backup og meta

มือสั่น บ่อยๆ อาจเป็นหนึ่งสัญญาณของโรคร้ายที่คุณไม่เคยรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 06/08/2020

    มือสั่น บ่อยๆ อาจเป็นหนึ่งสัญญาณของโรคร้ายที่คุณไม่เคยรู้

    มือสั่น ถือว่าเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากต้องอยู่ในสถานการณ์คับขันหรืออาจจะรู้สึกตึงเครียด ตื่นเต้น กังวล รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน (Caffeine) แต่ถ้าอาการมือสั่นนี้เป็นมากขึ้นอย่างรุนแรง ก็น่าจะไม่ใช่เรื่องปกติแล้ว โดยสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นโรคมือสั่นนั่นเอง วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ

    ใครเป็นบ้าง? อยู่ ๆ มือก็สั่นแบบไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor)

    อาการโรคมือสั่นแบบไม่ทราบสาเหตุเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทที่มักจะเกิดขึ้นกับวัยผู้ใหญ่ ซึ่งมีอาการเริ่มต้นเป็นที่มือแล้วมีอาการสั่นขยับขึ้นลงอยู่บ่อยๆ โดยไม่สามารถบังคับตนเองได้ ในทางการแพทย์คาดว่าน่าจะเป็นอาการที่เกิดจากสมองส่วนซีรีเบลลัม (Celebellum) นั้นทำงานผิดปกติหรือหยุดทำงาน

    สาเหตุของอาการมือสั่นอาจเกิดจากโรคร้าย

    กล่าวกันว่าอาการมือสั่นเป็นอาการเบื้องต้นของโรคบางโรค โดยเฉพาะโรคพาร์กินสันที่จะสังเกตผู้ป่วยได้ชัดเจนว่ามีอาการมือสั่นข้างเดียวและจะสั่นเมื่อมืออยู่เฉยๆ ส่วนอาการของโรคมือสั่น (Essential Tremor) จะมีอาการมือสั่นทั้งสองข้าง ซึ่งจะแสดงอาการให้เห็นชัดเมื่อต้องเขียนหนังสือหรือจับช้อน แต่ก็อาจจะมีอาการสั่นบริเวณอื่นร่วมด้วยอย่างเช่นศีรษะสั่นหรือพูดเสียงสั่น เป็นต้น

    นอกจากนี้ยังสันนิษฐานถึงสาเหตุที่ทำให้มีอาการ มือสั่น ได้ก็คือ พันธุกรรม เพราะพบว่าโรคนี้สามารถถ่ายทอดได้แบบยีนเด่น และอีกสาเหตุหนึ่งคือ สิ่งแวดล้อม เนื่องจากอาหารบางชนิดก็ต้นเหตุที่ทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

    มือสั่นบ่อยๆ ควรรักษาอย่างไร

    • รักษาโดยการใช้ยา แพทย์จะเริ่มต้นการใช้ยาโพรพราโนลอล (Propanolol) ในปริมาณที่น้อยๆ ถ้าไม่มีผลข้างเคียงจึงจะปรับขนาดยาเพิ่มขึ้น แต่มีข้อควรระวังในการใช้กับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจที่อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่น
    • รักษาโดยใช้อัลตร้าซาวด์ ด้วยเครื่อง MRI ที่สามารถระบุตำแหน่งของสมองส่วน ธาลามัส (Talamus) อันเป็นจุดกำเนิดของการสั่น แล้วใช้คลื่นเสียงส่งผ่านเข้าไปบริเวณนี้เพื่อช่วยหยุดอาการมือสั่น ซึ่งมีข้อดีตรงที่ไม่ต้องผ่าตัดสมองนั่นเอง
    • รักษาโดยการผ่าตัด  แพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีความแม่นยำในการฝังขั้วไฟฟ้าที่สมองส่วนธาลามัส โดยใช้วิธีควบคุมไฟฟ้าจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งบริเวณชั้นใต้ผิวหนังส่วนหน้าอกของผู้ป่วย

    วิธีการป้องกันเบื้องต้น

    • ใช้อุปกรณ์หรือสิ่งของที่มีน้ำหนักมากขึ้น เช่น จานอาหาร ช้อนส้อมที่ทำจากเงิน และแก้วน้ำ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยจับถือได้สะดวกมากขึ้น
    • ใส่ที่ถ่วงน้ำหนักแบบรัดข้อมือ เป็นการช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับแขน ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยควบคุมมือง่ายยิ่งขึ้น
    • ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบเป็นพิเศษ จะมีที่จับหรือควบคุมสะดวกและง่ายกว่าแบบทั่วไป

    เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้ หากใครทราบว่าตนเองมีอาการมือสั่น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาอย่างถูกวิธี ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการดำเนินในชีวิตประจำวันได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 06/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา