backup og meta

อยากมีรักแต่ไม่อยากผูกพัน โรคกลัวการผูกมัด เมื่อหัวใจดวงนี้ไม่อยากเสียใจ

อยากมีรักแต่ไม่อยากผูกพัน โรคกลัวการผูกมัด เมื่อหัวใจดวงนี้ไม่อยากเสียใจ

อยู่คนเดียวก็เหงา พอมีใครสักคนกลับอยากอยู่คนเดียว ลองถามใจตัวเองดูสิคะว่า ที่คุณโสดอยู่ทุกวันนี้ เป็นเพราะคุณยังไม่เจอคนที่ใช่ เหมือนเจอรองเท้าที่ถูกใจแต่ไม่มีไซต์ หรือแท้จริงในหัวใจดวงน้อยๆของคุณกลัวการผูกมัด กลัวการเสียใจอยู่กันแน่  หาคำตอบให้กับหัวใจของคุณได้แล้ววันนี้ กับ Hello คุณหมอค่ะ

ทำความรู้จักโรคกลัวการผูกมัด (Commitment Phobia)

โรคกลัวการผูกมัด เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย โดยคนส่วนใหญ่คิดว่าโรคนี้คือคนที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง คิดว่าตัวเองรูปร่างหน้าตาไม่ดี แต่จริงๆแล้วโรคนี้คือโรคหรือภาวะที่กลัวการตกลงใจที่จะทำพฤติกรรมร่วมกับผู้อื่นโดยมีคำสัญญาการผูกมัดในรูปแบบต่างๆ เช่น การคบกันในสถานะแฟน กลัวการแต่งงาน ถ้าฝ่ายตรงข้ามเร่งรัด ผูกมัด เพื่อต้องการคำตอบแล้วล่ะก็ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ หวาดระแวง  สุดท้ายความสัมพันธ์ที่มีต่อกันต้องเป็นอันจบลงในที่สุด

โรคกลัวการผูกมัด มีสาเหตุมาจากอะไรกันนะ

สาเหตุของโรคกลัวการผูกมัดนี้เกิดจากความฝังใจในอดีตที่ทำเราเสียใจมาก่อน เช่น การอกหักถูกคนรักทิ้งไปแบบไม่มีเหตุผล คู่รักไม่สนใจ โดนเพื่อนหักหลัง  กลัวการเสียอิสระ และปัญหาความสัมพันธ์ที่ไม่ดีในครอบครัว เป็นต้น

5 สัญญาณเตือน ว่าคุณเป็นโรคกลัวการผูกมัด

  • เป็นคนที่คาดเดาอะไรไม่ได้ มักเปลี่ยนแปลงความคิดอยู่ตลอดเวลา
  • อยากมีความสัมพันธ์แบบคุยกับอีกฝ่ายไปเรื่อยๆ แต่ไม่อยากมีสถานะเป็นแฟน
  • เมื่อความสัมพันธ์เริ่มจริงจังมากขึ้น จะรู้สึกลำบากใจ อยากหนีไปไกลๆ
  • ชอบอยู่กับตัวเอง ไม่มีเพื่อนสนิท ไม่มีคนรู้จักเยอะ เพราะคิดว่าไม่มีใครน่าไว้ใจเท่ากับตัวเอง
  • ไม่กล้าแสดงความรู้สึกต่อผู้อื่น เช่น ไม่เคยเอ่ยคำว่า รัก หรือ เรียกใครว่า แฟน

รับมืออย่างไร หากแฟนของคุณเป็นโรคกลัวการผูกมัด

  • ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันมากขึ้น
  • ศึกษานิสัยใจคอกันให้มากขึ้น พูดคุยบ่อยๆ ให้รู้ว่าเขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร
  • ไม่เร่งรัดคนรัก ให้ความสัมพันธ์เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
  • ทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ปรับทัศนคติเรื่องความรักใหม่

อยากมีรักแบบจริงจัง จะออกจากโรคกลัวการผูกมัดได้อย่างไร

ขั้นแรกคุณต้องยอมรับตัวเอง ปล่อยให้อดีตที่เลวร้ายเป็นเพียงแค่อดีต หรือหากิจกรรมทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย ออกไปสังสรรค์กับเพื่อนๆ เพื่อให้คุณไม่ต้องนึกถึงสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับคุณ อย่าปล่อยให้ความเจ็บปวดในอดีตมาบั่นทอนพลังในตัวคุณ จงปล่อยวางและมีความสุขกับปัจจุบัน

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is Commitment Phobia & Relationship Anxiety?. https://psychcentral.com/blog/what-is-commitment-phobia-relationship-anxiety/. Accessed 28 January 2020

10 Signs That Your Lover Is Commitment Phobic. https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-mysteries-love/201503/10-signs-your-lover-is-commitment-phobic. Accessed 28 January 2020

How to Recognize and Get Over Commitment Issues. https://www.healthline.com/health/fear-of-commitment#things-to-keep-in-mind. Accessed 28 January 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/05/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคกลัวการถูกสัมผัส รักษาอย่างไร เพื่อให้เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น

เช็คด่วน 5 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณเป็น โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 07/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา