โรควิตกกังวล

ไม่ว่าใครก็ต้องเคยเกิดอาการวิตกกังวลสักครั้งในชีวิต เช่น เวลาต้องพูดหน้าชั้นเรียน เวลาสอบสัมภาษณ์งาน แต่หากมีอาการนี้บ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณ โรควิตกกังวล ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรควิตกกังวล

โรค แพนิค คือ อะไร รักษาให้หายได้ไหม

โรค แพนิค เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการตื่นตระหนกหรือเป็นกังวลโดยไร้สาเหตุ หากสงสัยว่าตนเองอาจเป็นโรค แพนิค ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา เพราะหากปล่อยไว้นาน อาการของโรคจะยิ่งรุนแรงขึ้น และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในหลาย ๆ ด้าน [embed-health-tool-bmr] โรคแพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง หากเป็นโรคนี้จะมีอาการตื่นตระหนกหรือวิตกกังวลหลายครั้ง โดยปราศจากสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งแตกต่างจากคนทั่วไปอย่างชัดเจน เพราะโดยปกติ อาการตื่นตระหนกหรือเป็นกังวลจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หรือจะเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ตึงเครียดหรืออันตรายเท่านั้น ทั้งนี้ โรคแพนิคเป็นโรคที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต อายุเฉลี่ยที่เริ่มพบอาการของโรคนี้ คือระหว่าง 15-19 ปี โดย 18 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคแพนิคมักมีอาการของโรคตั้งแต่ก่อนอายุ 10 ปี นอกจากนี้ โรคแพนิคพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วน 2 ต่อ 1 โรค แพนิค เกิดจากสาเหตุใด ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคแพนิค แต่สันนิษฐานว่าความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแพนิคจะสูงขึ้นในกรณีต่อไปนี้ มีคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล หรือมีประวัติเป็นโรควิตกกังวล เคยเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้ใจสลาย เช่น การสูญเสียคนที่รัก เป็นโรคทางจิตเวช เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ติดสุราหรือยาเสพติด โรค แพนิค มีอาการอย่างไร อาการของโรคแพนิคนั้นมีหลายรูปแบบ และจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ […]

สำรวจ โรควิตกกังวล

โรควิตกกังวล

ภาวะวิตกกังวล หลังการสูญเสีย อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจมากกว่าที่คิด

ภาวะวิตกกังวล สามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตได้ ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นจากการสูญเสียคนที่รัก ซึ่งถือว่าเป็นความทุกข์ที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต อย่างไรก็ตามแต่ละคนนั้นมีความสามารถในการควบคุมความรู้สึกแตกต่างกัน ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อการสูญเสียนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างซึ่งผู้ที่อยู่ในภาวะนี้ สามารถรับมือได้ด้วยเทคนิค ดังต่อไปนี้ ภาวะวิตกกังวล จากความเศร้าในความหมายทางการแพทย์ ทางการแพทย์ ได้แบ่งระดับความเศร้าออกไว้ 5 ขั้น ได้แก่ ไม่ยอมรับ โกรธ ต่อรอง ซึมเศร้า และยอมรับ ซึ่งเราทุกคนล้วนผ่าน 5 ขั้นตอนเหล่านี้ตามวิถีทางของตัวเองมาแล้วทั้งนั้น ความเศร้า สามารถเกิดขึ้นได้ซ้ำๆ หากมีการระลึกถึงความสูญเสียในโอกาสสำคัญๆ ที่อยู่ในความทรงจำของเราและคนรักที่สูญเสียไป เช่น การครบรอบวันแต่งงาน การครบรอบวันเสียชีวิต หรือ แม้แต่ การฟังเพลง ที่หวนให้ระลึกถึงความเศร้าแต่หนหลัง ในบางราย อาจต้องประสบกับภาวะวิตกกังวล ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากความเศร้า ที่ไม่ได้อยู่ใน 5 ขั้นที่กล่าวมา ความวิตกกังวลในบางครั้ง สามารถส่งผลต่อชีวิตเป็นอย่างมากและทำให้คุณรู้สึกราวกับว่า ทุกสิ่งทุกอย่างพังทลายลงไปในเวลาเดียวกันจนคุณอาจจะต้องทำทุกอย่างให้ช้าลง หากคุณยังรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างยังคงถาโถมเข้าใส่ตัวคุณ ลองมองหาความช่วยเหลือจากใครสักคนที่คุณวางใจ เมื่อเกิดความสูญเสียจะมีอาการเป็นอย่างไรบ้าง การสูญเสียจากความโศกเศร้า อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อแต่ละคน ในรูปแบบที่ต่างกัน ซึ่งโดยปกติแล้ว อาการที่พบบ่อยหลังจากเกิดความสูญเสีย มีดังนี้ ช็อคและมึนงง นี่คือปฏิกิริยาแรกที่จะเกิดขึ้น เมื่อเกิดความสูญเสีย เมื่อมีความเศร้ามากๆ จะมีอาการร้องไห้ฟูมฟาย อ่อนเพลีย รู้สึกโกรธ ต่อคนที่คุณต้องศูญเสีย หรือสาเหตุของการสูญเสีย รู้สึกผิด เช่น รู้สึกผิดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณได้พูด […]


โรควิตกกังวล

วิตกกังวล (Anxiety)

วิตกกังวล เป็นหนึ่งในอารมณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป แต่หากคุณมีความกังวลที่รุนแรงมากในทุกๆ วัน และความกังวลนั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ นั่นอาจหมายความว่าคุณกำลังเป็น โรควิตกกังวล (Anxiety)  ก็เป็นได้ คำจำกัดความ วิตกกังวล คืออะไร เป็นเรื่องปกติที่เราอาจจะรู้สึกกังวลได้ในนานๆ ครั้ง ความกังวลนั้นเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ทุกคนจะต้องพบเจอ อย่างไรก็ตาม หากคุณมีความกังวลที่รุนแรงมากในทุกๆ วัน และความกังวลนั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณ คุณอาจจะกำลังเป็นโรควิตกกังวลอยู่ก็เป็นได้ ความวิตกกังวลและตื่นตระหนกเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ความรู้สึกเหล่านี้จะยากต่อการควบคุม คุณอาจจะพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอารมณ์เหล่านี้ขึ้น อาการของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในช่วงสมัยเด็กหรือวัยรุ่น และยังคงมีอยู่ในจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ ในบางครั้งความวิตกกังวลอาจส่งผลให้เกิดสภาวะที่ต้องรับการรักษา โรควิตกกังวลมีอยู่หลายประเภทดังต่อไปนี้ โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก เป็นช่วงที่เกิดอาการกลัวกะทันหันและเกิดขึ้นซ้ำๆ พร้อมกับเกิดอาการเหงื่อออก เจ็บหน้าอก และหัวใจเต้นผิดปกติ อาการตื่นตระหนกกำเริบนั้นอาจจะรู้สึกคล้ายกันอาการหัวใจวาย (heart attack) โรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder) ผู้ที่มีภาวะนี้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางสังคมต่างๆ ศูนย์กลางของความกังวลคือความกลัวที่จะถูกตัดสิน หรือการอับอายต่อหน้าผู้อื่น ความกลัวเฉพาะอย่างหรือโรคโฟเบีย (Specific phobias) ความกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเป็นพิเศษ (เช่น ความสูง) ทำให้คนต้องการที่จะหลีกเลี่ยงต่อสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัวนั้นๆ โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder) คุณอาจจะรู้สึกกังวลและตึงเครียดอย่างมากเกินจริงจากสาเหตุเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีสาเหตุใดๆ โรคนี้พบได้บ่อยเพียงใด โรคนี้สามารถพบได้บ่อยมาก คุณสามารถจัดการกับโรคได้โดยลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรควิตกกังวล อาการทั่วไปของโรควิตกกังวล ได้แก่ รู้สึกประหม่า อ่อนเพลีย หรือเหนื่อย หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็ว เหงื่อออกและตัวสั่นเทา ควบคุมความกลัวหรือความกังวลได้ยาก นอนไม่หลับ รู้สึกว่ามีอันตรายหรือตื่นตระหนก อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ […]


โรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)

โรควิตกกังวลทั่วไป มีลักษณะเป็นความวิตกและความกังวลที่มากเกินไป และเพิ่มมากขึ้นโดยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน โดยไม่ทราบเหตุผลที่ชัดเจน คำจำกัดความโรควิตกกังวลทั่วไป คืออะไร โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder หรือ GAD) มีลักษณะเป็นความวิตกและความกังวลที่มากเกินไป และเพิ่มมากขึ้นโดยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน โดยไม่ทราบเหตุผลที่ชัดเจน ผู้ที่มีอาการของโรควิตกกังวลทั่วไป มีแนวโน้มที่จะคิดในแง่ร้ายอยู่เสมอ และไม่สามารถหยุดวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพ เงิน ครอบครัว งาน หรือการเรียนได้ ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไปนั้น ความกังวลมักเป็นเรื่องเกินจริง หรือไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้นๆ ชีวิตประจำวันกลายเป็นความกังวล ความกลัว และความหวาดวิตกอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุดแล้ว ความกังวลก็เข้าครอบงำความคิดของผู้ป่วยมากเสียจนมีผลต่อการทำหน้าที่ประจำวัน ซึ่งได้แก่ การทำงาน การเรียน กิจกรรมทางสังคม และความสัมพันธ์ต่างๆ พบได้บ่อยเพียงใด โรควิตกกังวลทั่วไปเป็นโรควิตกกังวลที่พบได้มากที่สุดในผู้สูงอายุ ถึงแม้ว่าโรควิตกกังวลต่างๆ ในประชากรกลุ่มนี้ มักสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เช่น การล้มหรืออาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน ผู้หญิงมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรควิตกกังวลทั่วไป อาการทั่วไปของโรควิตกกังวลทั่วไป ได้แก่ ความกังวลและความตึงเครียดที่มากเกินไปและต่อเนื่อง การมองปัญหาต่างๆ ที่ไม่เป็นความจริง ความกระสับกระส่ายหรือความรู้สึก “กังวล” ความรู้สึกหงุดหงิด กล้ามเนื้อตึง ปวดศีรษะ มีเหงื่อออก สมาธิสั้น คลื่นไส้ จำเป็นต้องเข้าห้องน้ำบ่อย รู้สึกเหนื่อย มีปัญหาในการล้มหรือนอนหลับ ตัวสั่น ตื่นตระหนกได้ง่าย นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไปมักเป็นโรควิตกกังวลอื่นๆ เช่น โรคแพนิคหรือโรคตื่นตระหนก (panic disorder) หรือโรคหวาดกลัว (phobias) โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder) โรคซึมเศร้า (clinical depression) […]


โรควิตกกังวล

จิตตก เพราะโซเชียลมีเดีย วิธีเหล่านี้ช่วยให้ดีขึ้นได้

จิตตก เป็นความรู้สึกแย่ หดหู่ กังวล เศร้า หลายครั้งอาการเหล่านี้ก็เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ปนเปกันจนเราไม่อาจรู้ได้ว่าตกลงเราเป็นอะไร รู้สึกอะไรอยู่กันแน่ ซึ่งก็อาจจะมีสาเหตุมาจากหลายอย่าง หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนเรารู้สึกจิตตกคือ การใช้โซเชียลมีเดีย หากสงสัย และอยากรู้ว่าโซเชียลมีเดียจะทำให้เรา จิตตก ได้อย่างไร ตาม Hello คุณหมอไปดูกันเลยค่ะ คุณมีอาการ จิตตก แบบนี้บ้างหรือเปล่า รู้สึกแย่ และไม่พอใจในตัวเอง รู้สึกเศร้าเพราะเรามันไร้ค่า รู้สึกอิจฉาที่คนอื่นเขามีชีวิตดีกว่า รู้สึกอยากร้องไห้ ทำอย่างไรชีวิตก็ไม่ดีขึ้น รู้สึกกดดันเพราะเราไม่มีอะไรดีเลย หากกำลังรู้สึกแบบนี้ แสดงว่าคุณกำลังมีอาการจิตตกอยู่ อาการจิตตกคือความรู้สึกแย่ หดหู่ กังวล เศร้า เหงา หรืออะไรๆ ก็ ‘ไม่ดี’ ไปหมด สาเหตุที่ทำให้คนเราจิตตกเพราะเรารู้สึกไม่พอใจ หรือรู้สึกผิดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้น หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนในยุคปัจจุบันรู้สึกจิตตกคือการใช้โซเชียลมีเดีย สาเหตุที่ทำให้จิตตก ในปัจจุบันผู้คนใช้เวลาไปกับโซเชียลมีเดียทั้งในโทรศัพท์มือถือและในคอมพิวเตอร์ จากข้อมูลทางสถิติพบว่า คนไทยใช้เวลาในการเล่นโซเชียลมีเดียโดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมง 10 นาทีต่อวัน โดยโซเชียลมีเดียที่คนไทยใช้มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งคือ Facebook รองลงมาคือ YouTube, Line, Instagram และ Twitter ตามลำดับ ผลการสำรวจจาก Pew Research Center พบว่า […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม