backup og meta

make love คือ อะไร แตกต่างจากการมีเซ็กส์อย่างไร

make love คือ อะไร แตกต่างจากการมีเซ็กส์อย่างไร

Make love คือ คำศัพท์ที่ใช้เรียกการมีเพศสัมพันธ์ในลักษณะที่มีความใกล้ชิดทางอารมณ์และให้ความสำคัญต่อความต้องการของกันและกัน มากกว่าแค่ตอบสนองต่อความต้องการทางเพศเพียงอย่างเดียว แตกต่างจากการมีเซ็กส์ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางกายที่จะทำโดยมีหรือไม่มีอารมณ์รักใคร่มาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้

[embed-health-tool-ovulation]

Make love คือ อะไร

การร่วมรัก หรือเมคเลิฟ คือ การมีเพศสัมพันธ์ที่ทำเพื่อแสดงความรักไม่ใช่แค่ทำเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางกายเพียงอย่างเดียว การเมคเลิฟมักจะมีอารมณ์และความรู้สึกผูกพันและรักใคร่ร่วมด้วย คู่รักจะให้ความสำคัญในการใช้เวลาเล้าโลมและสัมผัสใกล้ชิดกันเพื่อสร้างช่วงเวลาที่ดีต่อกันมากกว่าแค่การสนองความใคร่ไปจนถึงระยะจุดสุดยอดเท่านั้น การเมคเลิฟที่เป็นไปตามที่แต่ละฝ่ายต้องการจะช่วยให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้น ถือเป็นการตอบสนองต่อความปรารถนาทางกายบนพื้นฐานของความรักและความเคารพซึ่งกันและกัน

ความแตกต่างของการเมคเลิฟและการมีเซ็กส์

การเมคเลิฟและการมีเซ็กส์มีความเชื่อมโยงทางอารมณ์และความสนิทสนมกันของทั้งสองฝ่ายในระดับที่แตกต่างกัน การเมคเลิฟเป็นการแสดงความรักต่อกันผ่านการสัมผัสใกล้ชิดและให้ความสำคัญกับความต้องการของอีกฝ่ายไปพร้อม ๆ กับความต้องการของตัวเอง และมักใช้เวลากระตุ้นอารมณ์และมอบความพึงพอใจให้กับคู่ของตัวเองมากกว่าที่จะสนองความต้องการทางเพศของตัวเองเท่านั้น อาจกล่าวได้ว่า การเมคเลิฟเป็นการแสดงความรักต่อบุคคลที่ตัวเองรู้สึกผูกพันลึกซึ้ง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ ในขณะที่การมีเซ็กส์ คือ การมีความสัมพันธ์ทางกายทั่วไปเพื่อตอบสนองต่อความสุขทางเพศของทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถทำกับใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีอารมณ์รักใคร่หรือความผูกพันทางอารมณ์มาเกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม การเมคเลิฟและการมีเซ็กส์ คือการร่วมเพศด้วยท่าร่วมเพศต่างๆ เช่นเดียวกัน เช่น ท่ามิชชันนารี ท่าคาวเกิร์ล รวมทั้ง มีการกอด จูบ ลูบ คลำ หรือเล้าโลม รวมทั้งสอดใส่ผ่านช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือการทำออรัลเซ็กส์เพื่อให้อีกฝ่ายถึงจุดสุดยอดเช่นเดียวกัน

ประโยชน์ของกิจกรรมทางเพศต่อสุขภาพ

การทำกิจกรรรมทางเพศ ไม่ว่าจะในรูปแบบของการเมคเลิฟหรือการมีเซ็กส์ หากทำอย่างถูกต้องและอยู่บนพื้นฐานความต้องการของทุกฝ่าย อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้

  • ช่วยให้นอนหลับสบาย เมื่อถึงจุดสุดยอดจากการมีเพศสัมพันธ์ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองที่ชื่อว่าโปรแลคติน (Prolactin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกผ่อนคลายและง่วงนอน ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
  • ช่วยผ่อนคลายอารมณ์และคลายเครียด ในขณะทำกิจกรรมทางเพศกับคู่นอน ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินและออกซิโทซิน (Oxytocin) ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเนื้อตัว ทำให้รู้สึกสบายใจ อาจช่วยคลายเครียด และส่งผลดีต่อสุขภาพจิตโดยรวมด้วย
  • ช่วยเสริมสร้างความนับถือตัวเอง การทำกิจกรรมทางเพศช่วยพัฒนาทัศนคติเชิงบวกต่อตัวเอง ผู้ที่มีประสบการณ์ทางเพศในแง่บวกและสนุกกับกิจกรรมทางเพศจึงมีแนวโน้มเป็นคนที่มีความนับถือตัวเองและมีความมั่นใจในตัวเองสูง
  • ช่วยกระชับความสัมพันธ์ เพศสัมพันธ์เป็นกิจกรรมที่ช่วยถ่ายทอดความรู้สึกรักใคร่ ช่วยให้คู่รักได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างใกล้ชิด และเพิ่มระดับการไว้วางใจ เกิดเป็นความรู้สึกผูกพันลึกซึ้ง จึงอาจช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
  • อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง การหลั่งเมื่อถึงจุดสุดยอดเป็นประจำอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร European Association of Urology เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับความถี่ในการหลั่งและความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนการหลั่งเมื่อถึงจุดสุดยอดตลอด 18 ปีของกลุ่มตัวอย่างเพศชายจำนวน 31,925 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อายุ 20-29 ปี และอายุ 40-49 ปีที่หลั่งอย่างน้อย 21 ครั้ง/เดือน มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากลดลง 19% และ 20% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่หลั่งประมาณ 4-7 ครั้ง/เดือน การวิจัยชี้ให้เห็นว่า ยิ่งมีการหลั่งในแต่ละเดือนมากเท่าไหร่ ก็อาจลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้มากเท่านั้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

10 Surprising Health Benefits of Sex. https://www.webmd.com/sex-relationships/guide/sex-and-health. Accessed January 31, 2023.

WHAT IS “SEX”?. https://www.optionsforsexualhealth.org/facts/sex/. Accessed January 31, 2023.

Relationships – creating intimacy. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/relationships-creating-intimacy. Accessed January 31, 2023.

SEX AND DECISION MAKING. https://www.optionsforsexualhealth.org/facts/sex/decision-making/. Accessed January 31, 2023.

Sex and Pleasure. https://www.plannedparenthood.org/learn/sex-pleasure-and-sexual-dysfunction/sex-and-pleasure. Accessed January 31, 2023.

Ejaculation Frequency and Risk of Prostate Cancer: Updated Results with an Additional Decade of Follow-up. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5040619/. Accessed January 31, 2023.

Can Sex, Masturbation Affect Prostate Cancer Risk?. https://www.webmd.com/prostate-cancer/ejaculation-prostate-cancer-risk. Accessed January 31, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/01/2024

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เซ็กส์ ประโยชน์ และข้อควรรู้ เพื่อให้ห่างไกลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 23/01/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา