backup og meta

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ในช่วงทำเคมีบำบัด

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ในช่วงทำเคมีบำบัด

การทำเคมีบำบัด อาจจะส่งผลต่อการรับรสชาติต่างๆ อาหารที่รับประทานเข้าไปอาจมีรสชาติที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงอาจทำให้เราไม่สามารถรับรู้ได้ถึงรสชาติของอาหาร หรือบางครั้งอาจทำให้รสชาติของอาหารผิดเพื้ยนไป วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความดี ๆ เกี่ยวกับ อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ในช่วงทำเคมีบำบัด

การรับมือกับผลข้างเคียงจาก เคมีบำบัด

ในช่วงทำเคมีบำบัด จะมีหลาย ๆ อย่างในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับรสของอาหาร บางครั้งลิ้นเราอาจไม่สามารถับรสของอาหารได้ หรือบางครั้งการรับรสอาจมีความผิดเพื้ยนไปจากเดิม หากในช่วงที่ทำเคมีบำบัด แม้แต่การดื่มน้ำเปล่าก็เป็นเรื่องยาก คุณอาจจะลองดื่มน้ำแร่ที่มีการปรุงแต่งรสชาติ อย่างเช่น รสเลมอน เพื่อช่วยให้ดื่มน้ำได้มากขึ้น หลายๆ คนที่ทำเคมีบำบัดอาจเกิดปัญหาท้องผูก ดังนั้นเรื่องอาหารการกินจึงเป็นที่สำคัญมาก

การจัดการกับอาการท้องผูกจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ คุณต้องรักษาความชุ่มชื้นเพราะจะช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้ การรับประทานอาหารที่มีกากใยจำนวนมากก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดอาการท้องผูก และการเดินออกกำลังกายเพียง 20 นาที เท่านี้ก็ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นได้ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่ดี และเหมาะสมจึงเป้อีกทางที่ช่วยรับมือกับผลข้างเคียงที่เกิดจากการทำเคมีบำบัดได้ 

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ในช่วงทำเคมีบำบัด

การทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือที่รู้จักกันในชื่อ การทำคีโม เป็นหนึ่งวิธีในการรักษามะเร็ง ซึ่งจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ เช่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย  ปากแห้ง คลื่นไส้ และรู้สึกเบื่ออาหาร แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงได้เร็วขึ้น อาหารที่มีรสชาติอ่อนๆ ย่อยง่าย และอุดมไปด้วยสารอาหารจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในช่วงทำเคมีบำบัด เช่น

  1. อะโวคาโด เป็นผลไม้ที่มีไขมันดี ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล LDL และช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอล HDL อีกด้วย นอกจากนี้ อะโวคอโดยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยอะโวคาโด 100 กรัม จะให้ไฟเบอร์ถึงร้อยละ 27 ของปริมาณที่ต้องการต่อวัน ที่สำคัญอะโวคาโดยังให้พลังงานแคลอรี่ที่สูง และช่วยให้รู้สึกอิ่มได้ง่าย จึงเหมาะกับผู้ที่เบื่ออาหาร
  2. ไข่ อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมัน ไข่ขนาดกลางมีโปรตีนถึง 6 กรัมและมีไขมันถึง 4 กรัม ซึ่งไขมันจะช่วยเป็นพลังงานให้กับร่างกาย ส่วนโปรตีนจะช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อ ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นอย่างมากในช่วงทำเคมีบำบัด นอกจากนี้ ไข่ ยังสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารอ่อนๆ เคี้ยวและรับประทานได้ง่าย ทำ จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลีย
  3. น้ำซุป ในช่วงที่ทำเคมีบำบัดการรับรู้รสชาติจะมีการเปลี่ยนแปลงไป แม้กระทั่งรสชาติของน้ำเปล่า จึงทำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำได้น้อย น้ำซุป จึงเป็นทางเลือกที่ดี ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้ดื่มน้ำที่มากขึ้น ไม่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ เนื่องจากการที่น้ำซุปเกิดจากการตุ๋นผักและเนื้อต่างๆ เข้าด้วยกัน จึงทำให้น้ำซุปมีรสชาติ แถมยังอุดมไปด้วยสารอาหารมากมายที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้แล้วด้วยความที่น้ำซุปจัดเป็นอาหารเหลว ผู้ป่วยจึงสามารถกินได้ง่ายขึ้น
  4. อัลมอนด์และถั่วต่าง ๆ ในระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด ขนมขบเคี้ยวต่างๆ ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยเลยที่เดียว การรับประทานอัลมอนด์หรือว่าถั่วต่างๆ สามารถรับประทาน ขบเคี้ยว แทนขนมต่างๆ ได้ เพราะพวกถั่วนั้นอุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และถั่วบางชนิดยังมีไขมันที่ดีอีกด้วย
  5. บร็อคโคลี่และผักตระกูลกะหล่ำ อย่างเช่น ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี บร็อคโคลีเซียม และผักเคล พืชเหล่านี้เต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบร็อคโคลี่ ที่ให้ปริมาณวิตามินซีเป็นจำนวนมาก ซึ่งวิตามิซีเป็นวิตามินที่สำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเป็นอย่างมาก นอกจากนี้บร็อคโคลี่ยังมีสารประกอบที่ช่วยบำรุงสมองได้อีกด้วย
  6. สมูทตี้ สมูทตี้เป็นเมนูที่ดี เมื่อผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่ต้องการรัประทานอาหารหนักๆ แต่ร่างกายของคนเราก็ยังต้องการสารอาหารเพื่อไปบำรุงร่างกาย สมูทตี้จึงเป้นอีกทางเลือกเพราะรับประทานได้ง่าย สมูทตี้ จึงเป็นเมนูที่มีทางเลือกมากมาย ว่าจะใส่อะไรลงไปปั่นบ้าง จึงทำให้ผู้ป่วยไม่เบื่อกับอาหารเดิมๆ และสนุกกับการผสมผักและผลไม้ต่างๆ ได้อีกด้วย แต่ควรระวังเรื่องปริมาณน้ำตาลในส่วนผสม
  7. ปลา เป็นเนื้อสัตว์ที่รับประทานได้ง่าย แถมยังมีโปรตีน และกรดไขมัน โอเมก้า 3 มาก ซึ่งมันจะช่วยบำรุงสมองและต้านอาการอักเสบ รวมไปถึงการรับประทานปลาที่มีไขมันมากยังช่วยให้น้ำหนักไม่ลดลงไปมาก เพราะได้รับไขมันดีจากปลา ชนิดปลาที่ให้ปริมาณไขมันโอเมก้า 3 มาก เช่น แซลมอน ทูน่า ซาร์ดีน เป็นต้น

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Starting Chemotherapy: 15 Nutrition Tips

https://www.webmd.com/cancer/features/15-nutrition-tips-chemo#1

Nutrition Services for Cancer Patients

https://stanfordhealthcare.org/medical-clinics/cancer-nutrition-services/during-cancer-treatment/nutrition-during-chemo.html

Eating during cancer treatment: Tips to make food tastier

https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cancer/in-depth/cancer/art-20047536

Tips for Managing Eating Problems and Your Diet after Chemo Treatments

http://chemocare.com/chemotherapy/health-wellness/tips-for-managing-eating-problems.aspx

10 Foods to Eat During Chemotherapy

https://www.healthline.com/nutrition/foods-for-chemo

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/07/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

การบริโภค อาหารออร์แกนิก ลดความเสี่ยงมะเร็ง ได้จริงหรือไม่

อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เป็นมะเร็งเต้านม ควรกินอะไรเพิ่มดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา