backup og meta

ฝึกหายใจขยายปอด หายใจถูกวิธี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปอดได้

ฝึกหายใจขยายปอด หายใจถูกวิธี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปอดได้

ความจุปอด คือปริมาณของอากาศที่ปอดสามารถเก็บได้ เมื่อายุมากขึ้น ความจุและการทำงานของปอดก็จะลดลงอย่างช้า ๆ และยิ่งมีปัญหาเรื่องสุขภาพปอด หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease (COPD)) ก็จะยิ่งส่งผลต่อใหความจุของปอดลดลง และยังส่งผลต่อความยากในการทำงานของปอดอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีการ ฝึกหายใจขยายปอด หายใจอย่างไรช่วยเพิ่มความจุของปอดมาแชร์กันค่ะ

การ ฝึกหายใจขยายปอด คืออะไร

ปอดมีหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ และส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และช่วยทำให้สมอง หัวใจและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแข็งแรง สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือมีปัญหาในการหายใจ ก็จะส่งต่อความจุของปอด โดยปอดไม่สามารถกักเก็บหรือจุปริมาณออกซิเจนได้อย่างเต็มที่

ทั้งนี้การ ออกกำลังกาย ฝึกขยายปอด เพื่อเพิ่มความจุของปอด เพือให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ Fatima D’ silva พบว่าการฝึกหายใจ มีผลต่อการลดความวิตกกังวลและความดันตัวล่าง (Diastolic blood pressure) ในคนไข้โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) สำหรับใครที่ปัญหาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับปอดควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการฝึกรูปแบบนี้ นอกจากนี้ผลการวิจัยของ วิธีการ ฝึกหายใจขยายปอด เพิ่มความจุ

รูปแบบการ ฝึกขยายปอด

การหายใจกระบังลม (Diaphragmatic breathing)

การหายใจแบบกะบังลม คือ ฝึกขยายปอด ที่เน้นการหดตัวของกล้ามเนื้อกระบังลม เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ส่งผลต่อการขยายปอด ซึ่งเทคนิคเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยให้ปอดขยายมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่ป่วยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยสามารถฝึกการหายใจกระบังลมได้ ดังนี้

  • นั่งหรือนอนราบ ในท่าทางที่สบายปล่อยคอ บ่า ไหล่ให้ผ่อนคลาย
  • วางมือข้างหนึ่งไว้ที่หน้าท้อง มืออีกข้างวางไว้ที่หน้าอก ขณะที่หายใจเข้าหน้าท้องควรขยับมากกว่าหน้าอก
  • หายใจเข้า ขณะหายใจเข้าพยายามดันท้องให้ป่องขึ้น เมื่อหายใจออกให้ท้องแฟ่บลง วิธีการฝึกแบบนี้จะช่วยให้ปอดหดตัวได้ดี และส่งผลให้ปอดขยายตัวดีขึ้น 
  • ทำแบบเดิมซ้ำอีก

การหายใจแบบเป่าปาก (Purse lip breathing exercise)

การหายใจแบบเป่าปาก เป็นรูปแบบการหายใจเข้าทางจมูกอย่างช้า ๆ ขณะหายใจเข้าก็นับ 1 2 อย่างช้า ๆ ไปด้วย และตอนหายใจออกให้ห่อปากเล็ก ๆ และพ่นลมหายใจออกทางปากอยางช้า ๆ โดยค่อย ๆ ปล่อยลมออกนับ 1 2 3 4 ในช่วงที่หายใจออกนั้นค่อย ๆ ปล่อยลมเป็น 4 ครั้ง ตามจังหวะที่นับตัวเลขในใจ ซึ่งการหายใจแบบนี้ 10-20 ครั้ง ถือเป็นการ ฝึกขยายปอด ที่ช่วยในการบริหารปอด เพื่อช่วยในการชะลอการตีบของหลอดลม เพิ่มความจุของอากาศในปอด

นอกจากนี้การหายใจออกทางปากนั้นเป็นการลดการค้างของอากาศในปอดอีกด้วย จากการศึกษาพบว่าการหายใจแบบเป่าปากอย่าต่อเนื่อง วันละ 2 รอบ รอบละ 10 นาที นาน 11 สัปดาห์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อ ที่มีส่วนช่วยในการหายใจ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด 

เคล็บลับดี ๆ ที่ช่วยรักษาสุขภาพปอด

ปอดเป็นอวัยวะที่สำคัญ ที่ช่วยในการหายใจ หากเรามีสุขภาพปอดที่แข็งแรงก็จะช่วยให้การหายใจดีไปด้วย การดูแลสุขภาพปอดจึงเป็นเรื่อวที่สำคัญ การ ฝึกขยายปอด เพียงอย่างเดียวนั้นอาจไม่เพียงพอต่อการดูแลปอดการดูแลและหลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็มีส่วนช่วยให้สุขภาพปอดดีขึ้นได้

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Breathing Exercises to Increase Lung Capacity. https://www.healthline.com/health/how-to-increase-lung-capacity. Accessed December 19, 2019.

What exercises can help increase lung capacity? https://www.medicalnewstoday.com/articles/323787.php#tips-for-preserving-lung-health. Accessed December 19, 2019.

Breathing Exercises. https://www.lung.org/lung-health-and-diseases/protecting-your-lungs/breathing-exercises.html. Accessed December 19, 2019.

การจัดการอาการหายใจลําบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Download/Format_Checker/6/16.pdf. Accessed December 19, 2019.

เรียนรู้การฝึกหายใจ เรื่องง่ายๆ ที่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด. https://www.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/download/97679/76083/. Accessed December 19, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/04/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูแล "สุขภาพปอด" ให้แข็งแรง และห่างไกลจากโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง

อายุที่มากขึ้น ส่งผลต่อปอด อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 21/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา