backup og meta

ยาสีฟันแต้มสิว ปลอดภัยหรือไม่ ใช้แล้วได้ผลจริงหรือ?

ยาสีฟันแต้มสิว ปลอดภัยหรือไม่ ใช้แล้วได้ผลจริงหรือ?

หากคุณเคยได้ยินมาว่าการใช้ ยาสีฟันแต้มสิว แทนยาปฏิชีวนะ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้โดยไม่มีอันตรายแล้วละก็ โปรดลองอ่านบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนวันนี้เสียก่อน เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาว่าคุณควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรักษาสิวด้วยยาสีฟันหรือไม่

การใช้ ยาสีฟันทาสิว อาจส่งผลเสียได้มากกว่าที่คุณคิด

สาเหตุที่ผู้คนคิดว่าการใช้ ยาสีฟันแต้มสิว นั้น อาจช่วยรักษาสิวให้หายได้ก็เพราะ ยาสีฟันมีสารที่ชื่อว่าไตรโคลซาน (Triclosan) ซึ่งมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถึงอย่างไรการที่คุณจะนำมาใช้กับผิวหนังโดยเฉพาะกับใบหน้าของเราอาจไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง

เนื่องจากยาสีฟันเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือค่า pH ในระดับที่สามารถสร้างความระคายเคืองต่อสุขภาพผิวของคุณ อีกทั้งยังอาจส่งผลให้เข้าไปกระตุ้นการผลิตน้ำมันส่วนเกินออกมาจนทำให้สิวเดิมมีอาการแย่ลง หรือทำให้มีสิวใหม่เกิดขึ้น จนบางครั้งคุณอาจรู้สึกเหมือนมีอาการแสบหน้า ใบหน้าแดง และมีผดผื่นตามมาได้

ส่วนประกอบในยาสีฟัน ที่ไม่เหมาะสมแก่การนำมาใช้กับผิวหน้า

ส่วนประกอบในยาสีฟันส่วนใหญ่มีสารประกอบมากมายหลายชนิดด้วยกัน เพื่อตอบสนองในการรักษาสุขภาพฟันของเราให้แข็งแรง และพร้อมชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียภายในช่องปาก ซึ่งยาสีฟันนั้นมักประกอบด้วยสารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • กลีเซอรีน (Glycerin)
  • ซอร์บิทอล (Sorbitol)
  • แคลเซียมคาร์บอเนต ( Calcium carbonate)
  • โซเดียมลอริลซัลเฟต (SodiumLaurylSulfate;SLS) 
  • โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate)

สารข้างต้นที่กล่าวมานั้น ล้วนอาจมีความรุนแรงเกินกว่าจะนำไปใช้กับผิวที่บอบบางของเรา จึงทำให้เป็นเหตุผลที่ไม่ควรอย่างมากในการนำไปแต้มสิว ทางที่ดีคุณควรอาจจำเป็นต้องเข้าขอรับการปรึกษาจากแพทย์ผิวหนังโดยตรง เพื่อรับการตรวจถึงปัญหาผิวหน้า และการรักษาให้หายไปได้อย่างตรงจุด

ผลิตภัณฑ์รักษาสิว ที่อาจเหมาะกับผิวคุณ

เมื่อเกิดปัญหาสิวที่อยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง คุณอาจจำเป็นต้องทำการหาผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารเหล่านี้ในการทำความสะอาดและบำรุงผิวหน้า โดยสามารถอ่านได้จากฉลากข้างผลิตภัณฑ์ หรือใบประกอบการใช้ร่วม

นอกจากยาชนิดแบบทาแล้ว แพทย์ผิวหนังอาจให้คุณมีการรับประทานยาที่ประกอบด้วย คลินดามัยซิน (Clindamycin) มิโนซัยคลีน (Minocycline) ไอโสเตรติโนอิน (Isotretinoin) เพิ่มเติม เพื่อให้การรักษาสิวมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกขั้น

ทั้งนี้ คุณควรเข้าขอรับการตรวจสุขภาพผิวหน้า พร้อมบอกรายละเอียดเกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้อยู่ร่วมให้แพทย์ทราบ เพื่อที่แพทย์นั้นจะได้ทำการประเมิน และดำเนินการรักษาผิวหน้าคุณได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในลำดับถัดไป

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Can I Use Toothpaste on Pimples? https://www.healthline.com/health/toothpaste-on-pimples Accessed October 08, 2020

Does Using Toothpaste on Pimples Work? https://www.verywellhealth.com/does-using-toothpaste-on-pimples-really-work-15530 Accessed October 08, 2020

Does toothpaste work on pimples? https://www.medicalnewstoday.com/articles/327200 Accessed October 08, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/10/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 วิธีลดสิวเสี้ยน บริเวณจมูกให้หมดจด ด้วยวัตถุดิบรอบตัว

เครื่องนวดหน้าไครโอเย็น ประโยชน์ และผลข้างเคียง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา