backup og meta

วิธีสังเกต คนเป็นเอดส์ ทำได้อย่างไร

วิธีสังเกต คนเป็นเอดส์ ทำได้อย่างไร

วิธีสังเกต คนเป็นเอดส์ อาจสังเกตได้จากอาการของโรค เช่น อาจมีอาการเหนื่อยล้าตลอดเวลา มีตุ่มเอดส์ มีไข้เป็นเวลายาวนาน หรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ในระยะแรกอาจสังเกตอาการได้ยาก เนื่องจากอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และอาจเข้าสู่ระยะไม่แสดงอาการ หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น เชื้อไวรัสอาจพัฒนากลายเป็นโรคเอดส์ที่มีความรุนแรงขึ้นได้

[embed-health-tool-ovulation]

เอดส์ คืออะไร

เอดส์ (AIDS) เป็นระยะรุนแรงของการติดเชื้อเอชไอวี มักเกิดขึ้นเมื่อจำนวนของเซลล์ CD4 คือ เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย มีจำนวนลดลงเหลือต่ำกว่า 200 เซลล์ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เพิ่มโอกาสติดเชื้ออื่น ๆ สูงขึ้นและอาจทำให้มีอาการแย่ลงอย่ารวดเร็วเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอมาก  ซึ่งโดยปกติควรมี CD4 อยู่ระหว่าง 500–1,500 ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร แต่จำนวน CD4 อาจเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายในขณะนั้น เช่น ในช่วงร่างกายอ่อนแอ มีไข้ หรือพักผ่อนน้อย

เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อผ่านเลือด สารคัดหลัง หรือน้ำอสุจิ ที่สัมผัสกับบาดแผลโดยตรง การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ หรือการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางปากและทางทวารหนัก โดยไม่สวมถุงยางอนามัยป้องกัน ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรกอาจแสดงอาการเริ่มต้นภายใน 1-6 สัปดาห์ จากนั้นเชื้อไวรัสจะพัฒนาไปในระยะไม่แสดงอาการจนกลายเป็นโรคเอดส์ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีตั้งแต่เริ่มต้น

วิธีสังเกต คนเป็นเอดส์

วิธีสังเกต คนเป็นเอดส์ อาจต้องสังเกตจากอาการโดยการติดเชื้อเอชไอวีจะพัฒนาขึ้นใน 3 ระยะ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการจะแย่ลงและกลายเป็นโรคเอดส์ อาการในแต่ละระยะสามารถสังเกตได้ ดังนี้

ระยะที่ 1 อาการติดเชื้อเอชไอวีเฉียบพลัน

เมื่อติดเชื้อเอชไอวี อาการจะแสดงออกมาภายใน 2-6 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อไวรัส อาการจะคล้ายกับโรคไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ จึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่ากำลังติดเชื้อเอชไอวี ดังนี้

  • ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ
  • มีไข้ เจ็บคอ
  • ความเหนื่อยล้า
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • ผื่นแดงไม่คัน มักเกิดขึ้นที่ลำตัว
  • แผลในช่องปาก หลอดอาหาร ทวารหนัก หรืออวัยวะเพศ

หากมีอาการเหล่านี้หรือไม่มีอาการ และสงสัยว่าอาจได้สัมผัสกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีในช่วง 2-6 สัปดาห์ที่ผ่านมา ให้เข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจเชื้อเอชไอวีทันที เพราะการตรวจหากเชื้อเอชไอวีจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น และการตรวจเชื้อยังทำให้เริ่มการรักษาได้เร็ว สามารถเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันและช่วยบรรเทาอาการได้

คุณหมออาจให้ ยาเอชไอวี ยาต้านไวรัส หรือ ART ช่วยต่อสู้กับเชื้อเอชไอวี รักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง และป้องกันการแพร่เชื้อไวรัส หากผู้ป่วยทำตามคำแนะนำของคุณหมอและใช้ยารักษาอย่างเคร่งครัด จะช่วยควบคุมการติดเชื้อและอาการไม่ให้แย่ลงได้

ระยะที่ 2 อาการแฝง

ระยะนี้อาการต่าง ๆ ที่คล้ายไข้หวัดใหญ่จะหายไป ซึ่งเป็นระยะการติดเชื้อเอชไอวีเรื้อรังที่ไม่แสดงอาการ โดยในร่างกายจะมีเซลล์ CD4 คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรค เข้าต่อต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี แต่หากไม่ได้รับการรักษาเชื้อเอชไอวีจะทำลายเซลล์ CD4 จนจำนวนต่ำลง เพื่อโอกาสติดเชื้ออื่น ๆ มากขึ้น และพัฒนากลายเป็นโรคเอดส์

ระยะที่ 3 อาการเอดส์

โรคเอดส์เป็นระยะรุนแรงของการติดเชื้อเอชไอวี ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออย่างรุนแรง อาจมีแนวโน้มติดเชื้อง่ายขึ้นและอาจมีอาการแย่ลงอย่ารวดเร็ว เช่น มะเร็งผิวหนังคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi Sarcoma) โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติส จิโรเวซิไอ (Pneumocystis Jirovecii Pneumonia) เป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเอดส์ และวิธีสังเกต อาการคนเป็นเอดส์ ดังนี้

  • มีไข้ระยะเวลานานกว่า 10 วัน และอาการไอแห้ง
  • อาการเหนื่อยล้าตลอดเวลา หายใจถี่
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
  • ต่อมน้ำเหลืองบวมที่คอหรือขาหนีบ
  • ท้องเสียอยางรุนแรงเป็นเวลานาน
  • รอยฟกช้ำ หรือมีเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปัญหาผิวหนัง มีจุดด่างดำ หรือตุ่มเอดส์ ผิวแห้ง คัน เกิดขึ้นบนผิวหนังไม่หายไป
  • ติดเชื้อราในปาก ลำคอ หรือช่องคลอด
  • อาจมีอาการทางระบบประสาท เช่น ความจำเสื่อม สับสน มึนงง อาการชัก ปัญหาการทรงตัว ปัญหาการมองเห็น และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง

การสังเกตตัวเองและเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว จะทำให้ได้รับการป้องกันและดูแลรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ซึ่งหลายคนที่ติดเชื้อเอชไอวีอาจไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการช้า ทำให้คิดว่าร่างกายแข็งแรงไม่ติดเชื้อจึงไม่ได้เข้ารับการตรวจทำให้เชื้อลุกลามจนกลายเป็นโรคเอดส์ได้ การตรวจเชื้อเอชไอวีทั้งตนเองและคู่นอนจึงอาจช่วยป้องกันการแพร่เชื้อ และหากพบว่าติดเชื้อจะทำให้สามารถรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

สาระสำคัญ


สามารถเข้ารับการตรวจเชื้อเอชไอวีได้ที่ คลีนิคนิรนาม สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลประจำจังหวัดทุกแห่ง ไม่เสียค่าบริการสำหรับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี ตรวจได้ฟรีปีละ 2 ครั้ง เพียงยื่นบัตรประจำตัวประชาชนก็สามารถเข้ารับการตรวจได้ทันที
  • วันและเวลาทำการของคลีนิคนิรนาม : จันทร์-ศุกร์ เวลา 7.30-18.00 น. และ เสาร์ 7.30-15.00 น.  ปิดวันอาทิตย์และหยุดวันนักขัตฤกษ์
  • ตั้งอยู่ที่ : ถนนราชดำริ  ติดกับสนามม้าราชกรีฑาสโมสร เลขที่ 104 ถนนราชดำริ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

HIV Symptoms. https://www.webmd.com/hiv-aids/understanding-aids-hiv-symptoms. Accessed October 15, 2021

Do I Have HIV?. https://www.webmd.com/hiv-aids/do-i-have-hiv. Accessed October 15, 2021

Best Ways to Treat HIV Symptoms. https://www.webmd.com/hiv-aids/treat-hiv-symptoms. Accessed October 15, 2021

Symptoms-HIV and AIDS. https://www.nhs.uk/conditions/hiv-and-aids/symptoms/. Accessed October 15, 2021

AIDS Signs and Symptoms. https://www.ucsfhealth.org/conditions/aids/symptoms. Accessed October 15, 2021

Knowledge Is Power Get Informed. https://www.sxmaidsfoundation.org/knowledge_center/someone_has_hiv.php#.YWlH0RrP1PY. Accessed October 15, 2021

CD4 คืออะไร. https://www.scimath.org/article-science/item/8478-cd4. Accessed October 15, 2021

ทำไมทุกคนต้องตรวจเอดส์. https://th.trcarc.org/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B9%8C/. Accessed October 15, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/03/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับเชื้อ เอชไอวี / เอดส์ ที่ควรทำความเข้าใจเสียใหม่

โรคเอดส์ รักษาให้หายขาดได้หรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา