โรคการกินผิดปกติ

โรคการกินผิดปกติ เป็นภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกินที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและสุขภาพจิต และในบางกรณี อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ด้วย นอกจากโรคอะนอเร็กเซีย และโรคบูลิเมีย หรือโรคล้วงคอ ที่หลายคนรู้จักแล้ว โรคการกินผิดปกติยังมีอีกมากมาย แต่จะมีอะไรบ้าง และจะส่งผลกระทบกับร่างกายอย่างไร ไปหาคำตอบกันเลย

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคการกินผิดปกติ

Eating disorder คือ อะไร ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

Eating disorder คือ ปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลอย่างร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจ ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคนี้มักเก็บอาการป่วยไว้เป็นความลับ และรู้สึกอับอายและหวาดกลัวที่จะขอความช่วยเหลือ อย่างไรตาม โรคนี้รักษาให้หายได้ ดังนั้น หากสังเกตว่าตัวเองมีพฤติกรรมการกินอาหารผิดปกติหรือไม่แน่ใจว่าตัวเองป่วยเป็น Eating Disorder หรือไม่ควรไปพบคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำและให้ช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] Eating disorder คือ อะไร Eating disorder คือ พฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติซึ่งส่งผลต่อทัศนคติและความรู้สึกเกี่ยวกับอาหารและร่างกายของตัวเอง บางครั้งอาจมีความเข้าใจผิดว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นเพียงทางเลือกในการดำเนินชีวิตของคนบางกลุ่มเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว Eating disorder เป็นโรคที่ร้ายแรงและอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้จากพฤติกรรมที่ผิดปกติอย่างรุนแรง เนื่องจากร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอสำหรับใช้เป็นพลังงานในการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ โดยทั่วไปสัญญาณความผิดปกติของโรคนี้อาจสังเกตได้จากความหมกมุ่นเกี่ยวกับอาหาร น้ำหนักตัว และรูปร่างของตัวเองมากกว่าคนปกติ จนส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพโดยรวมและการใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุที่ทำให้เป็น Eating disorder ปัจจัยต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด Eating disorder ได้ มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็น Eating disorder โรคซึมเศร้า โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือใช้ยาเสพติด ถูกคนรอบข้างวิจารณ์ในแง่ลบเกี่ยวกับรูปร่าง น้ำหนักตัวหรือพฤติกรรมการกินอยู่บ่อยครั้งหรือเป็นประจำ เป็นผู้ที่กังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอกของตัวเองอย่างมาก ต้องการดูผอมเพรียว โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับแรงกดดันจากสังคมหรือหน้าที่การงาน มีภาวะวิตกกังวล มีความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือเป็นผู้ที่ชอบความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist) ถูกล่วงละเมิดทางเพศมาก่อน ประเภทของ Eating disorder Eating disorder ที่พบได้บ่อย […]

สำรวจ โรคการกินผิดปกติ

โรคการกินผิดปกติ

หิวตอนกลางคืนบ่อยมากจนผิดปกติ หรือคุณจะเป็น โรคหิวตอนดึก (Night Eating Syndrome)

มื้อเช้าก็กินไปเยอะ มื้อเที่ยงยิ่งจัดหนัก มื้อเย็นก็ไม่เคยพลาด แต่ตกดึกก็ยังคงหิวอยู่เหมือนเดิม เรียกได้ว่าเกิดมาเพื่อกินทุกมื้อโดยแท้จริง แต่การหิวในตอนกลางคืนนั้นเป็นอาการโดยปกติจริงหรือ? จงอย่าชะล่าใจไป เพราะคุณอาจกำลังอยู่ในภาวะของ โรคหิวตอนดึก อยู่ก็ได้ วันนี้มารู้จักกับ อาการหิวตอนดึก ไปพร้อม ๆ กันกับ Hello คุณหมอ รู้จักกับ โรคหิวตอนดึก (Night Eating Syndrome) อาการหิวตอนดึก  คือ อาการหรือความรู้สึกหิวในตอนกลางคืน แม้ว่าจะมีการรับประทานอาหารเย็นไปจนอิ่มแล้วก็ตาม เพราะรู้สึกว่าถ้าหากไม่กินในตอนดึกจะทำให้นอนไม่หลับหรือไม่สามารถที่จะกลับไปนอนได้ถ้าไม่มีอะไรตกถึงท้องในตอนกลางคืน อาการหิวตอนดึก นี้ จัดว่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่เกี่ยวข้องทั้งพฤติกรรมในการนอนหลับและเกี่ยวข้องกับความผิดปกติหรือพฤติกรรมในการกินด้วย สาเหตุของ โรคหิวตอนดึก สาเหตุของ อาการหิวตอนดึก นั้น ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นจากอะไร แต่อาจเป็นไปได้ว่าเกิดจากความไม่สมดุลกันของฮอร์โมนในร่างกาย จนส่งผลต่อการรับประทานอาหารและการตื่นขึ้นในกลางดึกเพื่อมารับประทานอาหาร ซึ่งอาจเป็นความผิดปกติที่ฮอร์โมนสำหรับควบคุมความหิว หรือฮอร์โมนที่ควบคุมความอิ่ม อย่างไรก็ตาม อาการเช่นนี้อาจพบได้บ่อยในกลุ่มวัยรุ่นและวัยเรียนที่มักจะหิวบ่อย ๆ ในกลางดึก แรก ๆ อาจเป็นเพียงพฤติกรรม แต่หากไม่หยุดและปล่อยไปเรื่อย ๆ ก็อาจไม่สามารถแก้ไขได้ง่ายนัก นอกจากนี้ ยังอาจเป็นผลมาจากการควบคุมอาหาร ที่ปกติเคยกินอาหารตามใจมาตลอด แต่เมื่อต้องมาควบคุมอาหารในแต่ละมื้อ อาจทำให้รู้สึกไม่อิ่ม และหิวในตอนกลางคืน อาการของโรคหิวตอนดึก ใคร ๆ ก็สามารถที่จะหิวกันบ่อย ๆ ได้ทั้งนั้น […]


โรคการกินผิดปกติ

กินมากเกินไป พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ควรหยุดทันที

เคยเป็นกันไหม กินอิ่มแล้วแต่ก็หยุดกินไม่ได้ เลยกินต่อจนรู้สึกแน่น จุก และไม่สบายท้อง พฤติกรรมนี้เรียกว่า พฤติกรรมการ กินมากเกินไป (Overeating) ซึ่งสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพและร่างกายได้ แล้วคุณควรทำอย่างไรจึงจะสามารถหยุดพฤติกรรมทำลายสุขภาพเช่นนี้ได้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลมาฝากคุณแล้วค่ะ ทำความรู้จักกับการ กินมากเกินไป การ กินมากเกินไป (Overeating) หมายถึง การรับพลังงาน หรือที่เรียกว่าแคลอรี่มากกว่าที่ร่างกายใช้ไป สำหรับบางคนที่กินมากเกินไป อาจเนื่องมาจากเหตุผลทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวล ซึมเศร้า ความเครียด หากต้องการทราบว่าคุณกินมากเกินไปหรือไม่ อย่างแรกที่จะต้องทำก็คือ การตรวจสอบปริมาณแคลอรี่ที่ควรได้รับอย่างถูกต้องในแต่ละวัน คุณจะได้ทราบว่า หากมีน้ำหนักตัว อายุ ระดับการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ระดับการออกกำลังกาย และเพศแบบนี้ ควรกินอาหารเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม เพราะการกินมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นการคุมอาหารจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก สัญญาณเตือนเมื่อกินมากเกินไป หลายคนคงสงสัยว่า แล้วจะรู้ได้ไงว่ากำลังกินมากเกินไป ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนว่า รู้สึกอย่างไรหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ คุณมีอาการอึดอัด ท้องป่อง รู้สึกไม่สบายท้อง รู้สึกจะเป็นลมหรือไม่ อาการต่าง ๆ เหล่านี้คือสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังกินมากเกินไป บ่อยครั้งที่การกินมากเกินไปอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติในการกิน […]


โรคการกินผิดปกติ

หยุด กินตามอารมณ์ เพื่อสุขภาพและการลดน้ำหนัก

งานวิจัยพบว่าการกินอาหารตามใจปาก เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย การกินอาหารช่วยทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นหรือไม่ และคุณมักจะบรรเทาความเครียดด้วยการกินใช่หรือเปล่า ถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่กินตามใจปากมากกว่าจะกินในเวลาที่ร่างกายหิว จนควบคุมตัวเองไม่ได้อาจเป็นปัญหาต่อสุขภาพ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดีๆ มาฝากว่า การกินตามอารมณ์ คืออะไรและส่งผลต่อร่างกายอย่างไร กินตามอารมณ์ (Emotional Eating) คืออะไร กินตามอารมณ์ คือ วิธีจัดการกับความรู้สึกโดยใช้การกินอาหาร เช่น หลายคนคงเคยกินมันฝรั่งทอดกรอบห่อใหญ่ในเวลาที่รู้สึกเบื่อ แต่เมื่อกินจนหมดแล้วก็มักจะพบว่ากินมากจนเกินไป การกินโดยไม่รู้ตัวจึงอาจส่งผลให้น้ำหนักขึ้น และมีผลเสียต่อสุขภาพตามมา นอกจากนี้หนึ่งในความเข้าใจผิดคือ การกินตามอารมณ์จะเกิดขึ้นจากอารมณ์ในแง่ลบ เช่น ความเครียด ความเหงา ความเศร้า ความกังวล หรือความเบื่อหน่าย แต่แท้จริงแล้วการกินตามอารมณ์สามารถสัมพันธ์กับความรู้สึกในแง่บวกด้วย เช่น การกินของหวานในวันวาแลนไทน์ หรือการกินเพื่องานฉลองวันหยุด กินตามอารมณ์ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร การกินตามอารมณ์ อาจเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพ เช่น ส่งผลต่อน้ำหนักขึ้นหรือทำให้กินมากผิดปกติ ปัญหาของการกินตามอารมณ์คือ เมื่อความสุขจากการกินหมดไป ความรู้สึกที่เป็นต้นเหตุจะยังคงอยู่ เช่น คุณกินตามอารมณ์เพราะเศร้า การกินอาหารอาจทำให้ความเศร้าหายไปชั่วคราว แต่ไม่นานคุณจะกลับมาเศร้าอีกเพราะความเศร้าที่เป็นต้นเหตุยังไม่หายไป นอกจากนี้คุณอาจรู้สึกแย่จากการกินอาหารปริมาณมาก ดังนั้นการแยกความแตกต่างระหว่างความหิวกับความหิวตามอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ ดังนี้ ความหิวที่แท้จริง ค่อยๆ เกิดขึ้น และสามารถชะลอเวลาได้ สามารถพอใจกับปริมาณอาหาร มีแนวโน้มว่าจะหยุดกินเมื่ออิ่ม ไม่ได้เป็นสาเหตุของความรู้สึกผิด ความหิวตามอารมณ์ เป็นความรู้สึกที่ทันทีและเร่งด่วน อยากกินอาหารที่เฉพาะเจาะจง เช่น พิซซ่า หรือไอศกรีม คุณมีแนวโน้มว่าจะกินมากกว่าปกติ ทำให้รู้สึกผิด อย่างไรก็ตาม การกินตามอารมณ์ไม่ได้จะส่งผลเสียต่อสุขภาพเสมอไป เป็นเรื่องปกติที่บางครั้งคนเราจะกินเพื่อฉลองกับเพื่อน หรือในเวลาที่รู้สึกไม่ดี […]


โรคการกินผิดปกติ

อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia Nervosa)

อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia nervosa) หรือ โรคคลั่งผอม หรือ โรคกลัวอ้วน เป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินผิดปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ รู้เรื่องเบื้องต้น โรคอะนอเร็กเซียคืออะไร โรคอะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia nervosa) หรือ โรคคลั่งผอม หรือ โรคกลัวอ้วน เป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินผิดปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อเทียบกับอายุและส่วนสูง ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคผิดปกติทางอารมณ์นี้มักกลัวอย่างมากว่าน้ำหนักจะขึ้น ทั้งที่ความจริงแล้วน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าปกติ รวมทั้งมีความคิดเกี่ยวกับน้ำหนักตัวและรูปร่างที่ผิดไปจากความเป็นจริง ผู้ป่วยโรคนี้จึงอดอาหารหรือออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือใช้วิธีการอื่นๆ เช่น การใช้ยาระบาย ล้วงคอเพื่อให้อาเจียน เพื่อลดน้ำหนัก พบได้บ่อยแค่ไหน โรคอะนอเร็กเซียพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โรคนี้มักเริ่มในกลุ่มเด็กก่อนวัยรุ่นเรื่อยไปจนถึงผู้ใหญ่ และเป็นสาเหตุของน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับโรคเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคอะนอร์เร็กเซีย อาการของโรคอะนอร์เร็กเซียที่พบบ่อย ได้แก่ กลัวน้ำหนักขึ้น หรือกลัวอ้วนมากเป็นพิเศษ แม้ว่าน้ำหนักตัวอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ ล้วงคอเพื่ออาเจียน ใช้ยาขับปัสสาวะหรือยาระบายเพื่อขับถ่าย กินยาลดความอ้วน กินน้อยหรือไม่กินอะไรเลย ออกกำลังกายมาก แม้ในช่วงอากาศไม่ดี หรือมีอาการบาดเจ็บหรือเหนื่อยล้า คำนวณแคลอรี่ และวัดปริมาณอาหาร โรคอะนอเร็กเซียส่งผลกระทบทางด้านจิตใจของผู้ป่วย กล่าวคือ ทำให้ผู้ป่วยไม่เป็นตัวเอง มักพูดถึงแต่น้ำหนักและอาหารตลอดเวลา และไม่รับประทานอาหารต่อหน้าผู้อื่น อารมณ์เสียหรือเศร้าง่าย หรือไม่ต้องการเข้าสังคม ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีอาการทางจิตหรือโรคทางร่างกายต่างๆ ดังนี้ ซึมเศร้า วิตกจริต ปากแห้ง มีปัญหาทางระบบหัวใจและหรือสมอง ทนหนาวไม่ได้ และยังมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้ หากคุณกังวลเกี่ยวกับอาการอื่น ควรปรึกษาแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์เมื่อไร หากคุณมีอาการหรือสัญญาณข้างต้นหรือมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์ โรคคลั่งผอม หรือ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน