให้คุณอึง่ายขึ้น

ท่านั่งอึ กับการขับถ่าย

ท่านั่งสำหรับการขับถ่ายนั้น ไม่มีท่านั่งที่ถูกหรือผิดแบบ 100 เปอร์เซนต์ เพราะทุกคนไม่สามารถทำท่าทางแบบเดียวกันสำหรับการขับถ่ายได้ อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ที่ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมถึงเด็กที่ยังเล็ก แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาเวลาขับถ่ายแล้วอึไม่ออก อึยาก เบ่งเท่าไหร่ก็ไม่ออกสักที หรือผู้ที่มีอาการท้องผูก การเปลี่ยนท่าทางในการนั่งชักโครก หรือนั่งในท่าที่ถูกต้อง มีผลต่อการทำงานของลำไส้ และมีส่วนช่วยให้สามารถที่จะเบ่งอึออกมาได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

เวลา นั่งอึ ต้องนั่งท่าไหนถึงจะดี

โดยปกติแล้ว ท่านั่งสำหรับการขับถ่ายนั้นต้องเป็นไปตามลักษณะโครงสร้างของชักโครก หรือโถส้วม เช่นเดียวกันกับเวลาที่เราต้องนั่ง อาจจะเป็นการนั่งกับเก้าอี้ นั่งกับพื้น นั่งรถจักรยานยนต์ ท่านั่งย่อมต้องเปลี่ยนไปตามลักษณะของสิ่งที่เราจะนั่ง ท่านั่งอึก็เช่นเดียวกัน

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ท่านั่งอึที่ถูกต้องสำหรับการขับถ่าย ควรเป็นท่านั่งที่ทำมุม 35 องศา หรือเป็นการนั่งในลักษณะของการนั่งยอง ๆ ให้เข่าอยู่เหนือสะโพก การนั่งในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นการช่วยให้ลำไส้ตรงเปิดมากขึ้น ในขณะที่ท่านั่งชักโครกตามปกตินั้น จะเป็นท่านั่งที่เป็นมุมฉาก ซึ่งทำให้ลำไส้ตรงพับและเปิดน้อยกว่าการนั่งแบบยอง ยังมีคำแนะนำอีกว่า กรณีที่นั่งชักโครก ควรหาเก้าอี้เล็ก ๆ หรือกล่องมาวางไว้หน้าชักโครกสำหรับวางขาในขณะนั่งขับถ่าย เพื่อให้ท่านั่งเป็นไปในลักษณะนั่งยอง ให้หัวเข่าอยู่สูงกว่าสะโพก

ดูแลร่างกายอย่างไรให้ขับถ่ายอย่างสม่ำเสมอ

แม้การมีท่า นั่งอึ ที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถขับถ่ายได้ง่ายขึ้น แต่นั่นแทบจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุไปเสียแล้ว เพราะการดูแลสุขภาพ และใส่ใจกับอาหารการกินต่างหาก เป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขลักษณะนิสัยการขับถ่ายที่ดีได้ ดังนี้

กินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง

หากในร่างกายมีไฟเบอร์น้อย จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องผูก ดังนั้น การกินอาหาร และอาหารเสริมที่มีไฟเบอร์สูง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่ายได้มากขึ้น เช่น ผักต่าง ๆ ผลไม้ต่าง ๆ ถั่ว โฮลเกรน ข้าว หรือข้าวโอ๊ต

ดื่มน้ำให้เพียงพอ

น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับร่างกาย และสำคัญต่อการขับถ่าย หากร่างกายขาดน้ำ ลำไส้จะแห้ง ทำให้ขับถ่ายของเสียออกได้ยาก รู้ดังนี้ก็อย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน เพราะสาเหตุของการอึยากที่คุณกำลังเผชิญอยู่อาจมาจากการที่ดื่มน้ำน้อยนี่เอง

ออกกำลังกาย

นอกจาก ท่านั่งอึ ที่ถูกต้องแล้ว การออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง การเดิน หรือฟิตเนส นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังทำให้ระบบไหลเวียนในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลำไส้แข็งแรง ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้คุณขับถ่ายได้ง่ายขึ้นด้วย

รับประทานยาระบาย เพื่อช่วย ขับถ่าย

อาจดูเป็นวิธีที่ปลายเหตุ แต่สำหรับบางคนที่มีอาการท้องผูกรุนแรง การรับประทานยาระบายสามารถช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น แต่ควรขอคำแนะนำจากเภสัชกรหรือคุณหมอก่อนหายามารับประทานเอง

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

บางครั้งแม้จะ นั่งอึ ในท่าที่ถูกต้องแล้ว ก็ยังไม่ได้ช่วยให้คุณขับถ่ายง่ายขึ้น นั่นอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากเรื่องของท่านั่ง แต่อาจเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังมีอาการท้องผูกเรื้อรัง หากอาการท้องผูกของคุณใช้เวลานานเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์ และยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบกับคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุ และรับคำแนะนำที่ถูกต้องจากคุณหมอต่อไป

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Make Yourself Poop. https://www.healthline.com/health/digestive-health/how-to-make-yourself-poop. Accessed December 19, 2019.

Are you pooing properly?. https://www.health.qld.gov.au/news-events/news/how-to-poo-properly-sit-squat-healthy. Accessed December 19, 2019.

Toilet Positions. https://www.bladderandbowel.org/help-information/resources/toilet-positions/. Accessed December 19, 2019.

What is the Right Posture For Pooping?. https://www.scienceabc.com/humans/introducing-the-squatty-potty-the-right-posture-for-pooping.html. Accessed December 19, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/11/2023

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท้องผูกหนักจนท้องป่องไม่หายซะที ใช้ ยาระบาย ช่วยจะดีมั้ยนะ

เดี๋ยวท้องเสีย เดี๋ยวท้องผูก! ไม่อยาก ท้องไส้ปั่นป่วน เวลาไปเที่ยว เราป้องกันได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 29/11/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา