backup og meta

รู้ให้ชัดถึงข้อแตกต่างระหว่าง อาการอ่อนเพลียจากความร้อน กับ โรคลมแดด

รู้ให้ชัดถึงข้อแตกต่างระหว่าง อาการอ่อนเพลียจากความร้อน กับ โรคลมแดด

เมื่ออากาศเริ่มมีอุณหภูมิสูงขึ้น ร่างกายของใครหลาย ๆ คน อาจไม่สามารถปรับตัวได้ อีกทั้งด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ ทางด้านปัญหาสุขภาพ ทำให้การออกไปเผชิญกับแสงแดด หรืออยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น ในบางรายอาจมี อาการอ่อนเพลียจากความร้อน บางคนก็ถึงกับเป็นลมหมดสติ ซึ่งเรียกอีกอย่างได้ว่า โรคลมแดด แต่ทั้ง 2 อาการนี้จะแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้ของ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากทุกคนกันค่ะ

อาการอ่อนเพลียจากความร้อน และ โรคลมแดด ต่างกันอย่างไร

โรคลมแดด (Heat Stroke)

โรคลมแดด มักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายคุณมีอุณหภูมิความร้อนสูงเกินกว่า 103 ฟาเรนไฮต์ (39 องศาเซลเซียส) หรืออาจสังเกตได้จากผิวหนังภายนอกที่เริ่มแสบร้อน รอยแดงร่วมด้วย ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลเสียต่อระบบการทำงานอื่น ๆ ภายใน เช่น สมองและระบบประสาท ระบบไหลเวียนโลหิต ปอด ตับ ไต ช่องทางเดินอาหาร และอาจนำไปสู่การชักขั้นรุนแรง

ดังนั้น หมั่นสังเกตตนเองยามคุณออกไปเผชิญความร้อนสม่ำเสมอ และถ้าพบอาการผิดปกติใด ๆ ให้รีบปฐมพยาบาล หรือเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินได้ในทันที

อาการอ่อนเพลียจากความร้อน (Heat exhaustion)

ในส่วนของ อาการอ่อนเพลียจากความร้อน ค่อนข้างมีอาการที่รุนแรงน้อยกว่าโรคลมแดด ข้างต้น เนื่องจากร่างกายของเราเพียงแค่ต้องการพักผ่อน หรือความสดชื่นจากความเย็นเท่านั้น แต่ถ้าหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน ก็อาจนำพาไปสู่โรคลมแดดได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งสัญญาณของอาการอ่อนเพลียที่สังเกตได้ง่ายมี ดังนี้

  • ร่างกายรู้สึกหมดเรี่ยวแรง
  • เหงื่อออกในปริมาณมาก
  • หัวใจเต้นเร็วขึ้น
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ผิวซีดอย่างเห็นได้ชัด
  • ตะคริว
  • ปวดศีรษะ จนอาจถึงขั้นเป็นลมหมดสติ

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 อาการดังที่กล่าวมานี้ ส่วนมากอาจเกิดขึ้นได้กับผู้สูงวัย หรือเด็กเล็ก เนื่องจากอยู่ในช่วงร่างกายที่ไม่สามารถปรับตัวได้ไวต่อสภาพแวดล้อมเท่าไหร่นัก คนรอบข้าง หรือคนในครอบครัว จึงอาจจำเป็นต้องดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด และหาอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด หรือความร้อนต่าง ๆ ติดตัวเอาไว้ เช่น ยาดม ร่ม น้ำหวาน น้ำเย็น เพื่อปฐมพยาบาลในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย

  • สำหรับผู้ที่รับประทานยาบางชนิดในการควบคุมระดับของความดันโลหิต อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาการ/ลดระดับความชุ่มชื้นในร่างกายลง ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียง่าย เมื่อออกไปเผชิญความร้อน
  • ผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักมากเกินมาตรฐาน อาจทำให้ตัวคุณเสี่ยงที่จะกักเก็บความร้อนไว้ในร่างกายได้มากกว่าผู้อื่น จนในบางครั้งที่คุณอยู่ในสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท ก็สามารถส่งผลให้รู้สึกเวียนหัว หรือหมดสติลงไปในทันที

คำแนะนำในการรับมือกับ อาการอ่อนเพลียจากความร้อน และ โรคลมแดด

ยามที่คุณรู้สึกได้ว่าตนเองกำลังเริ่มเหนื่อย เพลีย หรือหอบ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้นเหล่านี้

  • ให้พยายามมองหาสถานที่พอมีร่มเงาบดบัง หรือเข้าไปอยู่ภายใต้อาคารที่มีอากาศเย็น ที่มีอากาสถ่ายเทสะดวก
  • หากผู้ที่ใส่เสื้อผ้ารัดกุมจนทำให้ตนเองหายใจลำบากนั้น โปรดปลดกระดุม หรือเสื้อชั้นนอกออกเพื่อให้เกิดการหายใจที่ง่าย ไหลเวียนสะดวกขึ้น
  • ในกรณีที่อยู่ในช่วงทำกิจกรรมที่ใช้พลังงานเยอะ อย่างการออกกำลังกาย การวิ่ง ให้คุณหยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ทันที และหาเครื่องดื่มที่เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกายตนเอง เช่น น้ำเกลือแร่สำหรับนักกีฬา น้ำหวานเย็น ๆ เป็นต้น

ถ้าหากปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วยังรู้สึกไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง โปรดนำตัวส่งโรงพยาบาลที่ใกล้สถานที่นั้น ๆ ให้ได้มากที่สุด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจทำการรักษา ด้วยการนำตัวคุณลงในอ่างน้ำเย็น พ่นไอเย็น หรือนำน้ำแข็งประคบตามจุดต่าง ๆ เพื่อลดอุณหภูมิความร้อนลง

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is the difference between heatstroke and heat exhaustion? https://www.medicalnewstoday.com/articles/321972 Accessed May 29, 2020

Do You Have Heat Stroke or Heat Exhaustion? Learn the Signs https://www.healthline.com/health/heat-stroke-vs-heat-exhaustion Accessed May 29, 2020

Heat Exhaustion First Aid Tips  https://www.medicinenet.com/heat_exhaustion/article.htm Accessed May 29, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/06/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

An interview with Dr Joseph Saba, Chief Executive Officer at Axios

เพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย ด้วย 8 ผลไม้คลายร้อน ต้อนรับซัมเมอร์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 18/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา