backup og meta

ไขมันกับคาร์โบไฮเดรต อะไรคือตัวการความอ้วนกันแน่

ไขมันกับคาร์โบไฮเดรต อะไรคือตัวการความอ้วนกันแน่

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า หากเราบริโภค ไขมันกับคาร์โบไฮเดรต มากเกินไป ก็สามารถทำให้น้ำหนักขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่จากผลการศึกษาวิจัยล่าสุดพบว่า ตัวการที่ทำให้เราเป็นโรคอ้วนคือ “ไขมัน’ ส่วนคาร์โบไฮเดรตอาจเป็นแค่แพะรับบาปเท่านั้น เรื่องนี้มีรายละเอียดยังไง เราไปดูกันเลย

ผลการศึกษาเรื่องไขมันกับคาร์โบไฮเดรต

นักวิทยาศาสตร์ที่ได้ศึกษาวิจัยกับหนูทดลองพบว่า การกินไขมันมากเกินไปจะทำให้เรามีปัญหาเรื่องความอ้วนได้ ในขณะที่คาร์โบไฮเดรต (รวมทั้งแคลอรี่ 30 เปอร์เซ็นต์ที่ได้จากน้ำตาลซูโครส) ไม่ได้ส่งผลกระทบในเรื่องนี้เลย นอกจากนี้อาหารที่มีทั้งไขมันและน้ำตาลนั้น ยังไม่ส่งผลให้เกิดไขมันในร่างกายมากกว่าการกินที่มีแต่ไขมันเพียงอย่างเดียวด้วย

สำหรับโปรตีน ทีมนักวิจัยเผยว่า มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าการบริโภคโปรตีนสามารถส่งผลกระทบต่อการบริโภคสารอาหารประเภทอื่น หรือมีผลต่อปริมาณไขมันในร่างกายได้ ส่วนสาเหตุที่ไขมันนำไปสู่โรคอ้วนได้นั้น นักวิจัยเชื่อว่า เป็นเพราะไขมันคือตัวการทำให้สมองรู้สึกพึงพอใจ จึงกระตุ้นให้ร่างกายอยากกินอาหารที่มีแคลอรีสูงๆ ซึ่งนั่นคือต้นเหตุที่ทำให้น้ำหนักขึ้น แต่ข้อจำกัดของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ก็คือ นี่เป็นการวิจัยในหนูทดลอง ยังไม่ใช่การวิจัยกับมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากหนูและมนุษย์มีโครงสร้างทางพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกัน ผลการทดลองที่ได้จึงอาจใกล้เคียงกับผลทดลองในมนุษย์

อาหารที่มีไขมันสูง

ไขมันมีทั้งชนิดที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และชนิดที่ไม่ดีมีมากไปก็เป็นโทษ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

  • ไขมันทรานส์ มักพบในขนมเค้ก โดนัท บิสกิต ขนมขบเคี้ยว เป็นไขมันที่ช่วยให้อาหารไม่เน่าเสียง่าย ซึ่งคณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดระบุว่า การกินไขมันทรานส์ไม่ว่าในระดับไหนก็ไม่มีความปลอดภัยทั้งนั้น
  • ไขมันอิ่มตัว พบมากในเนื้อแดงและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ซึ่งว่ากันว่าอาหารจำพวกนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ เนื่องจากผลการศึกษาวิจัยพบว่าอาหารพวกนี้จะทำให้มีคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนก็ระบุว่าสาเหตุไม่ได้มาจากไขมันอิ่มตัวอย่างเดียว
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว จัดเป็นไขมันชนิดดี พบมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย อะโวคาโด เป็นต้น
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน จัดเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จึงต้องได้รับจากการบริโภคเข้าไป โดยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสามารถพบได้ในน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ลดไขมันทุกชนิด หรือใช้ไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันอิ่มตัว โดยผู้ชายไม่ควรบริโภคไขมันอิ่มตัวเกินวันละ 30 กรัม ผู้หญิงไม่ควรบริโภคไขมันอิ่มตัวเกินวันละ 20 กรัม ส่วนเด็กควรบริโภคไขมันให้น้อยที่สุด คุณพ่อคุณแม่จึงควรควบคุมอาหารแต่ละมื้อของลูกให้ดี ให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ โปรตีน หลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ด เนื่องจากส่วนใหญ่มีไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวสูง เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ส่วนใหญ่มีไขมันอิ่มตัวถึง 18 กรัมเลยทีเดียว

ต้นเหตุของความอ้วนจากเมื่อก่อนถึงตอนนี้

ในช่วงทศววรษ 1980 และ 1990 นั้น มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เราน้ำหนักขึ้นนั้น ก็คือส่วนประกอบของไขมันในอาหารที่เรากินเข้าไป แต่พอวันเวลาผ่านมาถึงยุคมิลเลนเนียม ก็มีการบอกว่า การพุ่งเป้าไปที่ไขมันนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคอ้วน ก็คือคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี และบทความสุขภาพในยุคนั้นมุ่งเน้นเรื่องที่ว่า จริงๆ แล้วการกินไขมันอาจช่วยให้เราป้องกันโรคอ้วนได้ด้วยซ้ำไป และเมื่อไม่ช้าไม่นานมานี้ เป้าหมายการโจมตีก็เปลี่ยนมาที่โปรตีน โดยตั้งสมมติฐานว่า คนที่กินอาหารเข้าไปเพื่ออยากจะได้โปรตีนมากกว่าพลังงาน ถ้ากินโปรตีนเข้าไปไม่พอ ก็จะต้องทำให้กินอะไรมากขึ้นเพื่อเป็นการชดเชย เลยต้องมีแคลอรีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

อาหารที่ดีต่อสุขภาพช่วยป้องกันโรคได้

มีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่ระบุว่าอาหารที่มีประโยชน์และรูปแบบการกินที่ดีต่อสุขภาพ สามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ นอกจากนี้ก็อาจช่วยป้องกันไม่ให้น้ำหนักขึ้นได้ด้วย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • กินอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปหรือแปรรูปน้อยที่สุด โดยเลือกกินอาหารแบบเต็มส่วนและไม่ผ่านการขัดสี ผัก ผลไม้ ถั่วเปลือกแข็ง แหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพ เช่น ปลา สัตว์ปีก ถั่ว เป็นต้น
  • จำกัดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ธัญพืชที่ผ่านการขัดสี มันฝรั่ง เนื้อแดงและเนื้อที่ผ่านการแปรรูป และอาหารที่ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพของวัตถุดิบ เช่น ฟาสต์ฟู้ด

แม้การศึกษาวิจัยจะมุ่งเน้นว่าไขมันเป็นตัวการทำให้เกิดโรคอ้วน แต่ก็ใช่ว่าคุณจะเลี่ยงไขมันแล้วกินคาร์โบไฮเดรตเยอะๆ ได้ เพราะ ไขมันกับคาร์โบไฮเดรต หากกินเยอะเกินไป ต่างก็ก่อโรคได้ทั้งสิ้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Fats or carbs: What causes obesity?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/322481.php. Accessed on August 21, 2018

Fat consumption is the ONLY cause of weight gain! ‘Unequivocal’ data reveals protein and carbs are not responsible for a bulging waistline. http://www.dailymail.co.uk/health/article-5958463/Fat-consumption-cause-weight-gain.html. Accessed on August 21, 2018

Food and Diet. https://www.hsph.harvard.edu/obesity-prevention-source/obesity-causes/diet-and-weight/. Accessed on August 21, 2018

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2021

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Ploylada Prommate


บทความที่เกี่ยวข้อง

คาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจได้

เพียงแค่ลดการบริโภคไขมันก็ช่วย ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม ได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา