backup og meta

โรคกลัวการถูกสัมผัส รักษาอย่างไร เพื่อให้เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    โรคกลัวการถูกสัมผัส รักษาอย่างไร เพื่อให้เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น

    ส่วนมาก โรคกลัวการถูกสัมผัส เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในผู้หญิง มากกว่าเพศอื่นๆ เมื่อจำเป็นที่คุณต้องออกไปทำธุระด้านนอก พบเจอผู้คนที่เสี่ยงต่อการถูกเนื้อต้องตัว ทำให้มีความรู้สึกหวาดกลัว จนจำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่เพียง ลำพังเข้าสังคมได้ยาก ไม่สามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนหมู่มากได้ เช่น ไปปาร์ตี้ หรือแฮงค์เอ้าท์ รวมทั้งทำงานร่วมกับบุคคลอื่นๆ ได้ค่อนข้างลำบาก  วันนี้ Hello คุณหมอ มีแนวทางการรักษา เพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตประจำวันกันได้อย่างมีความสุขขึ้น

    โรคกลัวการถูกสัมผัส (Aphenphosmphobia) คืออะไร

    เป็นโรคเกี่ยวกับความวิตกกังวลที่มีลักษณะกลัวการถูกสัมผัสร่างกาย โดยเฉพาะกับเพศตรงข้าม หรือคนแปลกหน้าที่ตัวผู้ป่วยไม่ได้รับการยินยอม ทำให้เกิดความไม่สบายใจเมื่อต้องอยู่ในที่คนพลุกพล่าน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์สะเทือนจิตใจตั้งแต่เยาว์วัย หรือช่วงวัยกลางคน เช่น ถูกละเมิดทางเพศ การใช้ความรุนแรง (ทำร้ายร่างกาย)

    อาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณโดนสัมผัสร่างกาย

    • รู้สึกกลัว วิตกกังวล และอารมณ์โกรธทันที เมื่อถูกการสัมผัส
    • เมื่อถูกสัมผัสร่างกาย จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น
    • เหงื่อออก ร่างกายรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ
    • เป็นลม หมดสติกะทันหัน

    อาการข้างต้นนี้สามารถส่งผลให้คุณก่อเกิดโรคความกลัวอื่นๆ อีกดังนี้

    • ความกลัวเชื้อโรค (mysophobia) : เป็นโรคความกลัวที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสิ่งปนเปื้อน หรือการสัมผัสกับสิ่งที่ไม่สะอาด เช่น ฝุ่นละอองบนโต๊ะ
    • ความกลัวฝูงชน (ochlophobia) : คือภาวะที่ผู้ที่ป่วยมีความกลัวสังคม หรือฝูงชนเยอะๆ ในที่สาธารณะ เพราะจะทำให้เกิดความกังวล หวาดกลัวต่อการโดนสัมผัสจากผู้คนแปลกหน้า

    หากคุณอยู่กับภาวะนี้เป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา ส่งผลให้คุณเป็นโรคซึมเศร้าได้ ในอนาคต ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพทางด้านจิตใจอย่างมากเลยทีเดียว

    วิธีรักษาให้อาการบรรเทาลง เพื่อกลับเข้าสังคมได้อีกครั้ง

    การเอาชนะความหวาดกลัว หรือวิตกกังวลไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณกล้าที่จะเผชิญ โดยสามารถรักษาโรคกลัวการถูกสัมผัสได้ ดังนี้

    • การบำบัดด้วยเทคนิค (Cognitive behavioral therapy ; CBT) ที่นักบำบัดจะทำการพูดคุย และช่วยปรับพฤติกรรม รวมถึงกระบวนการคิดในด้านลบของคุณเมื่อถูกสัมผัส
    • การบำบัดด้วยการให้ผู้ป่วยเผชิญการสัมผัสร่างกาย โดยอาจให้คนแปลกหน้าร่วมการบำบัดสัมผัสร่างกายผู้ป่วย การรักษานี้มักใช้เวลา 1 สัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือน และเป็นการรักษาที่ควบคุมโดยนักบำบัดอย่างใกล้ชิด ด้วยสภาพแวดล้อมรอบข้างที่ปลอดภัย
    • ฝึกการหายใจทำจิตใจให้ผ่อนคลาย โดยการออกกำลังกาย หรือนั่งสมาธิ

    Hello Health Groupไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา