backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

ไส้เลื่อนกระบังลม (hiatal hernia)

ไส้เลื่อนกระบังลม (hiatal hernia)

ไส้เลื่อนกระบังลม เป็นอาการที่กระเพาะอาหารส่วนบนเคลื่อนตัวผ่านกระบังลม กระบังลมเป็นผนังกล้ามเนื้อที่แยกกระเพาะอาหารออกจากหน้าอก เมื่อคุณเป็นไส้เลื่อนกระบังลม กรดจะไหลขึ้นมาด้านบนได้ง่ายขึ้น

คำจำกัดความ

ไส้เลื่อนกระบังลม คืออะไร

ไส้เลื่อนกระบังลม (hiatal hernia) เป็นอาการที่กระเพาะอาหารส่วนบนเคลื่อนตัวผ่านกระบังลม กระบังลมเป็นผนังกล้ามเนื้อที่แยกกระเพาะอาหารออกจากหน้าอก

กระบังลมช่วยป้องกันไม่ให้กรดไหลขึ้นมายังหลอดอาหาร เมื่อคุณเป็นไส้เลื่อนกระบังลม กรดจะไหลขึ้นมาด้านบนได้ง่ายขึ้น การรั่วของกรดจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหาร เรียกว่าโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) โรคนี้อาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนในกระเพาะอาหารและลำคอได้

ไส้เลื่อนกระบังลมพบได้บ่อยเพียงใด

ทุก ๆ คนในทุกกลุ่มอายุอาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้ อย่างไรก็ดี ไส้เลื่อนกระบังลมมักพบได้มากในผู้หญิง ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี คุณสามารถลดโอกาสในการเกิดไส้เลื่อนกะบังลมได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของไส้เลื่อนกระบังลม

ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่เมื่ออาการเกิดขึ้น มักมีอาการประมาณหนึ่งชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหาร อาการ ได้แก่ แสบร้อนกลางอก เจ็บหน้าอก เรอ และปัญหาเกี่ยวกับการกลืนซึ่งพบได้น้อย

การก้มตัวหรือการนอนลงสามารถทำให้อาการแสบร้อนกลางอกแย่ลงได้

อาการแทรกซ้อนคืออาการเลือดออก ซึ่งเกิดจากอาการระคายเคืองที่หลอดอาหาร

อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นไส้เลื่อนกระบังลม และมีอาการปวดอย่างรุนแรงที่หน้าอกหรือช่องท้อง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือไม่สามารถขับถ่ายอุจจาระหรือผายลมได้ คุณอาจเป็นไส้เลื่อนกระบังลมแบบเลือดคั่งเหตุบีบรัด (Strangulated Hernia) หรือมีการอุดกั้น ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางร่างกาย ให้โทรแจ้งแพทย์ทันที ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของไส้เลื่อนกระบังลม

โดยส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุมักไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยปกติแล้ว กะบังลมมีช่องเปิดขนาดเล็กที่หลอดอาหาร (esophagus) ทอดตัวผ่านเพื่อเชื่อมต่อกับกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารสามารถดันตัวผ่านช่องเปิดดังกล่าวนี้ และก่อให้เกิดไส้เลื่อนกะบังลม

ไส้เลื่อนกะบังลมอาจเกิดจาก

  • อาการบาดเจ็บในบริเวณกะบังลม
  • มีกระบังลมขนาดใหญ่ผิดปกติตั้งแต่เกิด
  • มีแรงกดทับที่นานและรุนแรง ในบริเวณกล้ามเนื้อโดยรอบ เช่น เมื่อมีอาการไอ อาเจียน หรือแรงตึงในระหว่างขับถ่าย หรือเมื่อยสิ่งของหนัก

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง

ปัจจัยบางประการอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไส้เลื่อนกระบังลมได้ ด้วยการเพิ่มแรงกดทับในช่องท้อง เช่น การตั้งครรภ์ โรคอ้วน อาการไอ หรือแรงตึงในระหว่างขับถ่าย นอกจากนี้ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี มีโอกาสในการเกิดไส้เลื่อนกระบังลมได้มากขึ้น

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยไส้เลื่อนกระบังลม

แพทย์ใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหาร (endoscopy) หรือกลืนแป้งแบเรียม (barium) เพื่อทำการเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยไส้เลื่อนกระบังลม ในการใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหาร จะสอดหลอดบางขนาดเล็กที่ติดตั้งกล้องส่องที่ปลายข้างหนึ่ง เข้าไปยังหลอดอาหาร เพื่อตรวจอาการไส้เลื่อนกระบังลม อาจมีการวัดแรงกดทับ (manometry) เพื่อทดสอบว่า มีแรงกดทับต่ำๆ ในบริเวณที่หลอดอาหารติดกับกระบังลม

การรักษาไส้เลื่อนกระบังลม

เป้าหมายในการรักษาเพื่อควบคุมอาการ และป้องกันอาการแทรกซ้อน วิธีการรักษาหลักคือการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และอาหาร การยกศีรษะขึ้นจากที่นอน 4 ถึง 6 นิ้ว (ด้วยของที่แข็งๆ เช่น กล่องไม้ ไม่ใช่หมอน) จะทำป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลขึ้น และมาถึงหลอดอาหารในระหว่างนอนหลับได้ ให้หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้อาการแย่ลง

สามารถใช้ยาเพื่อรักษาหากการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และอาหารไม่ได้ผล

  • ยาลดกรด ที่ควบคุมกรดในกระเพาะอาหาร
  • ยาลดการสร้างกรด ได้แก่ ยารานิทิดีน (ranitidine) ยาฟาโมทิดีน (famotidine) และยากลุ่ม proton pump inhibitors เช่น ยาโอเมพราโซล (omeprazole)

หากอาการไม่สามารถควบคุมได้หรือมีอาการแทรกซ้อน เช่น มีแผลเป็น แผลเปื่อย หรือเลือดออก เกิดขึ้น การผ่าตัดอาจเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาไส้เลื่อนกระบังลม

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวตนเองที่ช่วยจัดการไส้เลื่อนกระบังลม

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับไส้เลื่อนกระบังลมได้

  • ลดน้ำหนัก หากมีน้ำหนักเกิน
  • รับประทานอย่างช้าๆ ให้รับประทานมื้อเล็กสี่หรือห้ามื้อในแต่ละวันแทนมื้อใหญ่หนึ่งหรือสองมื้อ
  • ห้ามรับประทานอาหารทอด เผ็ด และมัน น้ำผลไม้จำพวกส้ม มินต์ และเครื่องเทศที่อาจระคายเคืองกระบังลม

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้น ถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ferri, Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier, 2012. Print edition. Page 311

Hiatal hernia. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hiatal-hernia/basics/treatment/con-20030640. Accessed July 14, 2016.

Hiatal hernia. http://www.webmd.com/digestive-disorders/hiatal-hernia?page=1#2. Accessed July 14, 2016.

Hiatal Hernia. https://www.healthline.com/health/hiatal-hernia. Accessed 27 January 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา