backup og meta

tss คืออะไร มีอาการและวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง

tss คืออะไร มีอาการและวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง

tss คืออะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย ซึ่ง tss (Toxic Shock Syndrome) คือ กลุ่มอาการท็อกซิกช็อก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่หายากและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต มักพบได้ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอด แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับบุคคลในวัยอื่นได้เช่นกัน หากสังเกตอาการผิดปกติ เช่น มีไข้เฉียบพลัน ความดันโลหิตต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ชัก ควรเข้าพบคุณหมอทันที

[embed-health-tool-ovulation]

tss คืออะไร

tss คือ กลุ่มอาการท็อกซิกช็อก ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่หาได้ยากทั้งยังอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ด้วย กลุ่มอาการท็อกซิกช็อกนั้นเกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด แต่ก็มีย้อยครั้งที่กลุ่มอาการท็อกซิกช็อกเป็นผลมาจากสารพิษที่ผลิตโดยแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus)

โดยกลุ่มอาการท็อกซิกช็อกนั้นมีความสัมพันธ์กับการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นหลัก แต่ความจริงอาการนี้อาจส่งผลกระทบต่อทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้ชาย หรือแม้แต่เด็กก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการท็อกซิกช็อกนั้นนอกจากจะมาจากผ้าอนามัยแบบสอดแล้ว ยังรวมไปถึงการมีบาดแผลและการผ่าตัดอีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก

แม้กลุ่มอาการท็อกซิกช็อกจะส่งผลกระทบให้ทุก ๆ คนได้ แต่ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่เกิดอาการท็อกซิกช็อกที่เกี่ยวข้องกับเชื้อแบคทีเรีย สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงในวัยประจำเดือน ส่วนที่เกิดขึ้นในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่าผู้ชาย เด็ก โดยกลุ่มอาการท็อกซิกช็อกอาจสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

  • บาดแผลหรือรอยไหม้บนผิวหนัง
  • การผ่าตัดครั้งล่าสุด
  • ฟองน้ำคุมกำเนิด
  • ผ้าอนามัยแบบดูดซับพิเศษ
  • การติดเชื้อไวรัส เช่น อีสุกอีใส

อาการของกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก

สำหรับอาการของท็อกซิกช็อก ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ในกรณีส่วนใหญ่อาการที่จะปรากฏขึ้นโดยทันที อาจมีดังนี้

  • มีไข้ฉับพลัน
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • ปวดหัว
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • สับสน
  • ท้องร่วง
  • อาเจียน
  • ผื่น
  • ตาแดง
  • ชัก

กลุ่มอาการท็อกซิกช็อกเกิดจากผ้าอนามัยแบบสอดจริงหรือไม่

สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส เป็นแบคทีเรียทั่วไปที่อาศัยอยู่บนผิวหนังและภายในจมูก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะไม่เป็นอันตราย แต่สามารถทำให้ติดเชื้อได้หลากหลายหากเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้น เพื่อให้กลุ่มอาการท็อกซิช็อกนั่นเกิดขึ้นจากการที่ เชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส เจริญเจิบโตจนสามารถสร้างสารพิษของกลุ่มาการท็อกซิกช็อกขึ้นมาจำนวนมาก แล้วถูกส่งเข้าไปยังกระแสเลือด

โดยผ้าอนามัยแบบสอดอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดกลุ่มอาการท็อกซิกช็อกได้ ดังนี้

  • ผ้าอนามัยแบบสอด โดยเฉพาะอย่างแบบที่สามารถดูดซับได้มาก หากตกค้างอยู่ในช่องคลอดเป็นเวลานานอาจกระตุ้นให้แบคทีเรียเติบโต
  • ผ้าอนามัยแบบสอดสามารถติดกับผนังช่องคลอด บางครั้งการไหลเวียนของเลือดอาจทำให้เกิดรอยถลอกเล็ก ๆ เมื่อดึงผ้าอนามัยแบบสอดออกมา

วิธีการรักษากลุ่มอาการท็อกซิกช็อก

หากคิดว่ากำลังเกิดอาการท็อกซิกช็อก อันดับแรกที่คสรทำก็คือการหยุดใช้ผ้าอนามัยแบบสอดทันทีและไปแผนกฉุกเฉินของโรคพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งวิธีการรักษากลุ่มอาการท็อกซิกช็อกอาจทำได้ ดังนี้

  • รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
  • ใช้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อ
  • ให้ยาผ่านทางหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มความดันโลหิตและรักษาภาวะขาดน้ำ
  • การรักษาทางการแพทย์สำหรับภาวะแทรกซ้อน เช่น ไตวาย

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด จึงควรศึกษาวิธีและการใช้ให้ละเอียดครบถ้วนก่อนจะลงมือใช้จริง และเมื่อใช้แล้วควรจะต้องมีการเปลี่ยนบ่อย ๆ เพื่อรักษาความสะอาดภายในช่องคลอด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Toxic shock syndrome. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/toxic-shock-syndrome/symptoms-causes/syc-20355384. Accessed December 20, 2019

Toxic shock syndrome (TSS). https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/toxic-shock-syndrome-tss. Accessed December 20, 2019

Toxic shock syndrome. https://www.nhs.uk/conditions/toxic-shock-syndrome/. Accessed December 20, 2019

Toxic shock syndrome. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/toxic-shock-syndrome/symptoms-causes/syc-20355384. Accessed September 14, 2022.

Toxic Shock Syndrome (TSS). https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/toxic-shock-syndrome-tss. Accessed September 14, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2023

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทําไงให้ ประจําเดือน มาเร็วๆ

ประจำเดือนมาช้า เกิดจากสาเหตุอะไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 02/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา