backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

อาหารเสริมไบโอติน ดีอย่างไร เราจำเป็นต้องกินรึเปล่า

อาหารเสริมไบโอติน ดีอย่างไร เราจำเป็นต้องกินรึเปล่า

ไบโอติน (Biotin) เป็นสารอาหารที่ผู้คนในยุคนี้หันมาให้ความสนใจกันมาก เนื่องจากมักจะมีคำโฆษณาให้เราเห็นกันอยู่เสมอว่า ช่วยทำให้ผมดูดกดำและมีสุขภาพดี รวมทั้งทำให้ผิวหน้าดูเปล่งปลั่ง และช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเล็บด้วย ถึงแม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าไบโอตินช่วยเราในเรื่องนั้นได้จริงหรือเปล่า แต่คนที่กิน อาหารเสริมไบโอติน ก็มักจะสังเกตถึงความแตกต่างได้ ซึ่งจริงๆแล้วไบโอตินส่งผลดีต่อร่างกายได้มากกว่าที่กล่าวมาแล้วซะอีกนะ ซึ่งนี่คือข้อมูลเกี่ยวกับไบโอตินที่คุณควรรู้เอาไว้ รวมทั้งวิธีสังเกตว่าคุณจำเป็นต้องกินอาหารเสริมชนิดนี้หรือเปล่าด้วย

ไบโอตินพบได้ในอาหารประเภทใด

สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติของอเมริกาว่าเอาไว้ว่า วิตามินบีชนิดนี้คือสารอาหารจำเป็นต้องร่างกาย ซึ่งเราอาจจะคุ้นในชื่อไบโอตินซึ่งเป็นอาหารเสริมกันมากกว่า ซึ่งจริงๆ แล้วไบโอตินมีอยู่ในอาหารทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเนื้อสัตว์ อย่างเนื้อวัวและตับนั้น นับเป็นแหล่งไบโอตินที่สำคัญมาก รวมทั้งเนื้อหมูและแฮมเบอร์เกอร์ ก็พบไบโอตินอยู่มากด้วย นอกจากนี้ยังพบในเนื้อปลา ไข่ ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืช และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมด้วย แถมในพืชผักต่างๆก็ยังเจอด้วย อย่างเช่น มันฝรั่ง ผักโขม และบร็อคโคลี่

ไบโอตินทำหน้าที่อะไร

ไบโอตินช่วยทำหน้าที่เผาผลาญกรดไขมัน กลูโคส (หรือน้ำตาลในเลือด) และกรดอะมิโนต่างๆในร่างกาย หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ไบโอตินจะช่วยเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรท ไขมัน และโปรตีนในอาหารที่คุณกินเข้าไปให้เป็นพลังงาน แถมยังช่วยควบคุมการทำงานของยีน รวมทั้งการส่งสัญญานไปยังเซลล์ต่างๆในร่างกายด้วย

นอกจากนี้ไบโอตินยังช่วยควบคุมระบบประสาทให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีบทบาทสำคัญในการสร้างเล็บ ผิวหนัง และเส้นผมให้มีสุขภาพดีด้วย แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า ถ้าคุณมีไบโอตินอยู่ในร่างกายอย่างพอเพียงแล้ว การกินอาหารเสริมไบโอตินเพิ่มเข้าไปอีก ก็จะช่วยให้ผิว ผม และเล็บดูสวยและมีสุขภาพดีขึ้นหรอกนะ

จะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายต้องการไบโอตินเพิ่ม

ยังไม่มีการระบุอย่างแน่นอนว่าร่างกายคนเราต้องการไบโอตินในปริมาณเท่าไหร่ต่อวัน จึงทำให้เรารู้ได้ยากว่าควรกินอะไรในปริมาณแค่ไหน แต่อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญจากเมโยคลีนิคในสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำให้กินวันละ 30 ถึง 100 ไมโครกรัมสำหรับวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งก็พบไม่มากนักหรอกนะ ที่จะมีอาการขาดไบโอติน ถ้าเรากินอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ได้กินอะไรซ้ำไปซ้ำมาอยู่บ่อยๆ

เมโยคลีนิคในอเมริกาได้ระบุเอาไว้ว่า ผู้ที่ขาดไบโอตินซึ่งเป็นอาการผิดปกติทางพันธุกรรมนั้น มักจะพบอาการผิวหนังอักเสบของต่อมไขมัน (seborrheic dermatitis) ในเด็กทารก และการผ่าตัดกระเพาะอาหารก็ทำให้เกิดอาการขาดไบโอตินได้เหมือนกัน นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็อาจมีส่วนทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมไบโอตินไปใช้งานตามปกติได้เหมือนกัน

อาการขาดไบโอตินยังพบได้มากในสตรีมีครรภ์ด้วย ซึ่งสามในสี่ของสตรีมีครรภ์มักจะมีอาการขาดไบโอตินเล็กน้อย ถึงแม้จะกินอาหารที่อุดมไปด้วยไบโอตินมากกว่าปกติแล้วก็ตาม ซึ่งอาการขาดไบโอตินที่พบโดยส่วนใหญ่ก็คือ ผื่นแดงรอบดวงตา จมูก และปาก รวมทั้งอาการลมชัก เล็บเปราะ และผมบางด้วย

ถ้าใครสงสัยว่าตัวเองอาจจะขาดไบโอติน ก็ควรปรึกษาคุณหมอดูนะ ซึ่งคุณหมออาจจะใช้วิธีตรวจเลือด เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องก็ได้

ควรจะกิน อาหารเสริมไบโอติน ดีมั้ย

ถ้าใครอยากจะลองกินอาหารเสริมไบโอตินดู ก็สามารถทำได้ถึงแม้ไบโอตินในรูปของอาหารเสริม จะมีปริมาณเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน คือในหนึ่งเม็ดมักจะมีปริมาณไบโอตินอยู่ระหว่าง 1,000 ถึง 10,000 ไมโครกรัม ซึ่งถ้ากินเข้าไปมากเกิน ร่างกายก็จะขับออกมาทางปัสสาวะ แถมสถาบันสาธารณสุขของอเมริกายังระบุเอาไว้ด้วยว่า ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าไบโอตินจะส่งผลเสียรุนแรงต่อร่างกายด้วย

แต่อย่างไรก็ตามควรปรึกษาคุณหมอดูก่อนนะ ว่าคุณควรจะกินไบโอตินในรูปอาหารเสริมหรือเปล่า ซึ่งควรขอคำแนะนำในเรื่องปริมาณที่ควรกินในแต่ละวันด้วย

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Truth About Biotin Supplemets, According to Nutritionists https://www.allure.com/story/should-i-take-biotin-supplements-vitamin-b7-deficiency Accessed on June 4, 2018

Biotin https://www.webmd.com/vitamins-and-supplements/supplement-guide-biotin#1 Accessed on June 4, 2018

Health Benefits of Biotin. https://www.healthline.com/health/the-benefits-of-biotin
Accessed 30 September 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/10/2020

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 07/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา