backup og meta

โรคแพ้ตึก ภัยเงียบอีกรูปแบบของคนทำงาน

โรคแพ้ตึก ภัยเงียบอีกรูปแบบของคนทำงาน

พนักงานออฟฟิศทุกท่านโปรดทราบ หากคุณกำลังเกิดอาการ อ่อนเพลีย ระคายเคืองจมูก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ มีอาการภูมิแพ้ระหว่างทำงานจงระวัง! เพราะนี่เป็นสัญญาณเตือนว่า โรคแพ้ตึก กำลังจู่โจมคุณ เราลองมาดูกันว่า โรคภูมิแพ้ชนิดนี้เป็นอย่างไรกัน

โรคแพ้ตึก คืออะไร

โรคแพ้ตึก (Sick building syndrome) คือ โรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง โดยทางการแพทย์ระบุไว้ว่าภูมิแพ้มี 2 ลักษณะ คือ ภูมิแพ้ที่เกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่สามารถต้านทานสารก่อภูมิแพ้ได้ เช่น อาหารทะเล กลูเตน นมวัว ฝุ่นละออง

ส่วนกรณีที่สอง คือ ภูมิแพ้จากสารเคมี ที่ร่างกายเกิดอาการระคายเคืองเพราะสิ่งเร้าภายนอก ไม่ใช่เพราะระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานบกพร่อง ซึ่งโรคแพ้ตึกนี้ จัดเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดแพ้สารเคมี ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในออฟฟิศ และจะก่อให้เกิดอาการเดียวกัน

สาเหตุของโรคแพ้ตึก

โรคแพ้ตึก มีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมและเครื่องใช้ต่างๆ ภายในออฟฟิศ ส่วนใหญ่แล้วจะระบาดในออฟฟิศที่เปิดเครื่องปรับอากาศเป็นเวลานาน หรือตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีการเปิดหน้าต่าง หรือทำให้อากาศถ่ายเท ส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศ และเนื่องจากออฟฟิศเป็นแหล่งรวมตัวของผู้คนมากมาย เมื่อมีใครไม่สบาย เช่น เป็นไข้หวัด เชื้อโรคจึงอบอวลอยู่ภายในออฟฟิศ จนกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคนานาชนิด

นอกจากเชื้อโรคแล้ว เครื่องใช้สำนักงานในออฟฟิศ ก็สามารถก่อให้เกิดโรคแพ้ตึกได้เช่นกัน เช่น หมึกพิมพ์จากเครื่องพิมพ์เอกสาร หรือปรินเตอร์ หากอยู่ในสถานที่แคบ หรือ บริเวณที่ไม่มีอากาศถ่ายเท จะทำให้สารเคมีจากหมึกพิมพ์ระเหยเข้าไปในเครื่องปรับอากาศ และหมุนวนอยู่ภายในออฟฟิศ จนเกิดสารพิษสะสมและเกิดมลภาวะทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อคนในออฟฟิศ นอกจากหมึกเครื่องพิมพ์แล้ว เครื่องใช้ที่มีสารเคมีเจือปนหรือเป็นแหล่งสะสมฝุ่นละออง ก็สามารถก่อให้เกิดโรคแพ้ตึกได้เช่นกัน

อาการของโรคแพ้ตึก

ผู้ที่เป็นโรคแพ้ตึก จะมีอาการเบื้องต้นเหมือนพักผ่อนไม่พอ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ แต่อาการเหล่านี้อาจทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กลายเป็นอาการคล้ายไข้หวัด น้ำตาไหล น้ำมูกไหล หายใจติดขัด คลื่นไส้อาเจียน โดยอาการเหล่านี้มักเป็นๆ หายๆ เมื่ออยู่นอกออฟฟิศอาการจะไม่ปรากฎ แต่เมื่อกลับเข้าออฟฟิศอาการก็จะกลับมา และอาจรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนคุณไม่สามารถทนอยู่ในออฟฟิศได้อีกต่อไป แต่ที่ร้ายกว่านั้นคือ คุณอาจไม่ทราบว่าตัวเองกำลังป่วย หรือเป็นเพียงอุปาทานไปเอง เนื่องจากสภาพจิตใจกันแน่

วิธีป้องกันโรคแพ้ตึก

  1. ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เช่น เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทบ้าง
  2. ควรทำความสะอาด และล้างตู้แอร์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  3. ทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ ที่อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อรา หรือฝุ่นละอองในออฟฟิศ เช่น ม่าน พรมเช็ดเท้า อย่างสม่ำเสมอ
  4. ปลูกต้นไม้ที่มีคุณสมบัติช่วยฟอกอากาศได้ เช่น เฟิร์นบอสตัน พลูด่าง ต้นเงินไหลมา วิธีนี้นอกจากจะช่วยทำให้มลพิษทางอากาศดีขึ้นแล้ว สีเขียวของต้นไม้ยังช่วยให้ออฟฟิศดูสดชื่นมากขึ้นด้วย
  5. ทิ้งขยะทุกวัน อย่าให้มีขยะตกค้างในออฟฟิศ เพราะจะกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
  6. วันหยุดควรพักผ่อน หรือไปเที่ยวสถานที่ที่เปิดกว้าง ร่มรื่น เช่น สวนสาธารณะ เพราะจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด และลดมลพิษที่คุณได้รับทุกวันจากออฟฟิศ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sick-Building Syndrome. https://www.webmd.com/men/features/sick-building-syndrome#2. Accessed on June 8,2018

Sick-Building Syndrome. https://www.epa.gov/sites/production/files/2014-08/documents/sick_building_factsheet.pdf. Accessed on June 8,2018

Sick-Building Syndrome. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2796751/. Accessed on June 8,2018

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/07/2020

เขียนโดย ชมพูนุช ทรงถาวรทวี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำงานเป็นกะ กับสารพันปัญหาสุขภาพที่ต้องพร้อมรับมือ

ปวดหลัง ปวดไหล่ เพราะนั่งนาน นั่งทำงานอย่างไรไม่ให้ปวดหลัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชมพูนุช ทรงถาวรทวี · แก้ไขล่าสุด 14/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา