backup og meta

ปีเตอร์ แพน ซินโดรม หยุดโรคนี้ด้วยการไม่เลี้ยงลูกแบบตามใจ

ปีเตอร์ แพน ซินโดรม หยุดโรคนี้ด้วยการไม่เลี้ยงลูกแบบตามใจ

คงไม่มีใครไม่รู้จักวรรณกรรมสุดคลาสสิคอย่าง เรื่อง ปีเตอร์แพน  ตำนานเด็กผู้ชายบินได้และไม่มีวันโต เด็กๆหลายคนเมื่อดูเรื่องนี้ต่างมีความฝันว่า อยากจะบินได้เหมือนปีเตอร์แพนและเล่นสนุกกับเพื่อนๆในดินแดนเนเวอร์แลนด์ ทว่าในชีวิตจริงก็มีเช่นกัน พวกเขาเหล่านี้ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ และมีความคิดเหมือนเด็กๆ เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า ปีเตอร์ แพน ซินโดรม ซึ่งสาเหตุนั้นมักเกิดขึ้นกับเด็กที่ถูกเลี้ยงดูจากครอบครัวที่ตามใจลูกมากจนเกินไป วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามาทำความรู้จักโรคนี้กันค่ะ

โลกการ์ตูน สู่ชีวิตจริงปีเตอร์ แพน ซินโดรม (Peter Pan Syndrome)

ปีเตอร์ แพน ซินโดรม (Peter Pan Syndrome)  คือโรคที่ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ มีความคิดเป็นเด็ก ไม่อยากทำงาน ไม่รับผิดชอบอะไรเลย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่ถูกครอบครัวเลี้ยงแบบตามใจมากจนเกินไป ทำให้ลูกต้องพึ่งพ่อแม่ตลอดเวลา ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้  ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม และไม่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตและแก้ปัญหาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

พ่อแม่รังแกฉัน

ในปัจจุบันเชื่อว่ามีหลายครอบครัวที่ถูกพ่อแม่เลี้ยงดูแบบตามใจ ไม่ว่าลูกจะขออะไรก็หามาให้ลูกทุกอย่าง ตามใจลูกตลอด แม้แต่ลูกทำผิดก็ไม่ลงโทษ รู้หรือไม่ว่า พฤติกรรมการเลี้ยงดูลูกดังกล่าวนี้เป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ของพ่อแม่ที่ส่งผลกระทบต่อลูกในอนาคต การเลี้ยงดูแบบตามใจนั้นส่งผลกระทบต่อลูกในอนาคตดังนี้

  • ขาดทักษะในการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
  • ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้
  • เป็นคนไม่มีระเบียบวินัย
  • เอาแต่ใจตัวเอง คิดว่าตัวเองมีศูนย์กลางของจักรวาล

เห็นไหมคะว่าการเลี้ยงดูลูกแบบตามใจไม่ส่งผลดีต่อลูกเราเลย ทำให้เขาไม่รู้จักโตและไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตัวเองได้ และเป็นสาเหตุให้ลูกของคุณเป็นโรคปีเตอร์ แพน ซินโดรม โดยไม่รู้ตัว

4 สัญญาณเตือนว่าลูกของคุณเสี่ยงเป็นโรคปีเตอร์ แพน ซินโดรม

  • ขาดความมั่นใจในตัวเอง
  • ไม่สามารถแก้ด้วยตัวเองได้ ต้องถามพ่อแม่หรือคนในครอบครัวทุกครั้ง
  • ขาดความรับผิดชอบ
  • อยากใกล้ชิดพ่อแม่ตลอดเวลาเพราะรู้ว่าครอบครัวคุ้มครองเขาได้

วิธีการรักษาเมื่อลูกเป็นโรคปีเตอร์ แพน ซินโดรม

  • ไม่ตามใจลูกจนเกินไป หัดให้เขารักผิดชอบและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
  • สอนลูกปรับทัศนคติให้รู้จักมีวินัยในตัวเอง รู้จักรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง
  • ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การบำบัดทางจิตวิทยาทำการณ์ประเมินสถานการณ์เพื่อทำการรักษาที่เหมาะสม

การเลี้ยงดูลูกเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่ออนาคตของลูกนะคะ หากใครรู้ว่าลูกของคุณกำลังมีภาวะเสี่ยงเป็นโรคปีเตอร์ แพน ซินโดรม อยู่ล่ะก็ควรปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดูเสียใหม่ ก่อนที่จะสายเกินแก้นะคะ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Peter Pan Syndrome. https://www.psychologytoday.com/us/blog/how-do-life/201605/the-peter-pan-syndrome. Accessed 14 January.2020

Peter Pan Syndrome: What it is and what you can do about it. https://ideapod.com/peter-pan-syndrome-what-it-is-and-what-you-can-do-about-it/. Accessed 14 January.2020

OverIndulgent Parenting: Are You Giving Your Child Too Much?. http://innerspacetherapy.in/overindulgent-parenting/. Accessed 14 January.2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือไม่ อาการติดเตียง มากเกินไป เสี่ยงต่อโรคทางจิตได้

โรคชอบขโมยของ โรคทางจิตที่แปลกแต่จริง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา